บทสวดมนต์ บอกวัตร จากหนังสือสวดมนต์แปล ฉบับรวบรวมและแปลโดย พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533) (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)
สามารถดาวน์โหลด Ebook ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ ได้ที่ Link :
https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing
https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books
สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์ (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ) และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท ได้ที่ ting074ch Youtube Channel ที่ Link :
https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw
บอกวัตร
|
(หน้า
28)
|
อุกาส โย
ปน ภิกฺขุ ?
|
ข้าจะขอโอกาส ก็ภิกษุผู้ใด
|
ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน วิหรติ
|
เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมอยู่
|
สามีจิปฏิปนฺโน อนุธมฺมจารี
|
เป็นผู้ปฏิบัติชอบ เป็นผู้ประพฤติตามธรรมเป็นปกติ
|
โส ตถาคตํ
สกฺกโรติ
ครุกโรติ มาเนติ
ปูเชติ
|
ผู้นั้น ชื่อย่อมทำสักการะ ทำความเคารพ นับถือ
บูชาซึ่งพระตถาคตเจ้า
|
ปรมาย ปูชาย
ปฏิปตฺติปูชาย.
|
ด้วยปฏิบัติบูชา อันเป็นบูชาอย่างยิ่ง
|
สพฺพปาปสฺส อกรณํ
|
ความไม่ทำบาปทั้งปวง
|
กุสลสฺสูปสมฺปทา
|
ความบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม
|
สจิตฺตปริโยทปนํ
|
ความทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
|
เอตํ พุทฺธาน
สาสนํ
|
นี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
|
ขนฺตี ปรมํ
ตโป ตีติกฺขา
|
ความอดทน คือความทนทาน เป็นตปะอย่างยิ่ง
|
นิพฺพานํ ปรมํ
วทนฺติ พุทฺธา
|
ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมกล่าวพระนิพพานว่าเป็นเยี่ยม
|
น หิ
ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ
ปรํ วิเหฐยนฺโต
|
บรรพชิตผู้ฆ่าสัตว์อื่นเบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าสมณะเลย
|
อนูปวาโท อนูปฆาโต
|
ความไม่เข้าไปว่าร้ายกันด้วย ความไม่เข้าไปล้างผลาญกันด้วย
|
ปาฏิโมกฺเข จ
สํวโร
|
ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ด้วย
|
มตฺตญฺญุตา จ
ภตฺตสฺมึ
|
ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหารด้วย
|
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
|
ที่นอนที่นั่งอันสงัดด้วย
|
อธิจิตฺเต จ
อาโยโค
|
ประกอบความเพียรในอธิจิตด้วย
|
เอตํ พุทฺธาน
สาสนํ.
|
นี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
|
สีลสมาธิคุณานํ
ขนฺตี ปธานการณํ
|
ความอดทนเป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งคุณ คือสีลสมาธิทั้งหลาย
|
สพฺเพปิ กุสลา
ธมฺมา
ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ
เต
|
กุศลธรรมทั้งหลาย แม้ทั้งสิ้นนั้น ย่อมเจริญด้วยความอดทนแท้
|
เกวลานํปิ ปาปานํ
ขนฺตี มูลํ
นิกนฺตติ
|
ความอดทน
ย่อมตัดเสียได้ซึ่งรากเง่าแห่งความชั่วทั้งหลาย แม้ทั้งสิ้น
|
ครหกลหาทีนํ
มูลํ ขนติ
ขนฺติโก
|
ผู้อดทน
ชื่อว่าย่อมขุดเสียได้ซึ่งรากเง่าแห่งหายนะเหตุทั้งหลาย มีการติเตียนกัน และการทะเลาะกัน เป็นต้น
|
ขนฺตี ธีรสฺส
ลงฺกาโร
|
ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
|
ขนฺตี ตโป
ตปสฺสิโน
|
ความอดทนเป็นตปะของผู้มีตปะ
|
ขนฺตี พลํ
ว ยตีนํ
|
ความอดทนเป็นกำลังของผู้บำเพ็ญพรตทั้งหลาย
|
ขนฺตี หิตสุขาวหา
|
ความอดทนนำประโยชน์และความสุขมาให้
|
ขนฺติโก เมตฺตวา
ลาภี
ยสสฺสี สุขสีลวา
|
ผู้อดทน ชื่อว่าเป็นผู้มีมิตร เป็นผู้มีลาภ เป็นผู้มียศ เป็นผู้มีความสุขเป็นปกติ
|
ปิโย เทวมนุสฺสานํ
มนาโป โหติ
ขนฺติโก
|
ผู้อดทน ชื่อว่าย่อมเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
|
อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ
อตฺถาวโห ว
ขนฺติโก
|
ผู้อดทน ชื่อว่าเป็นผู้นำประโยชน์มาให้แก่ตน และแก่ชนเหล่าอื่นอีกด้วย
|
สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ
อารุโฬฺห โหติ
ขนฺติโก
|
ผู้อดทน ชื่อว่าย่อมเป็นผู้ย่างขึ้นสู่หนทาง เป็นที่ไปสวรรค์และพระนิพพาน
|
สตฺถุโน วจโนวาทํ
กโรติเยว ขนฺติโก
|
ผู้อดทน ชื่อว่าย่อมทำตามวจโนวาทของพระศาสดาทีเดียว
|
ปรมาย จ
ปูชาย
ชินํ ปูเชติ
ขนฺติโก.
|
ผู้อดทน
ชื่อว่าย่อมบูชาสมเด็จพระชินเจ้าด้วยการบูชาอย่างยิ่ง.
|
ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ
|
ความเป็นมนุษย์ก็หาได้ยาก
|
พุทฺธุปฺปาโท จ
ทุลฺลโภ
|
ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ก็หาได้ยาก
|
ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ
|
ความถึงพร้อมด้วยขณะสมัย ก็หาได้ยาก
|
สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภ
|
ธรรมของสัตบุรุษ หาได้ยากอย่างยิ่ง
|
สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท
|
ความเกิดขึ้น แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ให้เกิดสุข
|
สุขา สทฺธมฺมเทสนา
|
การแสดงสัทธรรม ให้เกิดสุข
|
สุขา สงฺฆสฺส
สามคฺคี
|
ความพร้อมเพรียงของหมู่ ให้เกิดสุข
|
สมคฺคานํ ตโป
สุโข
|
ความเพียรของผู้พร้อมเพรียงกัน ให้เกิดสุข
|
สุโข วิเวโก
ตุฏฺฐสฺส
สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต
|
ความสงัดของผู้ยินดี มีธรรมปรากฏแล้ว เห็นอยู่
ให้เกิดสุข
|
อพฺยาปชฺฌํ สุขํ
โลเก
ปาณภูเตสุ สญฺญโม
|
ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก
|
สุขา วิราคตา
โลเก
กามานํ สมติกฺกโม
|
ความปราศจากกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายในโลกเสียได้เป็นสุข
|
อสฺมิมานสฺส วินโย
|
ความนำอัสมิมานะให้หมดได้
|
เอตํ เว
ปรมํ สุขํ.
|
ข้อนี้แล เป็นสุขอย่างยิ่ง.
|
กิจฺโฉ
มนุสฺสปฏิลาโภ
|
ความกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก
|
กิจฺฉํ มจฺจาน
ชีวิตํ
|
ความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายอันสัตว์ได้โดยยาก
|
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
|
การที่ได้ฟังพระสัทธรรม เป็นการยาก
|
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.
|
ความเกิดขึ้น แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก.
|
อปฺปมาโท อมตํ
ปทํ
|
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย
|
ปมาโท มจฺจุโน
ปทํ
|
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
|
อปฺปมตฺตา น
มิยฺยนฺติ
|
ชนผู้ไม่ประมาทแล้วทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมไม่ตาย
|
เย ปมตฺตา
ยถา มตา
|
ผู้ซึ่งประมาทแล้ว ก็เหมือนคนตายแล้ว
|
เอตํ วิเสสโต
ญตฺวา
อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา
|
บัณฑิตทั้งหลาย ทราบความข้อนั้นโดยแผกกันแล้ว ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
|
อปฺปมาเท ปโมทนฺติ
|
ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท
|
อริยานํ โคจเร
รตา
|
ยินดีแล้วในธรรมเป็นโคจรของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
|
เต ฌายิโน
สาตติกา
นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา
นิพฺพานํ
โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ
|
บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์เหล่านั้น มีความเพ่งเพียรติดต่อกัน มีความบากบั่นมั่นเป็นนิจ ย่อมถูกต้องพระนิพพานอันเกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
|
สตฺถุโน สทฺธมฺมํ
สุตฺวา
สพฺพสฺมึ ชินสาสเน
|
บุคคลใด ได้สดับพระสัทธรรมของพระศาสดา ในพระศาสนาของสมเด็จพระชินเจ้าทั้งปวง
|
กปฺปานิ สตสหสฺสานิ
ทุคฺคตึ โส
น คจฺฉติ.
|
บุคคลนั้น ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ ตลอดแสนกัลป์.
|
ปุพฺพเณฺห ปิณฺฑปาตญฺจ
|
เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาตอย่าง
1
|
สายเณฺห ธมฺมเทสนํ
|
เวลาเย็นทรงแสดงธรรมอย่าง
1
|
ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ
|
เวลาย่ำค่ำ ประทานโอวาทแก่ภิกษุอย่าง 1
|
อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ
|
เวลาเที่ยงคืน ทรงพยากรณ์ปัญหาแก่เทวดาอย่าง 1
|
ปจฺจูเสว คเต
กาเล
ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ
|
เวลาย่ำรุ่ง
ทอดพระเนตรดูสัตวโลก ผู้ควรจะตรัสรู้และไม่ควรอย่าง
1
|
เอเต ปญฺจวิเธ
กิจฺเจ
วิโสเธติ มุนิปุงฺคโวติ.
|
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระมุนีประเสริฐ ย่อมทำกิจ 5 ประการ เหล่านี้ให้หมดจด ดังนี้แล.
|
กุกฺกุเฏ คพฺภวาโส
จ
|
อนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จสู่พระครรภ์ในปีระกา
|
โสเณ จูทรนิกฺขมิ
|
ประสูติจากพระคัพโภทรในปีจอ
|
อุสเภ ราชสมฺปตฺติ
|
เสวยราชสมบัติในปีฉลู
|
สเส ปพฺพชิโต
ชิโน
|
สมเด็จพระชินเจ้า ออกทรงผนวชในปีเถาะ
|
กุกฺกุเฏ สพฺพญฺญู
พุทฺโธ
|
พระสัพพัญญูตรัสรู้ในปีระกา
|
ตตฺถ จกฺกํ
ปวตฺตยิ
|
ทรงประกาศพระธรรมจักร ให้เป็นไปในปีนั้น
|
นิพฺพานคมนํ สปฺเป
|
เสด็จเข้าสู่พระนิพพานในปีมะเส็ง
|
สหสฺสํ ปญฺจ
มูสิเก
|
พระพุทธศาสนา จะครบ 5 พันปีถ้วน ในปีชวด
|
โอกฺกนฺโต จ
ครุวารสฺมึ
|
อนึ่ง สมเด็จพระชินศาสดา เสด็จสู่พระครรภ์ในวันพฤหัสบดี
|
สุกฺรวาเร จ
นิกฺขมิ
|
ประสูติในวันศุกร์
|
สมฺพุทฺโธ พุธวารสฺมึ
|
ตรัสรู้ในวันพุธ
|
องฺคาเร ปรินิพฺพุโต
|
ปรินิพพานในวันอังคาร
|
อาสาฬฺหปุณฺณโมกฺกนฺโต
|
เสด็จลงสู่พระคัพโภทรในวันเพ็ญ เดือนอาสาฬหมาส (เดือน 8)
|
วิสาขเยว นิกฺขมิ
|
ประสูติในวันเพ็ญเดือนวิสาขมาส
|
วิสาขปุณฺณมีสมฺพุทฺโธ
|
ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือนวิสาขมาส (เดือน 6)
|
วิสาเข ปรินิพฺพุโต.
