บทสวดมนต์ ทำวัตรพระ จากหนังสือสวดมนต์แปล ฉบับรวบรวมและแปลโดย พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533) (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)
สามารถดาวน์โหลด Ebook ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ ได้ที่ Link :
https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing
https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books
สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์ (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ) และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท ได้ที่ ting074ch Youtube Channel ที่ Link :
https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw
ทำวัตรพระ
|
(หน้า 21)
|
นโม ตสฺส
ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
|
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
|
โย สนฺนิสินฺโน วรโพธิมูเล
|
ท่านพระองค์ใด ประทับนั่งสงบอารมณ์อยู่แล้ว ณ
ควงโพธิพฤกษ์อันประเสริฐ
|
มารํ สเสนํ
สุชิตํ วิเชยฺย
|
ทรงชัยชนะเป็นอันดี ซึ่งมารพร้อมด้วยเสนามาร
|
สมฺโพธิมาคจฺฉิ อนนฺตญาโณ
โลกุตฺตโม ตํ
ปณมามิ พุทฺธํ
|
เป็นผู้มีปัญญาไม่สิ้นสุด อุดมในโลก
ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว
ข้าพเจ้าขอนมัสการท่านพระองค์นั้น
ตรัสรู้แล้ว
|
เย จ
พุทฺธา อตีตา จ
|
ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด
ที่ล่วงไปแล้วด้วย
|
เย จ
พุทฺธา อนาคตา
|
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด
ที่จะมีมาข้างหน้าด้วย
|
ปจฺจุปฺปนฺนา จ
เย พุทฺธา
|
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด
ที่ประจักษ์อยู่ ณ
บัดนี้ด้วย
|
อหํ วนฺทามิ
สพฺพทา
|
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย 3
พวกนั้น
ในกาลทุกเมื่อ
|
อิติปิ
|
แม้เพราะเหตุนี้
|
โส ภควา
|
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
|
อรหํ
|
เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้
ควรบูชา
|
สมฺมาสมฺพุทฺโธ
|
เป็นผู้รู้ชอบเอง
|
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
|
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ
|
สุคโต
|
เป็นผู้ไปดีแล้ว
|
โลกวิทู
|
เป็นผู้ทรงรู้โลก
|
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
|
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
|
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
|
เป็นผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
|
พุทฺโธ
|
เป็นผู้เบิกบานแล้ว
|
ภควาติ.
|
เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้.
|
พุทฺธํ
ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ
สรณํ คจฺฉามิ
|
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นสรณะตลอดชีวิต
ตราบเท่าพระนิพพาน
|
นตฺถิ เม
สรณํ อญฺญํ
|
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
|
พุทฺโธ เม
สรณํ วรํ
|
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
|
เอเตน สจฺจวชฺเชน
|
ด้วยความกล่าวสัตย์นี้
|
โหตุ เม
ชยมงฺคลํ
|
ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า
|
อุตฺตมงฺเคน วนฺเทหํ
ปาทปํสุํ วรุตฺตมํ
|
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระบาทบงสุ์
อันสูงสุด
ด้วยอวัยวะอันสูงสุด
|
พุทฺเธ โย
ขลิโต โทโส
|
โทษอันใด อันข้าพเจ้าได้ผิดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า
|
พุทฺโธ ขมตุ
ตํ มมํ.
|
ขอพระพุทธเจ้าจงอดโทษนั้น
ให้ข้าพเจ้า
|
อฏฺฐงฺคิโก อริยปโถ
ชนานํ
|
อัฏฐังคิกมัคค์ เป็นทางอันประเสริฐของชนทั้งหลาย
|
โมกฺขปฺปเวสาย อูชู
จ มคฺโค
|
เป็นทางอันตรงเพื่ออันให้เข้าไปสู่พระนิพพาน
|
ธมฺโม อยํ
สนฺติกโร ปณีโต
|
พระธรรมนี้ เป็นธรรมทำความสงบระงับอันประณีต
|
นิยฺยานิโก ตํ
ปณมามิ ธมฺมํ
|
เป็นนิยานิกธรรม
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรมนั้น
|
เย จ
ธมฺมา อตีตา จ
|
ก็พระธรรมทั้งหลายเหล่าใด
ที่ล่วงไปแล้วด้วย
|
เย จ
ธมฺมา อนาคตา
|
พระธรรมทั้งหลายเหล่าใด
ที่จะมีมาข้างหน้าด้วย
|
ปจฺจุปฺปนฺนา จ
เย ธมฺมา
|
พระธรรมทั้งหลายเหล่าใด
ที่มีประจักษ์อยู่ ณ
บัดนี้ด้วย
|
อหํ วนฺทามิ
สพฺพทา.
|
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรมทั้งหลาย
3
พวกนั้น
ในกาลทุกเมื่อ.
|
สฺวากฺขาโต ภควตา
ธมฺโม
|
พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
|
สนฺทิฏฺฐิโก
|
เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง
|
อกาลิโก
|
เป็นของอันไม่มีกาลเวลา
|
เอหิปสฺสิโก
|
เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้
|
โอปนยิโก
|
เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ
|
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ
วิญฺญูหีติ.
|
เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้.
|
ธมฺมํ
ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ
สรณํ คจฺฉามิ
|
ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ตราบเท่าพระนิพพาน
|
นตฺถิ เม
สรณํ อญฺญํ
|
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
|
ธมฺโม เม
สรณํ วรํ
|
พระธรรม เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
|
เอเตน สจฺจวชฺเชน
|
ด้วยความกล่าวสัตย์นี้
|
โหตุ เม
ชยมงฺคลํ
|
ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า
|
อุตฺตมงฺเคน วนฺเทหํ
ธมฺมญฺจ ทุวิธํ
วรํ
|
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม
2 ประเภท ด้วยอวัยวะอันสูงสุด
|
ธมฺเม โย
ขลิโต โทโส
|
โทษอันใด อันข้าพเจ้าได้ผิดพลั้งไว้ในพระธรรม
|
ธมฺโม ขมตุ
ตํ มมํ.
|
ขอพระธรรม จงอดโทษนั้นให้ข้าพเจ้า
|
สงฺโฆ
วิสุทฺโธ วรทกฺขิเณยฺโย
|
พระสงฆ์เป็นผู้หมดจด
เป็นทักขิเณยยบุคคลอันประเสริฐ
|
สนฺตินฺทฺริโย สพฺพมลปฺปหีโน
|
เป็นผู้มีอินทรีย์อันสงบ
เป็นผู้ละเสียได้ซึ่งมลทินทั้งปวง
|
คุเณหิเนเกหิ สมิทฺธิปตฺโต
|
เป็นผู้ถึงความสำเร็จด้วยคุณ
หลายอย่าง
|
อนาสโว ตํ
ปณมามิ สงฺฆํ
|
เป็นผู้หาอาสวะมิได้
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระสงฆ์นั้น
|
เย จ
สงฺฆา อตีตา จ
|
ก็พระสงฆ์ทั้งหลายเหล่าใด
ที่ล่วงไปแล้วด้วย
|
เย จ
สงฺฆา อนาคตา
|
พระสงฆ์ทั้งหลายเหล่าใด
ที่จะมีมาข้างหน้าด้วย
|
ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย
สงฺฆา
|
พระสงฆ์ทั้งหลายเหล่าใด
ที่มีประจักษ์อยู่ ณ
บัดนี้ด้วย
|
อหํ วนฺทามิ
สพฺพทา.
|
ข้าพเจ้า ขอนมัสการพระสงฆ์ทั้งหลาย 3
พวกนั้น
ในกาลทุกเมื่อ.
|
สุปฏิปนฺโน ภควโต
สาวกสงฺโฆ
|
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
|
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต
สาวกสงฺโฆ
|
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
|
ญายปฏิปนฺโน ภควโต
สาวกสงฺโฆ
|
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว
|
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต
สาวกสงฺโฆ
|
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว
|
ยทิทํ
|
คือ
|
จตฺตาริ ปุริสยุคานิ
|
คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย 4
|
อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา
|
บุรุษบุคคลทั้งหลาย 8
|
เอส ภควโต
สาวกสงฺโฆ
|
นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า
|
อาหุเนยฺโย
|
ท่านเป็นผู้ควรสักการะที่เขานำมาบูชา
|
ปาหุเนยฺโย
|
ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ
|
ทกฺขิเณยฺโย
|
ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน
|
อญฺชลิกรณีโย
|
ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม
|
อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ
โลกสฺสาติ.
|
ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
|
สงฺฆํ
ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ
สรณํ คจฺฉามิ
|
ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ตราบเท่าพระนิพพาน
|
นตฺถิ เม
สรณํ อญฺญํ
|
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
|
สงฺโฆ เม
สรณํ วรํ
|
พระสงฆ์ เป็นสรณะอันประเสริฐ
ของข้าพเจ้า
|
เอเตน สจฺจวชฺเชน
|
ด้วยความกล่าวสัตย์นี้
|
โหตุ เม
ชยมงฺคลํ
|
ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า
|
อุตฺตมงฺเคน วนฺเทหํ
สงฺฆญฺจ ทุวิธุตฺตมํ
|
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระสงฆ์ทั้ง 2 ผู้สูงสุด ด้วยอวัยวะอันสูงสุด
|
สงฺเฆ โย
ขลิโต โทโส
|
โทษอันใด อันข้าพเจ้าได้ผิดพลั้ง ไว้ในพระสงฆ์
|
สงฺโฆ ขมตุ
ตํ มมํ
|
ขอพระสงฆ์ จงอดโทษนั้นให้ข้าพเจ้า
|
อิจฺเจวมจฺจนฺตนมสฺสเนยฺยํ
นมสฺสมาโน รตนตฺตยํ
ยํ
|
ข้าพเจ้านมัสการอยู่ซึ่งพระรัตนตรัยใด อันบุคคลควรนมัสการ โดยส่วนยิ่งอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้
|
ปุญฺญาภิสนฺทํ วิปุลํ
อลตฺถํ
|
ได้แล้วซึ่งห้วงบุญอันไพบูล
|
ตสฺสานุภาเวน หตนฺตราโย
|
ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้น จงเป็นผู้ขจัดอันตรายเสียเถิด
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น