1. พยัญชนะที่ไม่มีสระใดประกอบ
ให้อ่านออกเสียงเหมือนมี สระอะ ประกอบ
ภควโต
-> ภะ-คะ-วะ-โต
อิธ
ตถาคโต -> อิ-ธะ ตะ-ถา-คะ-โต
อเนกสตโกฏโย
-> อะ-เน-กะ-สะ-ตะ-โก-ฏะ-โย
2. พยัญชนะที่มีพินทุ (จุด)
อยู่ข้างใต้ เมื่อตามหลังพยัญชนะต้น ให้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด
2.1 กรณีตามหลังพยัญชนะต้นที่ไม่มีสระ พยัญชนะต้นที่ไม่มีสระนั้น
คือเสียงสระอะ เวลาออกเสียงรวมกับพยัญชนะที่มีพินทุซึ่งเป็นตัวสะกด
จะอ่านออกเสียงเหมือนมี ไม้หันอากาศ
+ ตัวสะกด
สพฺเพ -> สัพ-เพ
ตมฺปิ -> ตัม-ปิ
อนตฺตา -> อะ-นัต-ตา
2.2 กรณีตามหลังพยัญชนะต้นที่มีสระ พยัญชนะที่มีพินทุ
จะทำหน้าที่เป็นตัวสะกดของพยัญชนะต้น และสระนั้น
พุทฺโธ -> พุท-โธ
จิตฺตานิ -> จิต-ตา-นิ
โสตฺถี -> โสต-ถี
3. พยัญชนะที่มีนิคหิต
(วงกลมเล็ก) อยู่ข้างบน ให้อ่านออกเสียงนาสิกเหมือนมี
-ง เป็นตัวสะกด (สะกดด้วยแม่กง)
3.1 กรณีพยัญชนะที่ไม่มีสระ พยัญชนะที่ไม่มีสระนั้น
คือเสียงสระอะ เมื่อพยัญชนะนั้น มีนิคหิตอยู่ข้างบน
จึงอ่านออกเสียงเหมือนมี ไม้หันอากาศ
+ -ง สะกด
ชาตํ -> ชา-ตัง
สรณํ วรํ ->
สะ-ระ-ณัง วะ-รัง
3.2 กรณีพยัญชนะที่มีสระ เมื่อพยัญชนะนั้น
มีนิคหิตอยู่ข้างบน ให้ออกเสียงพยัญชนะ และสระนั้น
เหมือนมี -ง เป็นตัวสะกด
สตึ -> สะ-ติง
ปตฺตุํ -> ปัต-ตุง
ทั้งนี้ นิคหิต จัดเป็นพยัญชนะตัวหนึ่งในภาษาบาลี
ใช้ประกอบกับสระเสียงสั้น 3 ตัว
คือ อะ อิ อุ เป็น
อํ อึ อุํ (ออกเสียงนาสิกเป็น อัง อิง อุง)
4. คำที่สะกดด้วย เ-ยฺ , อิยฺ
4.1 คำที่สะกดด้วย
เ-ยฺ นิยมออกเสียงเป็น
ไ-ย (ภาษาบาลี ไม่มีสระเออ
เวลาออกเสียงคำนี้ จึงไม่ได้ออกเสียง
เอย อย่างในภาษาไทย ภาษาบาลีคำที่สะกดด้วย
เ-ยฺ คือ สระเอ + ตัวสะกด ยฺ ซึ่งออกเสียงยาก
จึงนิยมออกเสียงเป็น ไ-ย)
อาหุเนยฺโย -> อา-หุ-ไนย-โย
เสยฺยถีทํ -> ไสย-ยะ-ถี-ทัง
4.2 คำที่สะกดด้วย
อิยฺ ออกเสียงเป็น
อีย
นิยฺยานิโก -> นีย-ยา-นิ-โก
5. อักษร ฑ ให้ออกเสียงเป็น ด
ปณฺฑิโต
-> ปัณ-ดิ-โต
6. อักษร ห + สระ อี นิยมอ่านว่า ฮี
หีโน
-> ฮี-โน
7. การอ่านคำที่เป็นเสียงกึ่งมาตรา
/ เสียงควบกล้ำ
7.1 พยัญชนะต้นซึ่งมีพินทุ (จุด) อยู่ข้างใต้ เมื่อตามด้วยพยัญชนะ
ย ร ล
ว เวลาอ่านออกเสียง จะออกเสียงพยัญชนะต้นนั้น
เป็นเสียงกึ่งมาตรา ควบกล้ำกับพยัญชนะ
ย ร ล
ว ซึ่งอยู่ติดกัน
พฺยญฺชนํ -> พะ-ยัญ-ชะ-นัง
(ออกเสียง พะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ พะ-ยัญ)
ทฺวิ -> ทะ-วิ
(ออกเสียง ทะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ ทะ-วิ)
เทฺวเม -> ทะ-เว-เม
(ออกเสียง ทะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ ทะ-เว)
ตฺวํ -> ตะ-วัง
(ออกเสียง ตะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ ตะ-วัง)
สฺวากขาโต -> สะ-วาก-ขา-โต
/ สะ-หวาก-ขา-โต (ออกเสียง
สะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ สะ-วาก / สะ-หวาก)
พฺรูติ -> พะ-รู-ติ
(ออกเสียง พะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ พะ-รู)
ปฺลวติ -> ปะ-ละ-วะ-ติ
(ออกเสียง ปะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ ปะ-ละ)
สพฺพเกฺลเสหิ -> สัพ-พะ-กะ-เล-เส-หิ (กฺ เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ที่สาม) (ออกเสียง กะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ กะ-เล)
อินฺทฺริยํ -> อิน-ทะ-ริ-ยัง
(ทฺ เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ที่สอง) (ออกเสียง ทะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ ทะ-ริ)
7.2 พยัญชนะที่มีพินทุ
(จุด) อยู่ข้างใต้ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสะกด
เมื่อตามด้วยพยัญชนะ ย
ร ล ว
จะออกเสียงเป็นทั้งตัวสะกดของพยางค์แรก และออกเสียงกึ่งมาตรา
ควบกล้ำกับพยัญชนะ ย
ร ล ว
ซึ่งอยู่ติดกัน ในพยางค์ถัดไป
อพฺยากตา -> อัพ-พะ-ยา-กะ-ตา
(ออกเสียง
พะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ พะ-ยา)
สกฺยมุนี -> สัก-กะ-ยะ-มุ-นี
(ออกเสียง
กะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ กะ-ยะ)
กลฺยาโณ -> กัล-ละ-ยา-โณ
(ออกเสียง
ละ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ ละ-ยา)
ภทฺรานิ -> ภัท-ทะ-รา-นิ
(ออกเสียง ทะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ ทะ-รา)
อญฺญตฺร -> อัญ-ญัต-ตะ-ระ
(ออกเสียง ตะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ ตะ-ระ)
กตฺวา -> กัต-ตะ-วา
(ออกเสียง ตะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ ตะ-วา)
สุตฺวา -> สุต-ตะ-วา
(ออกเสียง ตะ กึ่งมาตรา, ควบกล้ำ ตะ-วา)
ทั้งนี้ กรณี สะกดด้วย ยฺ ตามด้วย ย และสะกดด้วย
ลฺ ตามด้วย ล ให้ออกเสียงเป็นตัวสะกดอย่างเดียว
ไม่ต้องออกเสียงกึ่งมาตรา เช่น
เสยฺยํ อ่านว่า ไสย-ยัง, กลฺลํ อ่านว่า
กัล-ลัง
7.3 เมื่อสะกดด้วย
สฺ และตามด้วยพยัญชนะอื่น จะออกเสียงเป็นทั้งตัวสะกดของพยางค์แรก
และออกเสียง ส กึ่งมาตรา
ควบกล้ำกับพยัญชนะตามในพยางค์ถัดไป
ตสฺมา -> ตัส-สะ-มา
/ ตัส-สะ-หมา (ออกเสียง
สะ กึ่งมาตรา)
ตสฺมิง -> ตัส-สะ-มิง
/ ตัส-สะ-หมิง (ออกเสียง
สะ กึ่งมาตรา)
ทิสฺวา -> ทิส-สะ-วา
/ ทิส-สะ-หวา (ออกเสียง
สะ กึ่งมาตรา)
ทั้งนี้ กรณี สะกดด้วย สฺ ตามด้วย ส
ให้ออกเสียงเป็นตัวสะกดอย่างเดียว ไม่ต้องออกเสียงกึ่งมาตรา เช่น ตสฺส อ่านว่า ตัส-สะ
อนึ่ง ภาษาบาลี ไม่มีวรรณยุกต์ (เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ) การออกเสียงคำ/พยางค์
เป็นเสียงสูง กลาง หรือต่ำ ไม่ได้ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป
การจะใช้ระดับเสียงอย่างไร ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและอารมณ์ขณะพูด
เช่น ตสฺมา สามารถออกเสียงได้ทั้ง ตัส-สะ-มา,
ตัส-สะ-ม๊า, ตัส-สะ-หมา
7.4 การอ่านคำ พฺรหฺม
, พฺราหฺมณ
พฺรหฺม อ่านว่า พรัม-มะ
(ออกเสียงควบกล้ำ)
พฺราหฺมณ อ่านว่า พราม-มะ-ณะ
(ออกเสียงควบกล้ำ)
พฺรหฺมจริยํ -> พรัม-มะ-จะ-ริ-ยัง
พฺรหฺมุโน -> พรัม-มุ-โน
พฺราหฺมณา -> พราม-มะ-ณา
ทั้งนี้
ในหนังสือสวดมนต์ที่เป็นคำอ่านภาษาไทย จะใช้เครื่องหมายยามักการ ซึ่งมีลักษณะคล้ายเลข 3
กลับด้าน เติมเหนือพยัญชนะเพื่อแสดงการออกเสียงกึ่งมาตรา
/ ควบกล้ำ เช่น กัต๎วา
(กตฺวา), ตัส๎มา (ตสฺมา)
เขียนสรุปโดย ting074ch
เขียนสรุปโดย ting074ch
อ้างอิง :
- หลักการอ่านออกเสียงบาลี โดยย่อ โพสท์ในลานธรรมเสวนาโดย ภิกษุ เมื่อ 27 ก.ค. 44
เว็บไซต์ http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-19.htm
- หลักการอ่านภาษาบาลี โดย อาจารย์เตี้ย เมื่อ 10 ม.ค. 52 เว็บไซต์ http://palungjit.org
- ระบบการออกเสียงภาษาบาลี เว็บไซต์
https://th.wikipedia.org/
- หนังสือบททำวัตร-สวดมนต์ (แปล) รวบรวมโดย แก้ว ชิดตะขบ
จัดพิมพ์โดย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2553
- ขอถามเรื่องการอ่านภาษาบาลีครับ ตอบโดย ปาลกะ
เมื่อ 7 ส.ค. 52 เว็บไซต์
http://www.palidict.com/node/485
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น