บทสวดมนต์ คิริมานันทสูตร จากหนังสือสวดมนต์แปล ฉบับรวบรวมและแปลโดย พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533) (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)
สามารถดาวน์โหลด Ebook ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ ได้ที่ Link :
https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing
https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books
สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์ (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ) และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท ได้ที่ ting074ch Youtube Channel ที่ Link :
https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw
คิริมานันทสูตร
|
(หน้า
260)
|
เอวมฺเม สุตํ
|
อันข้าพเจ้า (คือ พระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้
|
เอกํ สมยํ
ภควา
|
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
|
สาวตฺถิยํ วิหรติ
เชตวเน
อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม
|
เสด็จประทับในพระวิหารเชตวัน อันเป็นอารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดีสร้างถวายใกล้เมืองสาวัตถี
|
เตน โข
ปน สมเยน
|
ก็โดยสมัยนั้นแล
|
อายสฺมา คิริมานนฺโท
|
พระคิริมานนท์ผู้มีอายุ
|
อาพาธิโก โหติ
|
เป็นผู้อาพาธ
|
ทุกฺขิโต พาฬฺหคิลาโน
|
ประกอบด้วยทุกขเวทนาเป็นไข้หนัก
|
อถ โข
อายสฺมา อานนฺโท
|
ครั้งนั้นแล พระอานนท์ผู้มีอายุ
|
เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ
|
ได้เข้าไปเฝ้าโดยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่
|
อุปสงฺกมิตฺวา
|
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว
|
ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา
|
จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
|
เอกมนฺตํ นิสีทิ
|
นั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
|
เอกมนฺตํ นิสินฺโน
โข
อายสฺมา อานนฺโท
|
เมื่อพระอานนท์นั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
|
ภควนฺตํ เอตทโวจ
|
จึงกราบทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
|
อายสฺมา ภนฺเต
คิริมานนฺโท
|
พระเจ้าข้า พระคิริมานนท์ผู้มีอายุ
|
อาพาธิโก ทุกฺขิโต
|
อาพาธ ประกอบด้วยทุกขเวทนา
|
พาฬฺหคิลาโน
|
เป็นไข้หนัก
|
สาธุ ภนฺเต
ภควา
|
พระเจ้าข้า ดีแล้วขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
|
เยนายสฺมา คิริมานนฺโท
เตนุปสงฺกมตุ
|
เสด็จเข้าไปใกล้ โดยที่พระคิริมานนท์อยู่
|
อนุกมฺปํ อุปาทายาติ
|
เพื่อได้ทรงอนุเคราะห์
|
สเจ โข
ตฺวํ อานนฺท
|
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อานนท์
ถ้าท่านแล
|
คิริมานนฺทสฺส ภิกฺขุโน
อุปสงฺกมิตฺวา
|
พึงเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์แล้ว
|
ทส สญฺญา
ภาเสยฺยาสิ
|
แสดงสัญญา
10
|
ฐานํ โข
ปเนตํ วิชฺชติ ยํ
คิริมานนฺทสฺส ภิกฺขุโน
ทส
สญฺญา สุตฺวา
โส อาพาโธ
ฐานโส ปฏิปฺปสฺสมฺเภยฺย.
|
ข้อนี้เป็นเหตุให้อาพาธนั้น ของภิกษุคิริมานนท์ระงับไปโดยฐานะเพราะฟังสัญญา
10
|
กตมา ทส
|
สัญญา 10
เป็นอย่างไร
|
อนิจฺจสญฺญา
|
ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง
|
อนตฺตสญฺญา
|
ความกำหนดหมายว่าไม่ใช่ตน
|
อสุภสญฺญา
|
ความกำหนดหมายว่าไม่งาม
|
อาทีนวสญฺญา
|
ความกำหนดหมายว่าเป็นโทษ
|
ปหานสญฺญา
|
ความกำหนดหมายในการละ
|
วิราคสญฺญา
|
ความกำหนดหมายในธรรมอันปราศจากราคะ
|
นิโรธสญฺญา
|
ความกำหนดหมายในธรรมเป็นที่ดับ
|
สพฺพโลเก อนภิรตสญฺญา
|
ความกำหนดหมายในความไม่ยินดีในโลกทั้งปวง
|
สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจสญฺญา
|
ความกำหนดหมายโดยความไม่ปรารถนาในสังขารทั้งปวง
|
อานาปานสฺสติ
|
สติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์
|
1 กตมา จานนฺท อนิจฺจสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์
อนิจจสัญญาเป็นอย่างไร
|
อิธานนฺท ภิกฺขุ
|
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
|
อรญฺญคโต วา
|
ไปในป่าก็ดี
|
รุกฺขมูลคโต วา
|
ไปที่โคนไม้ก็ดี
|
สุญฺญาคารคโต วา
|
ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี
|
อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ
|
เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
|
รูปํ อนิจฺจํ
|
รูปไม่เที่ยง
|
เวทนา อนิจฺจา
|
เวทนาไม่เที่ยง
|
สญฺญา อนิจฺจา
|
สัญญาไม่เที่ยง
|
สงฺขารา อนิจฺจา
|
สังขารไม่เที่ยง
|
วิญฺญาณํ อนิจฺจนฺติ
|
วิญญาณไม่เที่ยง
|
อิติ อิเมสุ
ปญฺจสุ อุปาทานกฺ-
ขนฺเธสุ อนิจฺจานุปสฺสี วิหรติ
|
เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาเนือง
ๆ
โดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 นี้อย่างนี้
|
อยํ วุจฺจตานนฺท อนิจฺจสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์ อันนี้เรา
(ผู้ตถาคต) กล่าวว่าอนิจจสัญญา
|
2 กตมา จานนฺท อนตฺตสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์ อนัตตสัญญาเป็นอย่างไร
|
อิธานนฺท ภิกฺขุ
|
ดูก่อนอานนท์ ภิกขุในธรรมวินัยนี้
|
อรญฺญคโต วา
|
ไปในป่าก็ดี
|
รุกฺขมูลคโต วา
|
ไปที่โคนไม้ก็ดี
|
สุญฺญาคารคโต วา
|
ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี
|
อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ
|
เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
|
จกฺขุ
อนตฺตา
|
นัยน์ตาไม่ใช่ตัวตน
|
รูปา อนตฺตา
|
รูปไม่ใช่ตัวตน
|
โสตํ อนตฺตา
|
หูไม่ใช่ตัวตน
|
สทฺทา อนตฺตา
|
เสียงไม่ใช่ตัวตน
|
ฆานํ อนตฺตา
|
จมูกไม่ใช่ตัวตน
|
คนฺธา อนตฺตา
|
กลิ่นไม่ใช่ตัวตน
|
ชิวฺหา อนตฺตา
|
ลิ้นไม่ใช่ตัวตน
|
รสา อนตฺตา
|
รสไม่ใช่ตัวตน
|
กาโย อนตฺตา
|
กายไม่ใช่ตัวตน
|
โผฏฺฐพฺพา อนตฺตา
|
สิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ไม่ใช่ตัวตน
|
มโน อนตฺตา
|
มนะ (ใจ)
ไม่ใช่ตัวตน
|
ธมฺมา อนตฺตาติ
|
ธรรมารมณ์ไม่ใช่ตัวตน
|
อิติ อิเมสุ
ฉสุ อชฺฌตฺติก-
พาหิเรสุ อายตเนสุ
อตฺตา-
นุปสฺสี วิหรติ
|
เธอย่อมพิจารณาเนือง
ๆ โดยความเป็นของไม่ใช่ตัวตน ในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอก 6 นี้อย่างนี้
|
อยํ วุจฺจตานนฺท อนตฺตสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์ อันนี้เรา
(ผู้ตถาคต) กล่าวว่าอนัตตสัญญา
|
3 กตมา จานนฺท อสุภสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์
อสุภสัญญาเป็นอย่างไร
|
อิธานนฺท ภิกฺขุ
|
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
|
อิมเมว กายํ
อุทฺธํ ปาทตลา
อโธ เกสมตฺถกา
ตจปริยนฺตํ
ปูรนฺนานปฺปการสฺส อสุจิโน
ปจฺจเวกฺขติ
|
เธอย่อมพิจารณากายนี้นี่แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของ
ไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ |
อตฺถิ อิมสฺมึ
กาเย
|
มีอยู่ในกายนี้
|
เกสา โลมา
นขา
|
ผม ขน
เล็บ
|
ทนฺตา ตโจ
|
ฟัน หนัง
|
มํสํ นหารู
|
เนื้อ เอ็น
|
อฏฺฐี อฏฺฐิมิญฺชํ
|
กระดูก เยื่อในกระดูก
|
วกฺกํ หทยํ
ยกนํ
|
ม้าม หัวใจ
ตับ
|
กิโลมกํ ปิหกํ
ปปฺผาสํ
|
พังผืด ไต
ปอด
|
อนฺตํ อนฺตคุณํ
|
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
|
อุทริยํ กรีสํ
|
อาหารใหม่ อาหารเก่า
|
ปิตฺตํ เสมฺหํ
ปุพฺโพ
|
น้ำดี เสลด
น้ำเหลือง
|
โลหิตํ เสโท
เมโท
|
เลือด เหงื่อ
มันข้น
|
อสฺสุ วสา
เขโฬ
|
น้ำตา มันเหลว
น้ำลาย
|
สิงฺฆาณิกา ลสิกา
มุตฺตนฺติ
|
น้ำมูก ไขข้อ
มูตร
|
อิติ อิมสฺมึ
กาเย อสุภานุปสฺสี วิหรติ
|
เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาเนือง
ๆ โดยความไม่งามแห่งกายนี้ อย่างนี้
|
อยํ วุจฺจตานนฺท อสุภสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์ อันนี้เรา
(ผู้ตถาคต) กล่าวว่าอสุภสัญญา
|
4 กตมา จานนฺท อาทีนวสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์
อาทีนวสัญญาเป็นอย่างไร
|
อิธานนฺท ภิกฺขุ
|
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
|
อรญฺญคโต วา
|
ไปในป่าก็ดี
|
รุกฺขมูลคโต วา
|
ไปที่โคนไม้ก็ดี
|
สุญฺญาคารคโต วา
|
ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี
|
อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ
|
เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
|
พหุทุกฺโข โข
อยํ กาโย
พหุอาทีนโวติ
|
กายอันนี้แหละ มีทุกข์มาก มีโทษมาก
|
อิติ อิมสฺมึ
กาเย วิวิธา
อาพาธา อุปฺปชฺชนฺติ
|
เหล่าอาพาธ
(ความเจ็บไข้) ต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้อย่างนี้
|
เสยฺยถีทํ
|
อาพาธเหล่านั้น คืออะไรบ้าง
|
จกฺขุโรโค โสตโรโค
|
คือโรคในตา โรคในหู
|
ฆานโรโค
|
โรคในจมูก
|
ชิวฺหาโรโค กายโรโค
|
โรคในลิ้น โรคในกาย
|
สีสโรโค
|
โรคในศีรษะ
|
กณฺณโรโค มุขโรโค
|
โรคในหู โรคในปาก
|
ทนฺตโรโค
|
โรคที่ฟัน
|
กาโส สาโส
ปินาโส
|
ไอ หืด
หวัด
|
ฑโห ชโร
กุจฺฉิโรโค
|
ไข้พิษ ไข้เชื่อมมัว โรคในท้อง
|
มุจฺฉา ปกฺขนฺทิกา สุลา
|
ลมจับ (สลบ อ่อนหวิว
สวิงสวาย)
โรคบิด (ลงท้อง) จุกเสียด (ปวดท้อง)
|
วิสูจิกา กุฏฺฐํ
คณฺโฑ
|
โรคลงราก โรคเรื้อน
ฝี
|
กิลาโส โสโส
อปมาโร
|
โรคกลาก มองคร่อ
ลมบ้าหมู
|
ทนฺทุ กณฺฑุ
กจฺฉุ
|
หิดเปื่อย หิดด้าน
คุดทะราด หูด
|
รขสา วิตจฺฉิกา
โลหิตํ
|
ละลอก คุดทะราดบอน อาเจียนโลหิต
|
ปิตฺตํ มธุเมโห
อํสา
|
โรคดีพิการ โรคเบาหวาน ริดสีดวง
|
ปิฬกา ภคณฺฑลา
|
พุพอง ริดสีดวงลำไส้
|
ปิตฺตสมุฏฺฐานา อาพาธา
|
ความเจ็บเกิดแต่ดีให้โทษ
|
เสมฺหสมุฏฺฐานา อาพาธา
|
ความเจ็บเกิดแต่เสมหะให้โทษ
|
วาตสมุฏฺฐานา อาพาธา
|
ความเจ็บเกิดแต่ลมให้โทษ
|
สนฺนิปาตกา อาพาธา
|
ไข้สันนิบาต (คือความเจ็บเกิดแต่ ดี
เสมหะ และลม ทั้ง 3 เจือกัน) ให้โทษ
|
อุตุปริณามชา อาพาธา
|
ความเจ็บเกิดแต่ฤดูแปรปรวน
|
วิสมปริหารชา อาพาธา
|
ความเจ็บเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่เสมอ
|
โอปกฺกมิกา อาพาธา
|
ความเจ็บเกิดแต่ความเพียร
|
กมฺมวิปากชา อาพาธา
|
ความเจ็บเกิดแต่วิบากของกรรม
|
สีตํ อุณฺหํ
|
เย็น ร้อน
|
ชิฆจฺฉา ปิปาสา
|
หิวข้าว กระหายน้ำ
|
อุจฺจาโร ปสฺสาโวติ
|
อุจจาระ ปัสสาวะ
|
อิติ อิมสฺมึ
กาเย
อาทีนวานุปสฺสี วิหรติ
|
เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาเนือง
ๆ โดยความเป็นโทษในกายนี้อย่างนี้
|
อยํ วุจฺจตานนฺท อาทีนวสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์ อันนี้เรา
(ผู้ตถาคต) กล่าวว่าอาทีนวสัญญา
|
5 กตมา จานนฺท ปหานสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์ ปหานสัญญาเป็นอย่างไร
|
อิธานนฺท ภิกฺขุ
|
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
|
อุปฺปนฺนํ กามวิตกฺกํ
นาธิวาเสติ ปชหติ
วิโนเทติ
พฺยนฺตีกโรติ อนภาวํ
คเมติ
|
เธอย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ ย่อมทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป ซึ่งกามวิตก (ความตรึกในกามารมณ์) ที่เกิดขึ้นแล้ว
|
อุปฺปนฺนํ พฺยาปาทวิตกฺกํ
นาธิวาเสติ ปชหติ
วิโนเทติ
พฺยนฺตีกโรติ อนภาวํ
คเมติ
|
เธอย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ ย่อมทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป ซึ่งพยาบาทวิตก
(ความตรึกในการแช่งสัตว์ให้ถึงความพินาศ) ที่เกิดขึ้นแล้ว
|
อุปฺปนฺนํ วิหึสาวิตกฺกํ
นาธิวาเสติ ปชหติ
วิโนเทติ
พฺยนฺตีกโรติ อนภาวํ
คเมติ
|
เธอย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ ย่อมทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป ซึ่งวิหิงสาวิตก (ความตรึกในการเบียดเบียนสัตว์) ที่เกิดขึ้นแล้ว
|
อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน ปาปเก
อกุสเล ธมฺเม
นาธิวาเสติ
ปชหติ วิโนเทติ
พฺยนฺตีกโรติ
อนภาวํ คเมติ
|
เธอย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ ย่อมทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป ซึ่งเหล่าธรรมอันเป็นบาป เป็นอกุศล
ที่เกิดขึ้นแล้ว
และเกิดขึ้นแล้ว
|
อยํ วุจฺจตานนฺท ปหานสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์ อันนี้เรา
(ผู้ตถาคต) กล่าวว่าปหานสัญญา
|
6 กตมา จานนฺท วิราคสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์
วิราคสัญญาเป็นอย่างไร
|
อิธานนฺท ภิกฺขุ
|
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
|
อรญฺญคโต วา
|
ไปในป่าก็ดี
|
รุกฺขมูลคโต วา
|
ไปที่โคนไม้ก็ดี
|
สุญฺญาคารคโต วา
|
ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี
|
อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ
|
เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
|
เอตํ สนฺตํ
|
ธรรมชาตนั่นละเอียด
|
เอตํ ปณีตํ
|
ธรรมชาตนั่นประณีต
|
ยทิทํ
|
คือว่า
|
สพฺพสงฺขารสมโถ
|
ธรรมเป็นเครื่องระงับสังขารทั้งปวง
|
สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค
|
เป็นเครื่องละกิเลสทั้งปวง
|
ตณฺหกฺขโย
|
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
|
วิราโค
|
เป็นเครื่องสำรอกกิเลส
|
นิพฺพานนฺติ
|
ออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด
|
อยํ วุจฺจตานนฺท วิราคสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์ อันนี้เรา
(ผู้ตถาคต) กล่าวว่าวิราคสัญญา
|
7 กตมา จานนฺท นิโรธสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์
นิโรธสัญญาเป็นอย่างไร
|
อิธานนฺท ภิกฺขุ
|
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
|
อรญฺญคโต วา
|
ไปในป่าก็ดี
|
รุกฺขมูลคโต วา
|
ไปที่โคนไม้ก็ดี
|
สุญฺญาคารคโต วา
|
ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี
|
อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ
|
เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
|
เอตํ สนฺตํ
|
ธรรมชาตนั่นละเอียด
|
เอตํ ปณีตํ
|
ธรรมชาตนั่นประณีต
|
ยทิทํ
|
คือว่า
|
สพฺพสงฺขารสมโถ
|
ธรรมเป็นเครื่องระงับสังขารทั้งปวง
|
สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค
|
เป็นเครื่องละกิเลสทั้งปวง
|
ตณฺหกฺขโย นิโรโธ
|
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่ดับสนิท
|
นิพฺพานนฺติ
|
ออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด
|
อยํ วุจฺจตานนฺท นิโรธสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์ อันนี้เรา
(ผู้ตถาคต) กล่าวว่านิโรธสัญญา
|
8 กตมา จานนฺท
สพฺพโลเก อนภิรตสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์
สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นอย่างไร
|
อิธานนฺท ภิกฺขุ
|
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
|
เย โลเก
อุปายุปาทานา เจตโส
อธิฏฺฐานาภินิเวสานุสยา
|
อุบายเป็นเหตุถือมั่นเหล่าใดในโลก มีความถือมั่นด้วยความตั้งจิตไว้ เป็นอนุสัยนอนอยู่ในสันดาน
|
เต ปชหนฺโต
วิรมติ
น อุปาทิยนฺโต
|
เธอละอุบายเป็นเหตุถือมั่นเหล่านั้นเสีย ไม่ถือมั่น ย่อมงดเว้นเสีย
|
อยํ วุจฺจตานนฺท สพฺพโลเก
อนภิรตสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์ อันนี้เรา
(ผู้ตถาคต) กล่าวว่าสัพพโลเกอนภิรตสัญญา
|
9 กตมา จานนฺท
สพฺพสงฺขาเรสุ
อนิจฺจสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์ สัพพสังขาเรสุ
อนิจจสัญญาเป็นอย่างไร |
อิธานนฺท ภิกฺขุ
|
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
|
สพฺพสงฺขาเรหิ อฏฺฏิยติ
หรายติ ชิคุจฺฉติ
|
เธอย่อมเบื่อหน่าย ย่อมระอา
ย่อมเกลียดชัง แต่สังขารทั้งปวง
|
อยํ วุจฺจตานนฺท
สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจสญฺญา
|
ดูก่อนอานนท์ อันนี้เรา
(ผู้ตถาคต) กล่าวว่าสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา
|
10 กตมา จานนฺท อานาปานสฺสติ
|
ดูก่อนอานนท์ อานาปานัสสติเป็นอย่างไร
|
อิธานนฺท ภิกฺขุ
|
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
|
อรญฺญคโต วา
|
ไปในป่าก็ดี
|
รุกฺขมูลคโต วา
|
ไปที่โคนไม้ก็ดี
|
สุญฺญาคารคโต วา
|
ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี
|
นิสีทติ ปลฺลงฺกํ
อาภุชิตฺวา
|
นั่งคู้บัลลังก์ (นั่งขัดสมาธิ์)
|
อุชุํ กายํ
ปณิธาย
|
ตั้งกายให้ตรงแล้ว
|
ปริมุขํ สตึ
อุปฏฺฐเปตฺวา
|
ตั้งสติไว้มั่นเฉพาะหน้า
|
โส สโตว
อสฺสสติ
|
เธอย่อมเป็นผู้มีสติหายใจเข้า
|
สโต ปสฺสสติ
|
ย่อมเป็นผู้มีสติหายใจออก
|
ทีฆํ วา
อสฺสสนฺโต
|
เมื่อเธอหายใจเข้ายาว
|
ทีฆํ อสฺสสามีติ ปชานาติ
|
ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราหายใจเข้ายาว
|
ทีฆํ วา
ปสฺสสนฺโต
|
หรือเมื่อหายใจออกยาว
|
ทีฆํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ
|
ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราหายใจออกยาว
|
รสฺสํ วา
อสฺสสนฺโต
|
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น
|
รสฺสํ อสฺสสามีติ ปชานาติ
|
ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราหายใจเข้าสั้น
|
รสฺสํ วา
ปสฺสสนฺโต
|
หรือเมื่อหายใจออกสั้น
|
รสฺสํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ
|
ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราหายใจออกสั้น
|
สพฺพกายปฏิสํเวที
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า |
สพฺพกายปฏิสํเวที
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก |
ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร (คือลมอัสสาสะ ปัสสาสะ) หายใจเข้า
|
ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก
|
ปีติปฏิสํเวที
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งปีติ (คือความอิ่มกายอิ่มใจ) หายใจเข้า |
ปีติปฏิสํเวที
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งปีติ หายใจออก |
สุขปฏิสํเวที
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งสุข (คือความสุขกายสุขจิต) หายใจเข้า |
สุขปฏิสํเวที
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งสุข หายใจออก |
จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งจิตตสังขาร (คือเวทนาและสัญญา) หายใจเข้า |
จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจออก |
ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักระงับ
จิตตสังขาร หายใจเข้า |
ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักระงับ
จิตตสังขาร หายใจออก |
จิตฺตปฏิสํเวที
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งจิต หายใจเข้า |
จิตฺตปฏิสํเวที
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งจิต หายใจออก |
อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักทำจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
|
อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักทำจิตให้บันเทิง หายใจออก
|
สมาทหํ จิตฺตํ
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักตั้งจิตไว้ หายใจเข้า
|
สมาทหํ จิตฺตํ
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักตั้งจิตไว้ หายใจออก
|
วิโมจยํ จิตฺตํ
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
|
วิโมจยํ จิตฺตํ
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจออก
|
อนิจฺจานุปสฺสี
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ โดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า
|
อนิจฺจานุปสฺสี
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ โดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก
|
วิราคานุปสฺสี
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ ซึ่งธรรมอันปราศจากราคะ หายใจเข้า
|
วิราคานุปสฺสี
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ ซึ่งธรรมอันปราศจากราคะ หายใจออก
|
นิโรธานุปสฺสี
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า
|
นิโรธานุปสฺสี
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก
|
ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี
อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ ซึ่งความสละคืน หายใจเข้า
|
ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี
ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
|
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ ซึ่งความสละคืน หายใจออก
|
อยํ วุจฺจตานนฺท
อานาปานสฺสติ
|
ดูก่อนอานนท์ อันนี้เรา
(ผู้ตถาคต) กล่าวว่าอานาปานัสสติ
|
สเจ โข
ตฺวํ อานนฺท
คิริมานนฺทสฺส ภิกฺขุโน
อุปสงฺกมิตฺวา อิมา
ทส
สญฺญา ภาเสยฺยาสิ
|
ดูก่อนอานนท์ ถ้าว่าท่านแล
พึงเข้าไปแสดงสัญญา 10 ประการเหล่านี้ แก่ภิกษุคิริมานนท์ไซร้ |
ฐานํ โข
ปเนตํ วิชฺชติ
ยํ คิริมานนฺทสฺส ภิกฺขุโน
อิมา ทส สญฺญา
สุตฺวา
โส อาพาโธ
ฐานโส
ปฏิปฺปสฺสมฺเภยฺยาติ
|
ข้อนี้ เป็นเหตุให้อาพาธของภิกษุคิริมานนท์ระงับไปโดยฐานะ
เพราะได้ฟังสัญญา 10
ประการ เหล่านี้
|
อถ โข
อายสฺมา อานนฺโท
|
ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ
|
ภควโต สนฺติเก
อิมา ทส
สญฺญา อุคฺคเหตฺวา
|
เรียนสัญญา
10
ประการนี้
ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
|
เยนายสฺมา คิริมานนฺโท
เตนุปสงฺกมิ
|
เข้าไปหาโดยที่
ๆ พระคิริมานนท์ ผู้มีอายุอยู่
|
อุปสงฺกมิตฺวา
|
ครั้นเข้าไปหาแล้ว
|
อายสฺมโต คิริมานนฺทสฺส
อิมา ทส
สญฺญา อภาสิ
|
ได้แสดงสัญญา
10
ประการเหล่านี้
แก่พระคิริมานนท์ผู้มีอายุ
|
อถ โข
อายสฺมโต คิริมานนฺทสฺส
อิมา ทส
สญฺญา
สุตฺวา โส อาพาโธ
ฐานโส
ปฏิปฺปสฺสมฺภิ
|
ลำดับนั้นแล อาพาธของพระ
คิริมานนท์ผู้มีอายุ ระงับไปแล้วโดยฐานะ เพราะได้ฟังสัญญา 10 ประการเหล่านี้ |
วุฏฺฐหิ จายสฺมา
คิริมานนฺโท
ตมฺหา อาพาธา
|
พระคิริมานนท์ผู้มีอายุ
ก็หายจากอาพาธนั้น
|
ตถา ปหีโน
จ ปนายสฺมโต
คิริมานนฺทสฺส โส
อาพาโธ
อโหสีติ.
|
ก็อาพาธนั้น
เป็นอันพระคิริมานนท์ผู้มีอายุได้ละเสียแล้ว ด้วยการที่ได้ฟังสัญญา 10 ประการ
ที่พระอานนท์ได้แสดงแล้ว
ฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น