บทสวดมนต์ ทำวัตรเย็น (บาลี พร้อมคำแปล)


บทสวดมนต์  ทำวัตรเย็น  จากหนังสือสวดมนต์แปล  ฉบับรวบรวมและแปลโดย  พระศาสนโศภน  (แจ่ม  จตฺตสลฺโล)  วัดมกุฏกษัตริยาราม   ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ  (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533)  (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)


สามารถดาวน์โหลด Ebook  ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล  และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล  มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ  ได้ที่  Link  :

https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing

https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books


สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์  (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ  โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ)  และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท  ได้ที่ ting074ch Youtube Channel  ที่ Link  :

https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw


ทำวัตรเย็น
(หน้า 11)


      นโม   ตสฺส   ภควโต  
อรหโต   สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.  
ขอนอบน้อม   แด่พระผู้มีพระภาค  
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า   พระองค์นั้น.



พุทธานุสสติ  
(หน้า 11)
      ตํ   โข   ปน   ภควนฺตํ   เอวํ 
กลฺยาโณ   กิตฺติสทฺโท   อพฺภุคฺคโต 
ก็เกียรติศัพท์อันงาม   ของพระผู้มีพระภาคเจ้า   พระองค์นั้นแล  ฟุ้งเฟื่องไป   ดังนี้ว่า
อิติปิ  
แม้เพราะเหตุนี้ ๆ
โส   ภควา  
พระผู้มีพระภาคเจ้า   พระองค์นั้น
อรหํ  
เป็นผู้ไกลกิเลส   เป็นผู้ควรไหว้  ควรบูชา
สมฺมาสมฺพุทฺโธ  
เป็นผู้รู้ชอบเอง
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน  
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ
สุคโต  
เป็นผู้ไปดีแล้ว
โลกวิทู  
เป็นผู้ทรงรู้โลก
อนุตฺตโร   ปุริสทมฺมสารถิ  
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก   ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
สตฺถา   เทวมนุสฺสานํ  
เป็นผู้สอนของเทวดา   และมนุษย์ทั้งหลาย
พุทฺโธ  
เป็นผู้เบิกบานแล้ว
ภควาติ.  
เป็นผู้จำแนกธรรม   ดังนี้.



พุทธาภิคีติ
(หน้า 12)
      พุทฺธฺวารหนฺตวรตาทิคุณา-
ภิยุตฺโต
พระพุทธเจ้า   เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยพระคุณ   มีความเป็นพระอรหันต์เป็นต้น
สุทฺธาภิญาณกรุณาหิ 
สมาคตตฺโต 
มีพระอัธยาศัย   ประกอบด้วยพระบริสุทธิคุณ   พระปัญญาคุณและพระกรุณาคุณ
โพเธสิ   โย   สุชนตํ   กมลํว 
สูโร
พระองค์ใด   ยังประชุมชนดีให้เบิกบานแล้ว   ดังดวงพระอาทิตย์   ยังดอกบัวให้บานฉะนั้น
วนฺทามหํ   ตมรณํ   สิรสา 
ชิเนนฺทํ 
ข้าพเจ้า   ขอไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น   ผู้ไม่มีข้าศึก   ผู้เป็นจอมชนะ   ด้วยเศียรเกล้า
พุทฺโธ   โย   สพฺพปาณีนํ  
สรณํ   เขมมุตฺตมํ 
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด   เป็นสรณะอันเกษมสุด   ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ปฐมานุสฺสติฏฺฐานํ   วนฺทามิ 
ตํ   สิเรนหํ 
ข้าพเจ้า   ขอไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น   ผู้เป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติที่ ด้วยเศียรเกล้า
พุทฺธสฺสาหสฺมิ   ทาโสว  (ทาสีว) 
ข้าพเจ้าขอเป็น ทาส (ทาสี)  ของพระพุทธเจ้าเทียว
พุทฺโธ   เม   สามิกิสฺสโร 
พระพุทธเจ้า   เป็นเจ้านายของข้าพเจ้า
พุทฺโธ   ทุกฺขสฺส   ฆาตา   จ 
พระพุทธเจ้าเป็นผู้กำจัดทุกข์ด้วย
วิธาตา   จ   หิตสฺส   เม 
เป็นผู้ทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าด้วย
พุทฺธสฺสาหํ   นิยฺยาเทมิ 
สรีรญฺชีวิตญฺจิทํ 
ข้าพเจ้า   ขอมอบกายถวายชีวิตอันนี้แก่พระพุทธเจ้า
วนฺทนฺโตหํ  (วนฺทนฺตีหํ)   จริสฺสามิ
ข้าพเจ้าไหว้อยู่   จักประพฤติ
พุทฺธสฺเสว   สุโพธิตํ 
ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้าทีเดียว
นตฺถิ   เม   สรณํ   อญฺญํ 
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
พุทฺโธ   เม   สรณํ   วรํ 
พระพุทธเจ้า   เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตน   สจฺจวชฺเชน 
ด้วยความกล่าวสัตย์นี้
วฑฺเฒยฺยํ   สตฺถุ   สาสเน 
ขอข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
พุทฺธํ   เม   วนฺทมาเนน  (วนฺทมานาย)
ยํ   ปุญฺญํ   ปสุตํ   อิธ 
บุญใด   อันข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้า   ขวนขวายแล้วในที่นี้
สพฺเพปิ   อนฺตรายา   เม 
มาเหสุํ   ตสฺส   เตชสา. 
แม้สรรพอันตรายทั้งหลาย   อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชบุญนั้น.
      กาเยน   วาจาย   ว   เจตสา   วา
พุทฺเธ   กุกมฺมํ   ปกตํ   มยา   ยํ
กรรมน่าเกลียดอันใด   ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว   ในพระพุทธเจ้า   ด้วยกายหรือด้วยวาจาใจ
พุทฺโธ   ปฏิคฺคณฺหตุ   อจฺจยนฺตํ 
ขอพระพุทธเจ้าจงทรงงดโทษนั้น
กาลนฺตเร   สํวริตุํ   ว   พุทฺเธ.
เพื่อระวังต่อไปในพระพุทธเจ้า.



ธัมมานุสสติ  
(หน้า 14)
      สฺวากฺขาโต   ภควตา   ธมฺโม  
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
สนฺทิฏฺฐิโก  
เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง
อกาลิโก  
เป็นของไม่มีกาลเวลา
เอหิปสฺสิโก  
เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้
โอปนยิโก  
เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามา
ใส่ใจ
ปจฺจตฺตํ   เวทิตพฺโพ   วิญฺญูหีติ.  
เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตัว   ดังนี้.



ธัมมาภิคีติ
(หน้า 15)
      สฺวากฺขาตตาทิคุณโยควเสน 
เสยฺโย
พระธรรมเป็นของอันประเสริฐ   ด้วยอำนาจอันประกอบด้วยคุณมีความเป็นแห่งสวากขาตะเป็นต้น
โย   มคฺคปากปริยตฺติวิโมกฺขเภโท
อันใด   ต่างด้วยมรรคผล   ปริยัติ  และวิโมกข์
ธมฺโม   กุโลกปตนา   ตทธาริธารี
พระธรรมกันผู้ทรงธรรมนั้นจากความตกไปในโลกที่ชั่ว
วนฺทามหํ   ตมหรํ   วรธมฺมเมตํ 
ข้าพเจ้าขอไหว้พระธรรมอันขจัดความมืดอันนั้น
ธมฺโม   โย   สพฺพปาณีนํ   สรณํ 
เขมมุตฺตมํ 
พระธรรมอันใด   เป็นสรณะอันเกษมสุดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ทุติยานุสฺสติฏฺฐานํ   วนฺทามิ   ตํ 
สิเรนหํ 
ข้าพเจ้า   ขอไหว้พระธรรมอันนั้น   ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติที่ ด้วยเศียรเกล้า
ธมฺมสฺสาหสฺมิ   ทาโสว  (ทาสีว) 
ข้าพเจ้าขอเป็น ทาส (ทาสี)  ของพระธรรมเทียว
ธมฺโม   เม   สามิกิสฺสโร 
พระธรรม  เป็นเจ้านายของข้าพเจ้า
ธมฺโม   ทุกฺขสฺส   ฆาตา   จ 
พระธรรม   เป็นธรรมกำจัดทุกข์ด้วย
วิธาตา   จ   หิตสฺส   เม 
เป็นธรรมทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าด้วย
ธมฺมสฺสาหํ   นิยฺยาเทมิ 
สรีรญฺชีวิตญฺจิทํ 
ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตอันนี้แด่พระธรรม
วนฺทนฺโตหํ  (วนฺทนฺตีหํ)   จริสฺสามิ 
ข้าพเจ้าไหว้อยู่   จักประพฤติ
ธมฺมสฺเสว   สุธมฺมตํ 
ซึ่งความเป็นธรรมดี   แห่งพระธรรมทีเดียว
นตฺถิ   เม   สรณํ   อญฺญํ 
สรณะอันอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
ธมฺโม   เม   สรณํ   วรํ 
พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตน   สจฺจวชฺเชน 
ด้วยความกล่าวสัตย์นี้
วฑฺเฒยฺยํ   สตฺถุ   สาสเน 
ขอข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
ธมฺมํ   เม   วนฺทมาเนน  (วนฺทมานาย)
ยํ   ปุญฺญํ   ปสุตํ   อิธ 
บุญอันใด   ข้าพเจ้าไหว้พระธรรม  ขวนขวายแล้วในที่นี้
สพฺเพปิ   อนฺตรายา   เม 
มาเหสุํ   ตสฺส   เตชสา. 
แม้สรรพอันตรายทั้งหลายอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า   ด้วยเดชบุญนั้น.
      กาเยน   วาจาย   ว   เจตสา   วา
ธมฺเม   กุกมฺมํ   ปกตํ   มยา   ยํ
กรรมน่าเกลียดอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว   ในพระธรรม   ด้วยกายหรือวาจาใจ
ธมฺโม   ปฏิคฺคณฺหตุ   อจฺจยนฺตํ 
ขอพระธรรมจงงดโทษนั้น
กาลนฺตเร   สํวริตุํ   ว   ธมฺเม.
เพื่อระวังต่อไปในพระธรรม.



สังฆานุสสติ  
(หน้า 17)
      สุปฏิปนฺโน   ภควโต  
สาวกสงฺโฆ  
พระสงฆ์สาวก   ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า   เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปฏิปนฺโน   ภควโต  
สาวกสงฺโฆ  
พระสงฆ์สาวก   ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า   เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายปฏิปนฺโน   ภควโต  
สาวกสงฺโฆ  
พระสงฆ์สาวก   ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า   เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว
สามีจิปฏิปนฺโน   ภควโต  
สาวกสงฺโฆ  
พระสงฆ์สาวก   ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า   เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว
ยทิทํ  
คือ
จตฺตาริ   ปุริสยุคานิ  
คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย  4
อฏฺฐ   ปุริสปุคฺคลา  
บุรุษบุคคลทั้งหลาย  8
เอส   ภควโต   สาวกสงฺโฆ 
นี่พระสงฆ์สาวก   ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยฺโย  
ท่านเป็นผู้ควรสักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยฺโย  
ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ
ทกฺขิเณยฺโย  
ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน
อญฺชลิกรณีโย  
ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม
อนุตฺตรํ   ปุญฺญกฺเขตฺตํ  
โลกสฺสาติ.
ท่านเป็นนาบุญของโลก   ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า   ดังนี้.



สังฆาภิคีติ
(หน้า 18)
      สทฺธมฺมโช   สุปฏิปตฺติ- 
คุณาทิยุตฺโต 
พระสงฆ์สาวก   ของพระผู้มีพระภาคเจ้า   เป็นผู้เกิดจากสัทธรรม   ประกอบแล้วด้วยคุณ  มีสุปฏิบัติคุณ  เป็นต้น
โยฏฺฐพฺพิโธ   อริยปุคฺคลสงฺฆเสฏฺโฐ
พวกใดเป็นหมู่แห่งอริยบุคคลอันประเสริฐสุด  จำพวก
สีลาทิธมฺมปวราสยกายจิตฺโต 
มีกายและจิต   อาศัยธรรมอันประเสริฐมีศีลเป็นต้น
วนฺทามหํ   ตมริยาน   คณํ  
สุสุทฺธํ 
ข้าพเจ้าขอไหว้   หมู่พระอริยะทั้งหลายพวกนั้น   ซึ่งหมดจดสะอาด
สงฺโฆ   โย   สพฺพปาณีนํ  
สรณํ   เขมมุตฺตมํ 
พระสงฆ์พวกใด   เป็นสรณะอันเกษมสุดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ตติยานุสฺสติฏฺฐานํ  
วนฺทามิ   ตํ   สิเรนหํ 
ข้าพเจ้า   ขอไหว้พระสงฆ์พวกนั้น   ผู้เป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติที่ ด้วยเศียรเกล้า
สงฺฆสฺสาหสฺมิ   ทาโสว  (ทาสีว) 
ข้าพเจ้าขอเป็น ทาส (ทาสี)  ของพระสงฆ์เทียว
สงฺโฆ   เม   สามิกิสฺสโร 
พระสงฆ์เป็นเจ้านายของข้าพเจ้า
สงฺโฆ   ทุกฺขสฺส   ฆาตา   จ 
พระสงฆ์เป็นผู้กำจัดทุกข์ด้วย
วิธาตา   จ   หิตสฺส   เม 
เป็นผู้ทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าด้วย
สงฺฆสฺสาหํ   นิยฺยาเทมิ 
สรีรญฺชีวิตญฺจิทํ 
ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตอันนี้แด่พระสงฆ์
วนฺทนฺโตหํ  (วนฺทนฺตีหํ)   จริสฺสามิ
ข้าพเจ้าไหว้อยู่   จักประพฤติ
สงฺฆสฺโสปฏิปนฺนตํ    
ซึ่งความปฏิบัติแห่งพระสงฆ์
นตฺถิ   เม   สรณํ   อญฺญํ 
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
สงฺโฆ   เม   สรณํ   วรํ 
พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตน   สจฺจวชฺเชน 
ด้วยความกล่าวสัตย์นี้
วฑฺเฒยฺยํ   สตฺถุ   สาสเน 
ขอข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
สงฺฆํ   เม   วนฺทมาเนน  (วนฺทมานาย)
ยํ   ปุญฺญํ   ปสุตํ   อิธ 
บุญใด   อันข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์   ขวนขวายแล้วในที่นี้
สพฺเพปิ   อนฺตรายา   เม 
มาเหสุํ   ตสฺส   เตชสา. 
แม้สรรพอันตรายทั้งหลายอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า   ด้วยเดชบุญนั้น.
      กาเยน   วาจาย   ว   เจตสา   วา
สงฺเฆ   กุกมฺมํ   ปกตํ   มยา   ยํ
กรรมน่าเกลียดอันใด   ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วในพระสงฆ์  ด้วยกายหรือวาจาใจ
สงฺโฆ   ปฏิคฺคณฺหตุ   อจฺจยนฺตํ 
ขอพระสงฆ์จงงดโทษนั้น
กาลนฺตเร   สํวริตุํ   ว   สงฺเฆ.
เพื่อระวังต่อไป   ในพระสงฆ์.


** บทสวดท่อนที่มีคำในวงเล็บ  คือ  สำหรับสตรี  ให้ออกเสียงตามคำในวงเล็บ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Link ไปยังบทสวดมนต์อื่นใน Blog นี้

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม