บทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า จากหนังสือสวดมนต์แปล ฉบับรวบรวมและแปลโดย พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533) (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)
สามารถดาวน์โหลด Ebook ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ ได้ที่ Link :
https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing
https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books
สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์ (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ) และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท ได้ที่ ting074ch Youtube Channel ที่ Link :
https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw
ทำวัตรเช้า
|
(หน้า 1)
|
นโม
ตสฺส ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
|
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น.
|
พุทธาภิถุติ
|
(หน้า 1)
|
โย
โส ตถาคโต
|
พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด
|
อรหํ
|
เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ ควรบูชา
|
สมฺมาสมฺพุทฺโธ
|
เป็นผู้รู้ชอบเอง
|
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
|
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ
|
สุคโต
|
เป็นผู้ไปดีแล้ว
|
โลกวิทู
|
เป็นผู้ทรงรู้โลก
|
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
|
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
|
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
|
เป็นผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
|
พุทฺโธ
|
เป็นผู้เบิกบานแล้ว
|
ภควา
|
เป็นผู้จำแนกธรรม
|
โย
|
พระองค์ใด
|
อิมํ โลกํ
สเทวกํ สมารกํ
สพฺรหฺมกํ สสฺสมณพฺราหฺมณึ
ปชํ สเทวมนุสฺสํ สยํ
อภิญฺญา
สจฺฉิกตฺวา ปเวเทสิ.
|
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้
กับทั้งเทวดา มาร พรหม
และหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
และเทวดา มนุษย์ ให้รู้ตาม.
|
โย
|
พระองค์ใด
|
ธมฺมํ เทเสสิ
|
ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม
|
อาทิกลฺยาณํ
|
ไพเราะในเบื้องต้น
|
มชฺเฌกลฺยาณํ
|
ไพเราะในท่ามกลาง
|
ปริโยสานกลฺยาณํ
|
ไพเราะในที่สุด
|
สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ
เกวลปริ-
ปุณฺณํ ปริสุทฺธํ
พฺรหฺมจริยํ
ปกาเสสิ
|
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
|
ตมหํ ภควนฺตํ
อภิปูชยามิ
|
ข้าพเจ้า ขอบูชาโดยยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
|
ตมหํ ภควนฺตํ
สิรสา นมามิ.
|
ข้าพเจ้า
ขอนอบน้อมซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
|
ธัมมาภิถุติ
|
(หน้า
3)
|
โย
โส สฺวากฺขาโต
ภควตา ธมฺโม
|
พระธรรมนั้นอันใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสดีแล้ว
|
สนฺทิฏฺฐิโก
|
เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง
|
อกาลิโก
|
เป็นของไม่มีกาลเวลา
|
เอหิปสฺสิโก
|
เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้
|
โอปนยิโก
|
เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ
|
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ
วิญฺญูหิ
|
เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตัว
|
ตมหํ ธมฺมํ
อภิปูชยามิ
|
ข้าพเจ้าขอบูชาโดยยิ่ง ซึ่งพระธรรมอันนั้น
|
ตมหํ ธมฺมํ
สิรสา นมามิ.
|
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมซึ่งพระธรรมอันนั้น ด้วยเศียรเกล้า.
|
สังฆาภิถุติ
|
(หน้า 3)
|
โย
โส สุปฏิปนฺโน
ภควโต สาวกสงฺโฆ
|
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
|
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต
สาวกสงฺโฆ
|
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า (หมู่ใด)
เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
|
ญายปฏิปนฺโน ภควโต
สาวกสงฺโฆ
|
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า (หมู่ใด)
เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว
|
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต
สาวกสงฺโฆ
|
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า (หมู่ใด)
เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว
|
ยทิทํ
|
คือ
|
จตฺตาริ ปุริสยุคานิ
|
คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย 4
|
อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา
|
บุรุษบุคคลทั้งหลาย 8
|
เอส ภควโต
สาวกสงฺโฆ
|
นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า
|
อาหุเนยฺโย
|
ท่านเป็นผู้ควรสักการะที่เขานำมาบูชา
|
ปาหุเนยฺโย
|
ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ
|
ทกฺขิเณยฺโย
|
ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน
|
อญฺชลิกรณีโย
|
ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม
|
อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส
|
ท่านเป็นนาบุญของโลก
ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า
|
ตมหํ สงฺฆํ
อภิปูชยามิ
|
ข้าพเจ้าขอบูชาโดยยิ่ง ซึ่งพระสงฆ์หมู่นั้น
|
ตมหํ สงฺฆํ
สิรสา นมามิ.
|
ข้าพเจ้าขอนอบน้อม ซึ่งพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
|
รตนัตตยปณามคาถา
|
(หน้า 5)
|
พุทฺโธ
สุสุทฺโธ กรุณา-
มหณฺณโว โยจฺจนฺตสุทฺธพฺพร-
ญาณโลจโน
|
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นผู้หมดจดดีแล้ว มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ มีพระปัญญาจักษุหมดจดแล้ว โดยส่วนเดียว
|
โลกสฺส ปาปูปกิเลสฆาตโก
|
ฆ่าบาปและอุปกิเลสแห่งโลก
|
วนฺทามิ พุทฺธํ
อหมาทเรน ตํ
|
ข้าพเจ้าขอไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยความเคารพ
|
ธมฺโม ปทีโป
วิย ตสฺส
สตฺถุโน
|
พระธรรมของพระศาสดาจารย์เจ้าพระองค์นั้น ราวกับประทีป
|
โย มคฺคปากามตเภทภินฺนโก
|
พระธรรมอันใดต่างโดยประเภท คือมรรคผลและนิพพาน
|
โลกุตฺตโร โย
จ ตทตฺถทีปโน
|
เป็นธรรมข้ามโลก และธรรมอันใด ส่องเนื้อความแห่งโลกุตตรธรรมนั้น
|
วนฺทามิ ธมฺมํ
อหมาทเรน ตํ
|
ข้าพเจ้าขอไหว้พระธรรมอันนั้น โดยความเคารพ
|
สงฺโฆ สุเขตฺตาภฺยติเขตฺต-
สญฺญิโต โย
ทิฏฺฐสนฺโต
สุคตานุโพธโก
|
พระสงฆ์หมู่ใดจัดเป็นนาดียิ่งกว่านาที่ดี มีความระงับอันประจักษ์แล้ว รู้ตามเสด็จพระสุคตเจ้า
|
โลลปฺปหีโน อริโย
สุเมธโส
|
มีกิเลสโลเลอันละได้แล้ว เป็นอริยเจ้ามีปัญญาดี
|
วนฺทามิ สงฺฆํ
อหมาทเรน ตํ
|
ข้าพเจ้าขอไหว้พระสงฆ์หมู่นั้นโดยความเคารพ
|
อิจฺเจวเมกนฺตภิปูชเนยฺยกํ
วตฺถุตฺตยํ วนฺทยตาภิสงฺขตํ
ปุญฺญํ มยายํ
มม สพฺพุปทฺทวา
มา โหนฺตุ
เว ตสฺส ปภาว-
สิทฺธิยา.
|
บุญอันใด ที่ข้าพเจ้าไหว้วัตถุ 3 ซึ่งเป็นของควรบูชาโดยส่วนเดียว สั่งสมแล้วอย่างนี้ ๆ ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงอย่ามี ด้วยความประสิทธานุภาพแห่งบุญนั้นแล.
|
สังเวคปริกิตตนปาฐ
|
(หน้า 6)
|
อิธ
ตถาคโต โลเก
อุปฺปนฺโน อรหํ
สมฺมาสมฺพุทฺโธ
|
ในโลกนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เกิดขึ้นแล้ว
|
ธมฺโม จ
เทสิโต
|
และธรรมอันพระตถาคตเจ้าทรงแสดงแล้ว
|
นิยฺยานิโก
|
เป็นไปเพื่อนำสัตว์ออก
|
อุปสมิโก
|
เป็นไปเพื่ออันสงบระงับ
|
ปรินิพฺพานิโก
|
เป็นไปเพื่ออันดับรอบ
|
สมฺโพธคามี
|
ให้ถึงความตรัสรู้
|
สุคตปฺปเวทิโต
|
พระสุคตประกาศแล้ว
|
มยนฺตํ ธมฺมํ
สุตฺวา เอวํ
ชานาม
|
เราได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงรู้อย่างนี้ว่า
|
ชาติปิ ทุกฺขา
|
แม้ความเกิด เป็นทุกข์
|
ชราปิ ทุกฺขา
|
แม้ความแก่ เป็นทุกข์
|
มรณมฺปิ ทุกฺขํ
|
แม้ความตาย เป็นทุกข์
|
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุ-
ปายาสาปิ ทุกฺขา
|
แม้ความแห้งใจ ความร่ำไรเพ้อ
ความทุกข์ ความเสียใจ
ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์
|
อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค
ทุกฺโข
|
ความประจวบสิ่งอันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
|
ปิเยหิ วิปฺปโยโค
ทุกฺโข
|
ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก เป็นทุกข์
|
ยมฺปิจฺฉํ น
ลภติ
|
ปรารถนาอยู่ย่อมไม่ได้ แม้อันใด
|
ตมฺปิ ทุกฺขํ
|
แม้อันนั้นเป็นทุกข์
|
สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา
ทุกฺขา
|
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
|
เสยฺยถีทํ
|
กล่าวคือ
|
รูปูปาทานกฺขนฺโธ
|
อุปาทานขันธ์
คือ
รูป
|
เวทนูปาทานกฺขนฺโธ
|
อุปาทานขันธ์
คือ
เวทนา
|
สญฺญูปาทานกฺขนฺโธ
|
อุปาทานขันธ์
คือ
สัญญา
|
สงฺขารูปาทานกฺขนฺโธ
|
อุปาทานขันธ์
คือ
สังขาร
|
วิญฺญาณูปาทานกฺขนฺโธ
|
อุปาทานขันธ์
คือ
วิญญาณ
|
เยสํ ปริญฺญาย
ธรมาโน
โส ภควา
เอวํ พหุลํ
สาวเก วิเนติ
|
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังดำรงพระชนม์อยู่
ย่อมแนะนำสาวกทั้งหลายเพื่อให้กำหนดรู้อุปาทานขันธ์ 5 อย่างนี้โดยมาก
|
เอวํ ภาคา
จ ปนสฺส ภควโต
สาวเกสุ อนุสาสนี
พหุลา
ปวตฺตติ
|
ก็แลอนุสาสนีเป็นอันมากของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นไปในสาวกทั้งหลาย มีส่วนอย่างนี้
|
รูปํ อนิจฺจํ
|
รูป ไม่เที่ยง
|
เวทนา อนิจฺจา
|
เวทนา ไม่เที่ยง
|
สญฺญา อนิจฺจา
|
สัญญา ไม่เที่ยง
|
สงฺขารา อนิจฺจา
|
สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง
|
วิญฺญาณํ อนิจฺจํ
|
วิญญาณ ไม่เที่ยง
|
รูปํ อนตฺตา
|
รูป เป็นอนัตตา
|
เวทนา อนตฺตา
|
เวทนา เป็นอนัตตา
|
สญฺญา อนตฺตา
|
สัญญา เป็นอนัตตา
|
สงฺขารา อนตฺตา
|
สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา
|
วิญฺญาณํ อนตฺตา
|
วิญญาณ เป็นอนัตตา
|
สพฺเพ สงฺขารา
อนิจฺจา
|
สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
|
สพฺเพ ธมฺมา
อนตฺตาติ
|
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา
ดังนี้
|
เต
(ตา) มยํ โอติณฺณามฺห ชาติยา
ชรามรเณน โสเกหิ
ปริเทเวหิ
ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ
|
เราทั้งหลายเป็นผู้อัน ชาติ
ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส ครอบงำแล้ว
|
ทุกฺโขติณฺณา
|
ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว
|
ทุกฺขปเรตา
|
มีทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
|
อปฺเปวนามิมสฺส เกวลสฺส
ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยา
ปญฺญาเยถาติ
|
ไฉน ความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ
|
จิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ
ภควนฺตํ
สรณํ คตา
|
เราถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ
|
ธมฺมญฺจ
|
ซึ่งพระธรรมด้วย
|
ภิกฺขุสงฺฆญฺจ
|
ซึ่งภิกษุสงฆ์ด้วย
|
ตสฺส ภควโต
สาสนํ ยถาสติ
ยถาพลํ มนสิกโรม
อนุปฏิปชฺชาม
|
กระทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่
ซึ่งคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตามสติกำลัง
|
สา สา
โน ปฏิปตฺติ
|
ขอความปฏิบัตินั้น
ๆ ของเรา
|
อิมสฺส เกวลสฺส
ทุกฺขกฺขนฺธสฺส
อนฺตกิริยาย สํวตฺตตุ.
|
จงเป็นไปเพื่ออันกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ เทอญ.
|
** บทสวดท่อนที่มีคำในวงเล็บ คือ สำหรับสตรี ให้ออกเสียงตามคำในวงเล็บ
** ถ้าเป็นภิกษุ สวดถึง ปญฺญาเยถาติ แล้วเปลี่ยนสวด ดังนี้
จิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ
ภควนฺตํ
อุทฺทิสฺส อรหนฺตํ
สมฺมาสมฺพุทฺธํ
|
เราอุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น
|
สทฺธา อคารสฺมา
อนคาริยํ
ปพฺพชิตา
|
มีศรัทธาออก (บวช)
จากเรือน เป็นอนาคาริกะ
|
ตสฺมึ ภควติ
พฺรหฺมจริยํ จราม
|
ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
|
ภิกฺขูนํ สิกฺขาสาชีวสมาปนฺนา
|
ถึงพร้อมแล้วด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุทั้งหลาย
|
ตํ โน
พฺรหฺมจริยํ
|
ขอพรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น
|
อิมสฺส เกวลสฺส
ทุกฺขกฺขนฺธสฺส
อนฺตกิริยาย สํวตฺตตุ.
|
จงเป็นไปเพื่ออันกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ เทอญ.
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น