|
ปรินิพพานในวันเพ็ญเดือนวิสาขมาส.
|
นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ
สมฺพุทฺเธ อคฺคปุคฺคเล
|
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นอัครบุคคล ผู้เป็นนาถะแห่งโลก ปรินิพพานแล้ว
|
ปฏิมา โพธิรุกฺขา จ
|
พระปฏิมา
1 โพธิพฤกษ์ 1
|
ถูปา จ
ชินธาตุโย
|
พระสตูป
1 พระธาตุแห่งพระชินเจ้า
1
|
จตุราสีติสหสฺส-
ธมฺมกฺขนฺธา สุเทสิตา
|
พระธรรม
8 หมื่น 4 พัน พระธรรมขันธ์ ที่พระองค์ทรงแสดงดีแล้ว 1
|
อคฺคปฺปวตฺตนฏฺฐาเน
ฐปิตา โหนฺติ
ปาณินํ.
|
เป็นของอันท่านตั้งไว้ในฐานะอันเป็นไปเพื่อความเป็นบุญเขตอันเลิศ ของสัตว์ทั้งหลาย.
|
มูสิโก อุสโภ
พฺยคฺโฆ
|
ชวด 1 ฉลู 1 ขาล 1
|
สโส นาโค
จ สปฺปโก
|
เถาะ 1 มะโรง 1 มะเส็ง 1
|
อสฺเสฬโก กปิ
เจว
|
มะเมีย 1 มะแม 1 วอก 1
|
กุกฺกุโฏ โสณสูกโร
|
ระกา 1 จอ 1 กุน 1
|
จิตฺรวิสาขเชฏฺเฐ จ
|
จิตรมาส 1 วิสาขมาส 1 เชฏฐมาส
1
|
อาสาเฬฺห สาวเณ
ตถา
|
อาสาฬหมาส
1 สาวณมาส 1
|
โปฏฺฐปเท อสฺสยุเช
|
โปฏฐปทมาส
1 อัสสยุชมาส 1
|
กตฺติเก มิคสิเร
ตถา
|
กัตติกมาส
1 มิคสิรมาส 1
|
ปุสฺเส มาเฆ
ผคฺคุเณ จ
|
ปุสสมาส
1 มาฆมาส 1 ผัคคุณมาส
1
|
โลกํ ปาเลนฺติ
ธมฺมตา.
|
เป็นธรรมดาเลี้ยงโลก.
|
รวิ จนฺโท
จ ภุมฺโม จ
|
วันอาทิตย์
1 วันจันทร์ 1 วันอังคาร
1
|
วุโธ จ
คุรุนา สห
|
วันพุธ
1 วันพฤหัสบดี 1
|
สุโกฺร โสโรติเม
สตฺต
คหา วาราภิธานิยา.
|
วันศุกร์
1 วันเสาร์ 1 รวมพระเคราะห์ทั้ง 7 เหล่านี้ เป็นชื่อแห่งวัน.
|
อสฺสยุโช ภรณิตฺถี
|
ดาวฤกษ์ชื่ออัสสยุชะ
1 ชื่อภรณี 1
|
สกตฺติกา โรหิณี
เจว
|
ชื่อกัตติกา
1 ชื่อโรหิณี 1
|
มิคสิรมทฺทา จ
ปุนพฺพสุ
|
ชื่อมิคสิระ
1 ชื่ออัททา 1 ชื่อปุนัพพสุ
1
|
ผุสฺโส จาสิเลสาปิ
|
ชื่อผุสสะ
1 ชื่ออสิเลสะ 1
|
มฆา จ
ผคฺคุณี เทฺว จ
|
ชื่อมฆะ
1 ชื่อผัคคุณีทั้ง 2 (คือ ปุพพผัคคุณี 1 อุตตรผัคคุณี 1)
|
หตฺโถ จิตฺตา
จ สาติปิ
|
ชื่อหัตถะ 1 ชื่อจิตตะ 1 ชื่อสาติ 1
|
วิสาขานุราธา เชฏฺฐา
|
ชื่อวิสาขะ
1 ชื่ออนุราธะ 1 ชื่อเชษฐะ
1
|
มูลาสาฬฺหา ทุเว
ตถา
|
ชื่อมูละ
1 ชื่ออาสาฬหะทั้ง 2 (คือ ปุพพาสาฬหะ
1 อุตตราสาฬหะ 1)
|
สาวโณ จ
ธนิฏฺฐา จ
|
ชื่อสาวณะ
1 ชื่อธนิฏฐะ 1
|
สตภิสโช ปุพฺพุตฺตรภทฺทปทา
|
ชื่อสตภิสชะ
1 ชื่อภัททปทะทั้ง 2 (คือ ปุพพภัททปทะ 1 อุตตรภัททปทะ
1)
|
เรวตฺยปีติ กมโต
สตฺตาธิกวีสนกฺขตฺตา
|
ชื่อเรวติ
1 รวมเป็นดาว 27 ฤกษ์ โดยลำดับ.
|
อิติ
สมฺมาสมฺพุทฺเธน เทสิตํ
โอวาทํ จิตฺเต
ฐเปตฺวา
สมฺมาสมฺพุทฺเธน วุตฺตปฺกาเรน
ปฏิปตฺติปูชาย ปูชํ
กโรนฺเตน
โลกิยโลกุตฺตรสมฺปตฺติสิทฺธํ
กาตพฺตํ อุกาส
อาราธนํ กโรมิ.
|
บุคคลตั้งโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไว้ในจิต
แล้วทำการบูชาด้วยปฏิบัติบูชาตามประการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว พึงกระทำความสำเร็จ สมบัติ
อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ
ข้าพเจ้าขอโอกาสเชื้อเชิญไว้ด้วยประการอย่างนี้.
|
อุกาส สิริสกฺยมุนิสพฺพญฺญู-
พุทฺธสฺส พลวปจฺจูสสมเย
กุสินาราย ยมกสาลานมนฺตเร
อมุมฺหิ สปฺปสํวจฺฉเร คิมฺห-
อุตุมฺหิ วิสาขมาเส
สุกฺกปกฺเข
ปณฺณรสมิยา ติถิยํ
ภุมฺมวาเร
ภุมฺมยาเม อนุราธนกฺขตฺต-
ทิวเส ปรินิพฺพานํ อโหสิ
อนุปาทิเสสา นิพฺพานธาตุโย
|
ข้าพเจ้าขอโอกาสสมเด็จพระศรีศากยมุนีสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้า ได้เสด็จปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ที่ระหว่างไม้รังคู่
ใกล้เมืองกุสินารา
เวลาใกล้รุ่งในวันแห่งดาวนักษัตรฤกษ์ ชื่ออนุราธะ ในภุมมยาม
ตรงกับวันอังคาร
ดิถีเพ็ญข้างขึ้นเดือน 6 คิมหฤดู ปีมะเส็งโน้น.
|
สาธุ เคยฟัง ที่ไม่แปล ไมม่รู้ความ เพิ่มแต่ศรัทธา
ตอบลบฟังแปลรู้ความ แม้ยังปฏิบัติไม่ได้ หรือ ได้น้อย ในบางข้อ ก็ได้ตระหนักสำรวมระวังให้มากขึ้น ทำความเพียรมากขึ้น... บทว่าด้วยประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้พยายามพิสูจน์เพิ่มผศรัทธา ว่าเป็นจริง น่าเลื่อมใสจริง..... จักได้อ่านและปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น... สาธุ สาธุ สาธุ