บทสวดมนต์ โคตมีสูตร จากหนังสือสวดมนต์แปล ฉบับรวบรวมและแปลโดย พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533) (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)
สามารถดาวน์โหลด Ebook ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ ได้ที่ Link :
https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing
https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books
สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์ (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ) และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท ได้ที่ ting074ch Youtube Channel ที่ Link :
https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw
เริ่มโคตมีสูตร
|
(หน้า 278)
|
สพฺพโส สุทฺธสนฺตาโน
สพฺพธมฺมาน ปารคู
ธมฺมญฺจ วินยํ
สตฺถุ
สาสนํ สมฺปทีปยํ
ยํ โส
นาโถ สเมเรสิ
ธมฺมาธมฺมวินิจฺฉยํ
|
พระโลกนาถ ผู้มีพระสันดานอันหมดจด โดยประการทั้งปวง ถึงซึ่งฝั่งแห่งธรรมทั้งมวล ทรงแสดงธรรมวินัยที่เป็นสัตถุศาสนาแล้ว ทรงแสดงพระสูตรสำหรับวินิจฉัยธรรม และอธรรมอันใดไว้
|
สาธูนํ เนตฺติภาวตฺถํ
|
เพื่อเป็นแบบสำหรับสาธุชน
|
ตํ สุตฺตนฺตํ
ภณาม เส.
|
เราทั้งหลาย จงสวดพระสูตรนั้นเทอญ.
|
โคตมีสูตร
|
(หน้า 278)
|
เอวมฺเม สุตํ
|
อันข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ) สดับมาแล้วอย่างนี้
|
เอกํ สมยํ
ภควา
|
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
|
เวสาลิยํ วิหรติ
มหาวเน
กูฏาคารสาลายํ
|
เสด็จอยู่ในกูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี
|
อถ โข
มหาปชาปตี โคตมี
|
ครั้งนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมี
|
เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ
|
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
|
อุปสงฺกมิตฺวา
|
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว
|
ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา
|
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
|
เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ
|
ได้ยืนแล้ว ณ
ส่วนข้างหนึ่ง
|
เอกมนฺตํ ฐิตา
โข
มหาปชาปตี โคตมี
|
พระนางมหาปชาบดีโคตมียืนแล้ว ณ
ส่วนข้างหนึ่งแล
|
ภควนฺตํ เอตทโวจ
|
ได้กราบทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
|
สาธุ เม
ภนฺเต ภควา
สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ
เทเสตุ
ยมหํ ภควโต
ธมฺมํ สุตฺวา
เอกา วูปกฏฺฐา
อปฺปมตฺตา
อาตาปินี ปหิตตฺตา
วิหเรยฺยนฺติ
|
ดีแล้วพระเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้สดับพระธรรมใด ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พึงเป็นผู้ ๆ เดียวหลีกออกแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระธรรมนั้น แก่ข้าพระองค์โดยย่อเถิด ดังนี้
|
เย โข
ตฺวํ โคตมิ
ธมฺเม ชาเนยฺยาสิ
|
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพระนางโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใดแล
|
อิเม ธมฺมา
สราคาย
สํวตฺตนฺติ
|
ว่าธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ
|
โน วิราคาย
|
หาเป็นไปเพื่อคลายความกำหนัดไม่
|
สํโยคาย สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์
|
โน วิสํโยคาย
|
หาเป็นไป เพื่อปราศจากความประกอบทุกข์ไม่
|
อาจยาย สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความสั่งสมกองกิเลส
|
โน อปจยาย
|
หาเป็นไป เพื่อความไม่สั่งสมกองกิเลสไม่
|
มหิจฺฉตาย สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่
|
โน อปฺปิจฺฉตาย
|
หาเป็นไป เพื่อความอยากอันน้อยไม่
|
อสนฺตุฏฺฐิยา สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ
|
โน สนฺตุฏฺฐิยา
|
หาเป็นไปเพื่อความสันโดษไม่
|
สงฺคณิกาย สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
|
โน ปวิเวกาย
|
หาเป็นไป เพื่อความสงัดจากหมู่คณะไม่
|
โกสชฺชาย สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
|
โน วิริยารมฺภาย
|
หาเป็นไป เพื่อความปรารภความเพียรไม่
|
ทุพฺภรตาย สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก
|
โน สุภรตายาติ
|
หาเป็นไป เพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่ายไม่
|
เอกํเสน โคตมิ
ธาเรยฺยาสิ
|
ดูก่อนพระนางโคตมี ท่านพึงทรงจำไว้โดยส่วนเดียว
|
เนโส ธมฺโม
เนโส วินโย
เนตํ สตฺถุสาสนนฺติ
|
ว่านี่ไม่ใช่ธรรม นี้ไม่ใช่วินัย นี่ไม่ใช่สัตถุศาสนา
|
เย จ
โข ตฺวํ โคตมิ
ธมฺเม ชาเนยฺยาสิ
|
ดูก่อนพระนางโคตมี ก็ท่านพึงรู้ซึ่งธรรมเหล่าใดแล
|
อิเม ธมฺมา
วิราคาย สํวตฺตนฺติ
|
ว่าธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
|
โน สราคาย
|
หาเป็นไป เพื่อความกำหนัดไม่
|
วิสํโยคาย สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อปราศจากความประกอบทุกข์
|
โน สํโยคาย
|
หาเป็นไป เพื่อความประกอบทุกข์ไม่
|
อปจยาย สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความไม่สั่งสมกองกิเลส
|
โน อาจยาย
|
หาเป็นไป เพื่อสั่งสมกองกิเลสไม่
|
อปฺปิจฺฉตาย สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความอยากอันน้อย
|
โน มหิจฺฉตาย
|
หาเป็นไป เพื่อความอยากใหญ่ไม่
|
สนฺตุฏฺฐิยา สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความสันโดษ
|
โน อสนฺตุฏฺฐิยา
|
หาเป็นไป เพื่อความไม่สันโดษไม่
|
ปวิเวกาย สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
|
โน สงฺคณิกาย
|
หาเป็นไป เพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะไม่
|
วิริยารมฺภาย สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความปรารภความเพียร
|
โน โกสชฺชาย
|
หาเป็นไป เพื่อความเกียจคร้านไม่
|
สุภรตาย สํวตฺตนฺติ
|
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย
|
โน ทุพฺภรตายาติ
|
หาเป็นไป เพื่อความเป็นคนเลี้ยงยากไม่
|
เอกํเสน โคตมิ
ธาเรยฺยาสิ
|
ดูก่อนพระนางโคตมี ท่านพึงทรงจำไว้โดยส่วนเดียว
|
เอโส ธมฺโม
เอโส วินโย
เอตํ สตฺถุสาสนนฺติ
|
ว่านี่เป็นธรรม นี่เป็นวินัย นี่เป็นสัตถุศาสนา
|
อิทมโวจ ภควา
|
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระสูตรนี้จบลง
|
อตฺตมนา มหาปชาปติ
โคตมี
|
พระนางมหาปชาบดีโคตมี ก็มีใจยินดี
|
ภควโต ภาสิตํ
อภินนฺทีติ.
|
เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น