บทสวดมนต์ โมกขุปายคาถา (บาลี พร้อมคำแปล)


บทสวดมนต์  โมกขุปายคาถา  จากหนังสือสวดมนต์แปล  ฉบับรวบรวมและแปลโดย  พระศาสนโศภน  (แจ่ม  จตฺตสลฺโล)  วัดมกุฏกษัตริยาราม   ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ  (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533)  (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)


สามารถดาวน์โหลด Ebook  ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล  และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล  มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ  ได้ที่  Link  :

https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing

https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books


สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์  (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ  โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ)  และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท  ได้ที่ ting074ch Youtube Channel  ที่ Link  :

https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw


โมกขุปายคาถา
(หน้า 314)
      สพฺพวตฺถุตฺตมํ   นตฺวา 
พุทฺธธมฺมคณตฺตยํ
ข้าพเจ้าขอนมัสการ  รัตนะ  คือ  พระพุทธ  พระธรรม  และพระสงฆ์  อันเป็นวัตถุอุดมกว่าวัตถุทั้งปวงแล้ว
เชคุจฺฉกายมจฺจานํ 
โมกฺขุปายํ   วทามิหํ
จะบอกอุบายเป็นเครื่องพ้นแก่เหล่าชนผู้มีร่างกายอันน่าเบื่อหน่าย
ปาฏิโมกฺขํ   ปูเรตพฺพํ 
ปาฏิโมกขสังวรศีลควรให้บริบูรณ์
อโถ   อินฺทฺริยสํวโร
อินทรียสังวรศีลด้วย
อาชีวสฺส   อโถ   สุทฺธิ
อาชีวปาริสุทธิศีลด้วย
อโถ   ปจฺจยนิสฺสิตํ
ปัจจยสันนิสสิตศีลด้วย
จาตุปาริสุทฺธิสีลํ
ปาริสุทธิศีลทั้ง (นี้)
กาตพฺพํ   ว   สุนิมฺมลํ 
กรณากรเณเหว  
ภิกฺขุนา   โมกฺขเมสินา
อันภิกษุผู้แสวงหาโมกขธรรมควรกระทำให้บริสุทธิ์   โดยการทำและการไม่ทำ   (คือทำตามพระพุทธานุญาต   ไม่ทำตามที่ทรงห้าม)
พุทฺธานุสฺสติ   เมตฺตา   จ 
อสุภํ   มรณสฺสติ 
อิจฺจิมา   จตุรารกฺขา
จตุรารักษ์เหล่านี้   คือพุทธานุสสติ   เมตตา   อสุภะ   มรณัสสติ
กาตพฺพา   จ   วิปสฺสนา
และวิปัสสนาควรกระทำ
วิสุทฺธธมฺมสนฺตาโน
พระพุทธเจ้า   พระองค์มีพระสันดานบริบูรณ์ด้วยพระธรรมอันบริสุทธิ์
อนุตฺตราย   โพธิยา 
โยคโต   จ   ปโพธา   จ
พุทฺโธ   พุทฺโธติ   ญายเต 
อันสัตวโลกมารู้สึกว่า   พุทธะ ๆ   ดังนี้   เพราะพระปัญญาตรัสรู้อย่างยิ่ง  เพราะประกอบสัตว์ไว้ในธรรม   และเพราะทรงปลุกสัตว์ผู้หลับอยู่ให้ตื่น   (ดังนี้ชื่อว่าพุทธานุสสติ)
นรานรติรจฺฉาน- 
เภทา   สตฺตา   สุเขสิโน
สัตว์ทั้งหลาย   ต่างด้วยมนุษย์   อมนุษย์   และดิรัจฉาน   เป็นผู้แสวงหาความสุข
สพฺเพปิ   สุขิโน   โหนฺตุ
ขอเหล่าสัตว์แม้ทั้งปวง   จงเป็นผู้ถึงความสุข
สุขิตตฺตา   จ   เขมิโน
และเป็นผู้เกษมสำราญ   เพราะถึงความสุข   (ดังนี้ชื่อว่าเมตตาภาวนา)
เกสโลมาทิฉวานํ 
อยเมว   สมุสฺสโย 
กาโย   สพฺโพปิ   เชคุจฺโฉ 
กายนี้แล   เป็นที่ประชุมแห่งซากศพ   มีผมขนเป็นต้น   แม้ทั้งหมดเป็นของน่าเบื่อหน่าย
วณฺณาทิโต   ปฏิกฺกุโล 
ปฏิกูลโดยส่วนมีสีเป็นต้น   (ดังนี้ชื่อว่าอสุภกัมมัฏฐาน)
ชีวิตินฺทฺริยุปจฺเฉท-
สงฺขาตมรณํ   สิยา 
สพฺเพสํปีธ   ปาณีนํ 
ความตายกล่าวคือความแตกขาดแห่งชีวิตอินทรีย์   พึงมีแก่สัตว์ทั้งหลายหมดด้วยกันในโลกนี้ 
ตญฺหิ   ธุวํ   น   ชีวิตํ
เพราะว่า   ความตายเป็นของเที่ยง   ชีวิตความเป็นอยู่เป็นของไม่เที่ยง  (ดังนี้ชื่อว่ามรณัสสติ)
อวิชฺชาทีหิ   สมฺภูตา 
รูปญฺจ   เวทนา   ตถา 
อโถ   สญฺญา   จ   สงฺขารา
วิญฺญาณญฺจาติ   ปญฺจิเม
เบญจขันธ์เหล่านี้  คือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ   มีมาแต่ปัจจัยต่าง ๆ  มีอวิชชาเป็นต้น
อุปฺปชฺชนฺติ   นิรุชฺฌนฺติ
ย่อมเกิดขึ้นและดับไป
เอวํ   หุตฺวา   อภาวโต 
เอเต   ธมฺมา   อนิจฺจาถ
ธรรมเหล่านั้น   ชื่อว่าไม่เที่ยง   เพราะเป็นอย่างนั้นแล้ว   หาเป็นอย่างนั้นอีกไม่
ตาวกาลิกตาทิโต
เพราะเป็นเหมือนของยืมเขามา  เป็นต้น
ปุนปฺปุนํ   ปีฬิตตฺตา 
อุปฺปาเทน   วเยน   จ 
เต   ทุกฺขาว   อนิจฺจา   เย
ธรรมเหล่าใดไม่เที่ยง   ธรรมเหล่านั้นแล   ชื่อว่าเป็นทุกข์   เพราะเป็นสภาพถูกความเกิดขึ้น  และความเสื่อมไปเบียดเบียนอยู่ร่ำไป
อถ   สนฺตตฺตตาทิโต
และเพราะความเป็นของเร่าร้อน เป็นต้น
วเส   อวตฺตนาเยว 
อตฺตวิปกฺขภาวโต
สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา   จ 
เต   อนตฺตาติ   ญายเร
ธรรมที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เหล่านั้น  อันผู้ปฏิบัติย่อมทราบว่าเป็นอนัตตาเพราะไม่เป็นไปในอำนาจเสียเลยทีเดียวด้วย   เพราะเป็นข้าศึกแก่ตนด้วย   เพราะความเป็นของว่างเปล่าด้วย   เพราะความเป็นของไม่มีเจ้าของด้วย
เอวํ   สนฺเต   จ   เต   ธมฺมา
ก็เมื่อเป็นเช่นนี้   ธรรมเหล่านั้น
นิพฺพินฺทิตพฺพภาวโต  
ทฑฺฒเคหสมาเยว
เสมอด้วยเรือนถูกไฟไหม้แท้   เพราะความเป็นของน่าเบื่อหน่าย
อลํ   โมกฺขํ   คเวสิตุํ 
ควรแล้วเพื่อจะแสวงหาอุบายเป็นเครื่องพ้น
ปญฺจกฺขนฺธมิมํ   ทุกฺขํ 
ขันธ์ 5 นี้เป็นทุกข์
ตณฺหา   สมุทโย   ภเว
ตัณหาเป็นสมุทัย
ตสฺสา   นิโรโธ   นิพฺพานํ 
ความดับตัณหานั้นเสีย   เป็นอันดับทุกข์
มคฺโค   อฏฺฐงฺคิการิโย
หนทางอันประเสริฐประกอบด้วยองค์ 8 ประการ
เอตฺตกานํปิ   ปาฐานํ
อตฺถํ   ญตฺวา   ยถารหํ 
ปฏิปชฺเชถ   เมธาวี 
ปตฺตุํ   สงฺขารนิพฺพุตินฺติ.
ปราชญ์ผู้มีปัญญา   มาทราบเนื้อความแห่งปาฐะ   แม้มีประมาณเท่านี้แล้ว   พึงปฏิบัติตามสมควร  เพื่อบรรลุพระนิพพาน  อันเป็นที่ดับสังขารด้วยประการฉะนี้แล.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Link ไปยังบทสวดมนต์อื่นใน Blog นี้

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม