บทสวดมนต์ ติลักขณาทิคาถา (บาลี พร้อมคำแปล)


บทสวดมนต์  ติลักขณาทิคาถา  จากหนังสือสวดมนต์แปล  ฉบับรวบรวมและแปลโดย  พระศาสนโศภน  (แจ่ม  จตฺตสลฺโล)  วัดมกุฏกษัตริยาราม   ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ  (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533)  (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)


สามารถดาวน์โหลด Ebook  ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล  และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล  มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ  ได้ที่  Link  :

https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing

https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books


สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์  (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ  โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ)  และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท  ได้ที่ ting074ch Youtube Channel  ที่ Link  :

https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw


ติลักขณาทิคาถา
(หน้า 311)
      สพฺเพ   สงฺขารา   อนิจฺจาติ
ยทา   ปญฺญาย   ปสฺสติ
เมื่อใด   บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาว่า   สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
อถ   นิพฺพินฺทติ   ทุกฺเข
เมื่อนั้น   ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์
เอส   มคฺโค   วิสุทฺธิยา
ข้อนี้เป็นทางแห่งความหมดจด
สพฺเพ   สงฺขารา   ทุกฺขาติ
ยทา   ปญฺญาย   ปสฺสติ
เมื่อใด   บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาว่า   สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์
อถ   นิพฺพินฺทติ   ทุกฺเข
เมื่อนั้น   ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์
เอส   มคฺโค   วิสุทฺธิยา
ข้อนี้เป็นทางแห่งความหมดจด
สพฺเพ   ธมฺมา   อนตฺตาติ
ยทา   ปญฺญาย   ปสฺสติ
เมื่อใด   บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาว่า   ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
อถ   นิพฺพินฺทติ   ทุกฺเข
เมื่อนั้น   ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์
เอส   มคฺโค   วิสุทฺธิยา
ข้อนี้เป็นทางแห่งความหมดจด
อปฺปกา   เต   มนุสฺเสสุ 
เย   ชนา   ปารคามิโน
บรรดามนุษย์ทั้งหลาย   ชนเหล่าใดที่ไปถึงฝั่ง  (คือพระนิพพาน)  ชนเหล่านั้นมีประมาณน้อย
อถายํ   อิตรา   ปชา
ตีรเมวานุธาวติ
ส่วนหมู่สัตว์  (คือชน)  นอกจากนี้ ๆ  ย่อมเลาะชายฝั่ง  (คือสักกายทิฏฐิ)  นั่นแหละ
เย   จ   โข   สมฺมทกฺขาเต 
ธมฺเม   ธมฺมานุวตฺติโน
ก็ชนทั้งหลายเหล่าใดแล   เป็นผู้มีปกติประพฤติตามธรรมในธรรมที่พระตถาคตกล่าวแล้วชอบ
เต   ชนา   ปารเมสฺสนฺติ
ชนทั้งหลายเหล่านั้น   จักถึงฝั่ง  (คือพระนิพพาน)
มจฺจุเธยฺยํ   สุทุตฺตรํ 
ล่วงวัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ  (คือกิเลสมาร)  อันบุคคลข้ามได้ยากนัก
กณฺหํ   ธมฺมํ   วิปฺปหาย 
สุกฺกํ   ภาเวถ   ปณฺฑิโต
บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย   ยังธรรมขาวให้เจริญ
โอกา   อโนกมาคมฺม
อาศัยพระนิพพาน   ไม่มีอาลัยจากอาลัย   (คือออกจากอาลัยอาศัยพระนิพพาน)
วิเวเก   ยตฺถ   ทูรมํ
ความยินดีได้ยากในพระนิพพานอันสงัดใด
ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย 
หิตฺวา   กาเม   อกิญฺจโน 
พึงละกามทั้งหลายเสีย   เป็นผู้ไม่มีเครื่องกังวลแล้ว   ปรารถนาความยินดีในพระนิพพานนั้น
ปริโยทเปยฺย   อตฺตานํ 
จิตฺตเกฺลเสหิ   ปณฺฑิโต
บัณฑิตควรยังตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
เยสํ   สมฺโพธิยงฺเคสุ 
สมฺมา   จิตฺตํ   สุภาวิตํ 
จิตอันบัณฑิตทั้งหลายเหล่าใด  อบรมดีแล้วโดยถูกต้อง  ในองค์เป็นเหตุตรัสรู้ทั้งหลาย
อาทานปฏินิสฺสคฺเค 
อนุปาทาย   เย   รตา
บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดไม่ถือมั่น   ยินดีแล้วในอันสละความยึดถือ
ขีณาสวา   ชุติมนฺโต 
เต   โลเก   ปรินิพฺพุตาติ.
บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น   ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ   มีความโพลงดับสนิทในโลก   ดังนี้แล.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Link ไปยังบทสวดมนต์อื่นใน Blog นี้

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม