บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (บาลี พร้อมคำแปล)


บทสวดมนต์  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  จากหนังสือสวดมนต์แปล ฉบับรวบรวมและแปลโดย พระศาสนโศภน  (แจ่ม  จตฺตสลฺโล)  วัดมกุฏกษัตริยาราม   ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ  (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533)  (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)


สามารถดาวน์โหลด Ebook  ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล  และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล  มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ  ได้ที่  Link  :

https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing

https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books


สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์  (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ  โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ)  และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท  ได้ที่ ting074ch Youtube Channel  ที่ Link  :

https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw


เริ่มธัมมจักกัปปวัตตนสูตร 
(หน้า 186)
      อนุตฺตรํ   อภิสมฺโพธึ 
สมฺพุชฺฌิตฺวา   ตถาคโต 
พระตถาคตเจ้า   ได้ตรัสรู้ซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
ปฐมํ   ยํ   อเทเสสิ 
ธมฺมจกฺกํ   อนุตฺตรํ 
สมฺมเทว   ปวตฺเตนฺโต 
โลเก   อปฺปฏิวตฺติยํ 
เมื่อจะทรงประกาศธรรมที่ใครๆ  ยังมิได้ให้เป็นไปแล้วในโลก   ให้เป็นไปโดยชอบแท้   ได้ทรงแสดงพระอนุตตรธรรมจักรใดก่อน
ยตฺถากฺขาตา   อุโภ   อนฺตา 
ปฏิปตฺติ   จ   มชฺฌิมา 
จตูสฺวาริยสจฺเจสุ  
วิสุทฺธํ   ญาณทสฺสนํ 
คือในธรรมจักรใด   พระองค์ตรัสซึ่งที่สุด 2 ประการ  และข้อปฏิบัติเป็นกลาง  และปัญญาอันรู้เห็นอันหมดจดแล้วในอริยสัจทั้ง 4
เทสิตํ   ธมฺมราเชน 
สมฺมาสมฺโพธิกิตฺตนํ 
นาเมน   วิสฺสุตํ   สุตฺตํ 
ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนํ 
เวยฺยากรณปาเฐน 
สงฺคีตนฺตมฺภณาม   เส. 
เราทั้งหลาย   จงสวดธรรมจักรนั้น   ที่พระองค์ผู้พระธรรมราชาทรงแสดงแล้ว   ปรากฏโดยชื่อว่า   ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  เป็นสูตรประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณอันพระสังคีติกาจารย์ร้อยกรองไว้โดยเวยยากรณปาฐะ   เทอญ.



ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร 
(หน้า 187)
      เอวมฺเม   สุตํ 
อันข้าพเจ้า  (คือพระอานนทเถระ)   ได้สดับมาแล้วอย่างนี้
เอกํ   สมยํ   ภควา 
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
พาราณสิยํ   วิหรติ 
อิสิปตเน   มิคทาเย 
เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน   ใกล้เมืองพาราณสี
ตตฺร   โข   ภควา   ปญฺจวคฺคิเย 
ภิกฺขู   อามนฺเตสิ 
ในกาลนั้นแล   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
เทฺวเม   ภิกฺขเว   อนฺตา 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ที่สุดสองอย่างนี้
ปพฺพชิเตน   น   เสวิตพฺพา 
อันบรรพชิตไม่ควรเสพ
โย   จายํ   กาเมสุ 
กามสุขลฺลิกานุโยโค 
คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม   ในกามทั้งหลายนี้ใด
หีโน 
เป็นธรรมอันเลว
คมฺโม 
เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน
โปถุชฺชนิโก 
เป็นของคนมีกิเลสหนา
อนริโย 
ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส
อนตฺถสญฺหิโต 
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์   อย่างหนึ่ง
โย   จายํ   อตฺตกิลมถานุโยโค 
คือการประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตนเหล่านี้ใด
ทุกฺโข 
ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ
อนริโย 
ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส
อนตฺถสญฺหิโต 
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์   อย่างหนึ่ง
เอเต   เต   ภิกฺขเว 
อุโภ   อนฺเต   อนุปคมฺม 
มชฺฌิมา   ปฏิปทา 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง   ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น
ตถาคเตน   อภิสมฺพุทฺธา 
อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
จกฺขุกรณี   ญาณกรณี
ทำดวงตา   ทำญาณเครื่องรู้
อุปสมาย   อภิญฺญาย 
สมฺโพธาย   นิพฺพานาย 
สํวตฺตติ 
ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ   เพื่อความรู้ยิ่ง   เพื่อความรู้ดี   เพื่อความดับ
กตมา   จ   สา   ภิกฺขเว 
มชฺฌิมา   ปฏิปทา 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้นเป็นไฉน
ตถาคเตน   อภิสมฺพุทฺธา 
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว   ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จกฺขุกรณี   ญาณกรณี 
ทำดวงตา   ทำญาณเครื่องรู้
อุปสมาย   อภิญฺญาย 
สมฺโพธาย   นิพฺพานาย 
สํวตฺตติ 
ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ   เพื่อความรู้ยิ่ง   เพื่อความรู้ดี   เพื่อความดับ 
อยเมว   อริโย 
อฏฺฐงฺคิโก   มคฺโค 
ทางมีองค์ เครื่องไปจากข้าศึกคือกิเลสนี้เอง
เสยฺยถีทํ  
กล่าวคือ
(1)  สมฺมาทิฏฺฐิ 
ปัญญาอันเห็นชอบ 
(2)  สมฺมาสงฺกปฺโป 
ความดำริชอบ 
(3)  สมฺมาวาจา 
วาจาชอบ 
(4)  สมฺมากมฺมนฺโต 
การงานชอบ 
(5)  สมฺมาอาชีโว 
ความเลี้ยงชีวิตชอบ
(6)  สมฺมาวายาโม 
ความเพียรชอบ
(7)  สมฺมาสติ 
ความระลึกชอบ
(8)  สมฺมาสมาธิ 
ความตั้งจิตชอบ
อยํ   โข   สา   ภิกฺขเว 
มชฺฌิมา   ปฏิปทา 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อันนี้แล  ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้น
ตถาคเตน   อภิสมฺพุทฺธา 
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว   ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จกฺขุกรณี   ญาณกรณี 
ทำดวงตา   ทำญาณเครื่องรู้
อุปสมาย   อภิญฺญาย 
สมฺโพธาย   นิพฺพานาย 
สํวตฺตติ 
ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ   เพื่อความรู้ยิ่ง   เพื่อความรู้ดี   เพื่อความดับ 
อิทํ   โข   ปน   ภิกฺขเว 
ทุกฺขํ   อริยสจฺจํ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็นี้แล   เป็นทุกข์อย่างแท้จริง   คือ
ชาติปิ   ทุกฺขา 
ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชราปิ   ทุกฺขา 
ความแก่ก็เป็นทุกข์
มรณมฺปิ   ทุกฺขํ 
ความตายก็เป็นทุกข์
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺ
สุปายาสาปิ   ทุกฺขา 
ความโศก   ความร่ำไรรำพัน   ความทุกข์โทมนัส   และความคับแค้นใจ   ก็เป็นทุกข์
อปฺปิเยหิ   สมฺปโยโค   ทุกฺโข  
ความประสบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักทั้งหลายเป็นทุกข์
ปิเยหิ   วิปฺปโยโค   ทุกฺโข  
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักทั้งหลายเป็นทุกข์
ยมฺปิจฺฉํ   น   ลภติ. 
ปรารถนาอยู่ย่อมไม่ได้   แม้อันใด
ตมฺปิ   ทุกฺขํ 
แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
สงฺขิตฺเตน   ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา 
ทุกฺขา 
โดยย่อแล้ว   อุปาทานขันธ์  5  เป็นทุกข์
อิทํ   โข   ปน   ภิกฺขเว 
ทุกฺขสมุทโย   อริยสจฺจํ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็นี้แล   เป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นอย่างจริงแท้คือ
ยายํ   ตณฺหา 
ความทะยานอยากนี้ 
โปโนพฺภวิกา 
ทำให้มีภพอีก
นนฺทิราคสหคตา 
เป็นไปกับความกำหนัด  ด้วยอำนาจความเพลิน
ตตฺรตตฺราภินนฺทินี 
เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ
เสยฺยถีทํ 
กล่าวคือ
กามตณฺหา 
คือความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่
ภวตณฺหา 
คือความทะยานอยากในความมีความเป็น
วิภวตณฺหา 
คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น
อิทํ   โข   ปน   ภิกฺขเว 
ทุกฺขนิโรโธ   อริยสจฺจํ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็นี้แล   เป็นความดับทุกข์อย่างจริงแท้   คือ
โย   ตสฺสาเยว   ตณฺหาย 
อเสสวิราคนิโรโธ
ความดับโดยสิ้นกำหนัด   โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นเทียว  อันใด
จาโค 
ความสละตัณหานั้น
ปฏินิสฺสคฺโค 
ความวางตัณหานั้น
มุตฺติ 
ความปล่อยตัณหานั้น
อนาลโย 
ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น
อิทํ   โข   ปน   ภิกฺขเว   
ทุกขนิโรธคามินี   ปฏิปทา   อริยสจฺจํ   
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็นี้แล  เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างจริงแท้   คือ 
อยเมว   อริโย 
อฏฺฐงฺคิโก   มคฺโค
ทางมีองค์ เครื่องไปจากข้าศึกคือกิเลสนี้แล 
เสยฺยถีทํ  
กล่าวคือ
(1)  สมฺมาทิฏฺฐิ 
ปัญญาอันเห็นชอบ 
(2)  สมฺมาสงฺกปฺโป 
ความดำริชอบ 
(3)  สมฺมาวาจา 
วาจาชอบ 
(4)  สมฺมากมฺมนฺโต 
การงานชอบ 
(5)  สมฺมาอาชีโว 
ความเลี้ยงชีวิตชอบ
(6)  สมฺมาวายาโม 
ความเพียรชอบ
(7)  สมฺมาสติ 
ความระลึกชอบ
(8)  สมฺมาสมาธิ. 
ความตั้งจิตชอบ.
อิทํ   ทุกฺขํ   อริยสจฺจนฺติ   เม   
ภิกฺขเว 
ปุพฺเพ   อนนุสฺสุเตสุ   ธมฺเมสุ 
จกฺขุํ   อุทปาทิ   ญาณํ   อุทปาทิ 
ปญฺญา   อุทปาทิ   วิชฺชา   อุทปาทิ 
อาโลโก   อุทปาทิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว   ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว   ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว   วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว   แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา   ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า   นี้เป็นทุกขอริยสัจ
ตํ   โข   ปนิทํ   ทุกฺขํ   อริยสจฺจํ 
ปริญฺเญยฺยนฺติ   เม   ภิกฺขเว 
ปุพฺเพ   อนนุสฺสุเตสุ   ธมฺเมสุ 
จกฺขุํ   อุทปาทิ   ญาณํ   อุทปาทิ 
ปญฺญา   อุทปาทิ   วิชฺชา   อุทปาทิ 
อาโลโก   อุทปาทิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว   ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว   ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว   วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว   แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา   ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า   ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล   ควรกำหนดรู้
ตํ   โข   ปนิทํ   ทุกฺขํ   อริยสจฺจํ 
ปริญฺญาตนฺติ   เม   ภิกฺขเว 
ปุพฺเพ   อนนุสฺสุเตสุ   ธมฺเมสุ 
จกฺขุํ   อุทปาทิ   ญาณํ   อุทปาทิ 
ปญฺญา   อุทปาทิ   วิชฺชา   อุทปาทิ 
อาโลโก   อุทปาทิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว   ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว   ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว   วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว   แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา   ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว   ในกาลก่อนว่า   ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล   อันเราได้กำหนดรู้แล้ว
อิทํ   ทุกฺขสมุทโย   อริยสจฺจนฺติ  
เม   ภิกฺขเว   
ปุพฺเพ   อนนุสฺสุเตสุ   ธมฺเมสุ 
จกฺขุํ   อุทปาทิ   ญาณํ   อุทปาทิ 
ปญฺญา   อุทปาทิ   วิชฺชา   อุทปาทิ 
อาโลโก   อุทปาทิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว   ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว   ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว   วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว   แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา   ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว   ในกาลก่อนว่า   นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ
ตํ   โข   ปนิทํ   ทุกฺขสมุทโย   อริย-
สจฺจํ  ปหาตพฺพนฺติ   เม   ภิกฺขเว 
ปุพฺเพ   อนนุสฺสุเตสุ   ธมฺเมสุ 
จกฺขุํ   อุทปาทิ   ญาณํ   อุทปาทิ 
ปญฺญา   อุทปาทิ   วิชฺชา   อุทปาทิ 
อาโลโก   อุทปาทิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว   ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว   ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว   วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว   แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา   ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว   ในกาลก่อนว่า   ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล   ควรละเสีย
ตํ   โข   ปนิทํ   ทุกฺขสมุทโย  
อริยสจฺจํ   ปหีนนฺติ   เม   ภิกฺขเว 
ปุพฺเพ   อนนุสฺสุเตสุ   ธมฺเมสุ 
จกฺขุํ   อุทปาทิ   ญาณํ   อุทปาทิ 
ปญฺญา   อุทปาทิ   วิชฺชา   อุทปาทิ 
อาโลโก   อุทปาทิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว   ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว   ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว   วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว   แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา   ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า   ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล   อันเราได้ละแล้ว
อิทํ   ทุกฺขนิโรโธ   อริยสจฺจนฺติ  
เม   ภิกฺขเว   
ปุพฺเพ   อนนุสฺสุเตสุ   ธมฺเมสุ 
จกฺขุํ   อุทปาทิ   ญาณํ   อุทปาทิ 
ปญฺญา   อุทปาทิ   วิชฺชา   อุทปาทิ 
อาโลโก   อุทปาทิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว   ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว   ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว   วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว   แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา   ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า   นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
ตํ   โข   ปนิทํ   ทุกฺขนิโรโธ  
อริยสจฺจํ   สจฺฉิกาตพฺพนฺติ  
เม   ภิกฺขเว  
ปุพฺเพ   อนนุสฺสุเตสุ   ธมฺเมสุ 
จกฺขุํ   อุทปาทิ   ญาณํ   อุทปาทิ 
ปญฺญา   อุทปาทิ   วิชฺชา   อุทปาทิ 
อาโลโก   อุทปาทิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว   ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว   ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว   วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว   แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา   ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า   ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล   ควรทำให้แจ้ง
ตํ   โข   ปนิทํ   ทุกฺขนิโรโธ   อริย-
สจฺจํ   สจฺฉิกตนฺติ   เม   ภิกฺขเว 
ปุพฺเพ   อนนุสฺสุเตสุ   ธมฺเมสุ 
จกฺขุํ   อุทปาทิ   ญาณํ   อุทปาทิ 
ปญฺญา   อุทปาทิ   วิชฺชา   อุทปาทิ 
อาโลโก   อุทปาทิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว   ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว   ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว   วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว   แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา   ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า   ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล   อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว
อิทํ   ทุกฺขนิโรธคามินี   ปฏิปทา  
อริยสจฺจนฺติ   เม   ภิกฺขเว   
ปุพฺเพ   อนนุสฺสุเตสุ   ธมฺเมสุ 
จกฺขุํ   อุทปาทิ   ญาณํ   อุทปาทิ 
ปญฺญา   อุทปาทิ   วิชฺชา   อุทปาทิ 
อาโลโก   อุทปาทิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว   ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว   ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว   วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว   แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา   ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า   นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ตํ   โข   ปนิทํ   ทุกฺขนิโรธคามินี 
ปฏิปทา   อริยสจฺจํ  
ภาเวตพฺพนฺติ   เม   ภิกฺขเว  
ปุพฺเพ   อนนุสฺสุเตสุ   ธมฺเมสุ 
จกฺขุํ   อุทปาทิ   ญาณํ   อุทปาทิ 
ปญฺญา   อุทปาทิ   วิชฺชา   อุทปาทิ 
อาโลโก   อุทปาทิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว   ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว   ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว   วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว   แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา   ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า   ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล   ควรให้เจริญ
ตํ   โข   ปนิทํ   ทุกฺขนิโรธคามินี 
ปฏิปทา   อริยสจฺจํ   ภาวิตนฺติ   
เม   ภิกฺขเว  
ปุพฺเพ   อนนุสฺสุเตสุ   ธมฺเมสุ 
จกฺขุํ   อุทปาทิ   ญาณํ   อุทปาทิ 
ปญฺญา   อุทปาทิ   วิชฺชา   อุทปาทิ 
อาโลโก   อุทปาทิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว   ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว   ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว   วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว   แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา   ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า   ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล   อันเราเจริญแล้ว
ยาวกีวญฺจ   เม   ภิกฺขเว 
อิเมสุ   จตูสุ   อริยสจฺเจสุ 
เอวนฺติปริวฏฺฏํ   ทฺวาทสาการํ 
ยถาภูตํ   ญาณทสฺสนํ  
น   สุวิสุทฺธํ   อโหสิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร   ในอริยสัจ เหล่านี้ของเรา   ซึ่งมีรอบ มีอาการ 12  อย่างนี้   ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว
เนว   ตาวาหํ   ภิกฺขเว   สเทวเก 
โลเก   สมารเก   สพฺรหฺมเก 
สสฺสมณพฺราหฺมณิยา   ปชาย 
สเทวมนุสฺสาย   อนุตฺตรํ 
สมฺมาสมฺโพธึ   อภิสมฺพุทฺโธ 
ปจฺจญฺญาสึ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เราได้ยืนยันตนว่า   เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ   ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก   เป็นไปกับด้วยเทพดา   มาร   พรหม  ในหมู่สัตว์   ทั้งสมณพราหมณ์   เทพดา   มนุษย์   ไม่ได้เพียงนั้น
ยโต   จ   โข   เม   ภิกฺขเว 
อิเมสุ   จตูสุ   อริยสจฺเจสุ 
เอวนฺติปริวฏฺฏํ   ทฺวาทสาการํ 
ยถาภูตํ   ญาณทสฺสนํ   สุวิสุทฺธํ 
อโหสิ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็เมื่อใดแล   ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงอย่างไร   ในอริยสัจ 4 เหล่านี้   ของเรา   ซึ่งมีรอบ มีอาการ 12 อย่างนี้   หมดจดดีแล้ว
อถาหํ   ภิกฺขเว   สเทวเก 
โลเก   สมารเก   สพฺรหฺมเก 
สสฺสมณพฺราหฺมณิยา   ปชาย 
สเทวมนุสฺสาย   อนุตฺตรํ 
สมฺมาสมฺโพธึ   อภิสมฺพุทฺโธ 
ปจฺจญฺญาสึ 
เมื่อนั้น   เราจึงได้ยืนยันตนว่า   เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ   ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ   ไม่มีความตรัสรู้อื่นยิ่งกว่าในโลก   เป็นไปกับด้วยเทพดา   มาร   พรหม  ในหมู่สัตว์   ทั้งสมณพราหมณ์   เทพดา   มนุษย์
ญาณญฺจ   ปน   เม   ทสฺสนํ  
อุทปาทิ
ก็แล   ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
อกุปฺปา   เม   วิมุตฺติ 
อยมนฺติมา   ชาติ 
นตฺถิทานิ   ปุนพฺภโวติ 
ว่าความพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ   ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว   บัดนี้ ไม่มีภพอีก
อิทมโวจ   ภควา 
พระผู้มีพระภาคเจ้า   ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว
อตฺตมนา   ปญฺจวคฺคิยา   ภิกฺขู 
ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็มีใจยินดี
ภควโต   ภาสิตํ   อภินนฺทุํ 
เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อิมสฺมิญฺจ   ปน   เวยฺยากรณสฺมึ 
ภญฺญมาเน 
ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้   อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่
อายสฺมโต   โกณฺฑญฺญสฺส 
วิรชํ   วีตมลํ   ธมฺมจกฺขุํ   อุทปาทิ 
จักษุในธรรม   อันปราศจากธุลี   ปราศจากมลทิน   ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ
ยงฺกิญฺจิ   สมุทยธมฺมํ   สพฺพนฺตํ 
นิโรธธมฺมนฺติ 
ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง   มีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา   สิ่งทั้งปวงนั้น   มีอันดับไปเป็นธรรมดา
ปวตฺติเต   จ   ภควตา   ธมฺมจกฺเก 
ก็ครั้นเมื่อธรรมจักร   อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว
ภุมฺมา   เทวา   สทฺทมนุสฺสาเวสุํ 
เหล่าภุมมเทพดา   ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
เอตมฺภควตา   พาราณสิยํ 
อิสิปตเน   มิคทาเย   อนุตฺตรํ 
ธมฺมจกฺกํ   ปวตฺติตํ 
อปฺปฏิวตฺติยํ   สมเณน   วา  
พฺราหฺมเณน   วา   เทเวน   วา 
มาเรน   วา   พฺรหฺมุนา   วา 
เกนจิ   วา   โลกสฺมินฺติ 
ว่านั่นจักร   คือธรรม   ไม่มีจักรอื่นสู้ได้   อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว   ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน   ใกล้เมืองพาราณสี   อันสมณพราหมณ์   เทพดา   มาร   พรหม   และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้   ดังนี้
      ภุมฺมานํ   เทวานํ   สทฺทํ   สุตฺวา 
จาตุมฺมหาราชิกา   เทวา 
สทฺทมนุสฺสาเวสุํ 
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช   ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า   เหล่าภุมมเทพดาแล้ว   ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
จาตุมฺมหาราชิกานํ   เทวานํ  
สทฺทํ   สุตฺวา   ตาวตึสา   เทวา 
สทฺทมนุสฺสาเวสุํ 
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์   ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า   เหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว   ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
ตาวตึสานํ   เทวานํ   สทฺทํ   สุตฺวา 
ยามา   เทวา   สทฺทมนุสฺสาเวสุํ
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามะ   ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว   ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
ยามานํ   เทวานํ   สทฺทํ   สุตฺวา 
ตุสิตา   เทวา   สทฺทมนุสฺสาเวสุํ 
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต   ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า   เหล่าชั้นยามะแล้ว   ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
ตุสิตานํ   เทวานํ   สทฺทํ   สุตฺวา 
นิมฺมานรตี   เทวา   สทฺทมนุสฺสาเวสุํ
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี   ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า  เหล่าชั้นดุสิตแล้ว   ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
นิมฺมานรตีนํ   เทวานํ   สทฺทํ 
สุตฺวา   ปรนิมฺมิตวสวตฺตี   เทวา 
สทฺทมนุสฺสาเวสุํ 
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดี   ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า   เหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว   ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
ปรนิมฺมิตวสวตฺตีนํ   เทวานํ   สทฺทํ 
สุตฺวา   พฺรหฺมกายิกา   เทวา 
สทฺทมนุสฺสาเวสุํ 
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม   ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า  เหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดีแล้ว   ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
เอตมฺภควตา   พาราณสิยํ 
อิสิปตเน   มิคทาเย   อนุตฺตรํ 
ธมฺมจกฺกํ   ปวตฺติตํ  อปฺปฏิวตฺติยํ  
สมเณน   วา   พฺราหฺมเณน   วา  
เทเวน   วา  มาเรน   วา  
พฺรหฺมุนา   วา  เกนจิ   วา  
โลกสฺมินฺติ.   
ว่านั่นจักร   คือธรรม   ไม่มีจักรอื่นสู้ได้   อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว   ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน   ใกล้เมืองพาราณสี   อันสมณพราหมณ์   เทพดา   มาร   พรหม   และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้   ดังนี้.
      อิติห   เตน   ขเณน   เตน 
มุหุตฺเตน   ยาว   พฺรหฺมโลกา 
สทฺโท   อพฺภุคฺคจฺฉิ 
โดยขณะครู่เดียวนั้น   เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลก   ด้วยประการฉะนี้
อยญฺจ   ทสสหสฺสี   โลกธาตุ 
ทั้งหมื่นโลกธาตุ
สงฺกมฺปิ   สมฺปกมฺปิ   สมฺปเวธิ 
ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป
อปฺปมาโณ   จ   โอฬาโร 
โอภาโส   โลเก   ปาตุรโหสิ 
ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ   ได้ปรากฏแล้วในโลก
อติกฺกมฺเมว   เทวานํ   เทวานุภาวํ  
ล่วงเทวานุภาพ   ของเทพดาทั้งหลายเสียหมด
อถโข   ภควา   อุทานํ   อุทาเนสิ 
ลำดับนั้นแล   พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า
อญฺญาสิ   วต   โภ   โกณฺฑญฺโญ 
อญฺญาสิ   วต   โภ   โกณฺฑญฺโญติ 
ว่าโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ   ผู้เจริญ   โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ   ผู้เจริญ
อิติหิทํ   อายสฺมโต   โกณฺฑญฺญสฺส 
อญฺญาโกณฺฑญฺโญเตฺวว   นามํ 
อโหสีติ. 
เพราะเหตุนั้น   นามว่า   อัญญาโกณฑัญญะนี้นั่นเทียว   ได้มีแล้วแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ   ด้วยประการฉะนี้แล.



1 ความคิดเห็น:

  1. หากพุทธศาสนิกชนเข้าใจและ?ปฏิบัติตามได้ครบถ้วน โรคภัยต่าง ๆ ในบ้านเมือง ก็จะหายไปได้จริง ๆ อยากให้มีการสวดซ้ำำ พร้อมคำแปล และอรรถา็ะิบายอย่างละเอียดซ้ำ

    ตอบลบ

Link ไปยังบทสวดมนต์อื่นใน Blog นี้

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม