บทสวดมนต์ คิริมานันทสูตร (บาลี พร้อมคำแปล)


บทสวดมนต์  คิริมานันทสูตร  จากหนังสือสวดมนต์แปล  ฉบับรวบรวมและแปลโดย  พระศาสนโศภน  (แจ่ม  จตฺตสลฺโล)  วัดมกุฏกษัตริยาราม   ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ  (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533)  (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)


สามารถดาวน์โหลด Ebook  ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล  และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล  มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ  ได้ที่  Link  :

https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing

https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books


สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์  (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ  โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ)  และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท  ได้ที่ ting074ch Youtube Channel  ที่ Link  :

https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw


คิริมานันทสูตร 
(หน้า 260)
      เอวมฺเม   สุตํ  
อันข้าพเจ้า  (คือ พระอานนทเถระ)  ได้สดับมาแล้วอย่างนี้
เอกํ   สมยํ   ภควา  
สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้า
สาวตฺถิยํ   วิหรติ   เชตวเน  
อนาถปิณฺฑิกสฺส   อาราเม  
เสด็จประทับในพระวิหารเชตวัน  อันเป็นอารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดีสร้างถวายใกล้เมืองสาวัตถี
เตน   โข   ปน   สมเยน 
ก็โดยสมัยนั้นแล
อายสฺมา   คิริมานนฺโท 
พระคิริมานนท์ผู้มีอายุ
อาพาธิโก   โหติ 
เป็นผู้อาพาธ
ทุกฺขิโต   พาฬฺหคิลาโน 
ประกอบด้วยทุกขเวทนาเป็นไข้หนัก
อถ   โข   อายสฺมา   อานนฺโท 
ครั้งนั้นแล   พระอานนท์ผู้มีอายุ
เยน   ภควา   เตนุปสงฺกมิ 
ได้เข้าไปเฝ้าโดยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่
อุปสงฺกมิตฺวา 
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว
ภควนฺตํ   อภิวาเทตฺวา 
จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
เอกมนฺตํ   นิสีทิ 
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เอกมนฺตํ   นิสินฺโน   โข 
อายสฺมา   อานนฺโท 
เมื่อพระอานนท์นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ภควนฺตํ   เอตทโวจ 
จึงกราบทูลคำนี้   กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
อายสฺมา   ภนฺเต   คิริมานนฺโท 
พระเจ้าข้า   พระคิริมานนท์ผู้มีอายุ
อาพาธิโก   ทุกฺขิโต 
อาพาธ   ประกอบด้วยทุกขเวทนา
พาฬฺหคิลาโน 
เป็นไข้หนัก
สาธุ   ภนฺเต   ภควา 
พระเจ้าข้า   ดีแล้วขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
เยนายสฺมา   คิริมานนฺโท 
เตนุปสงฺกมตุ 
เสด็จเข้าไปใกล้   โดยที่พระคิริมานนท์อยู่
อนุกมฺปํ   อุปาทายาติ 
เพื่อได้ทรงอนุเคราะห์
สเจ   โข   ตฺวํ   อานนฺท 
พระผู้มีพระภาคเจ้า   จึงตรัสว่า   อานนท์   ถ้าท่านแล
คิริมานนฺทสฺส   ภิกฺขุโน 
อุปสงฺกมิตฺวา 
พึงเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์แล้ว
ทส   สญฺญา   ภาเสยฺยาสิ 
แสดงสัญญา 10
ฐานํ   โข   ปเนตํ   วิชฺชติ   ยํ 
คิริมานนฺทสฺส   ภิกฺขุโน   ทส 
สญฺญา   สุตฺวา   โส   อาพาโธ 
ฐานโส   ปฏิปฺปสฺสมฺเภยฺย. 
ข้อนี้เป็นเหตุให้อาพาธนั้น   ของภิกษุคิริมานนท์ระงับไปโดยฐานะเพราะฟังสัญญา 10
กตมา   ทส 
สัญญา 10  เป็นอย่างไร
อนิจฺจสญฺญา 
ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง
อนตฺตสญฺญา
ความกำหนดหมายว่าไม่ใช่ตน
อสุภสญฺญา
ความกำหนดหมายว่าไม่งาม
อาทีนวสญฺญา
ความกำหนดหมายว่าเป็นโทษ
ปหานสญฺญา
ความกำหนดหมายในการละ
วิราคสญฺญา
ความกำหนดหมายในธรรมอันปราศจากราคะ
นิโรธสญฺญา
ความกำหนดหมายในธรรมเป็นที่ดับ
สพฺพโลเก   อนภิรตสญฺญา
ความกำหนดหมายในความไม่ยินดีในโลกทั้งปวง
สพฺพสงฺขาเรสุ   อนิจฺจสญฺญา
ความกำหนดหมายโดยความไม่ปรารถนาในสังขารทั้งปวง
อานาปานสฺสติ 
สติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์
      1  กตมา   จานนฺท   อนิจฺจสญฺญา
ดูก่อนอานนท์   อนิจจสัญญาเป็นอย่างไร
อิธานนฺท   ภิกฺขุ 
ดูก่อนอานนท์   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อรญฺญคโต   วา 
ไปในป่าก็ดี
รุกฺขมูลคโต   วา 
ไปที่โคนไม้ก็ดี
สุญฺญาคารคโต   วา 
ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี
อิติ   ปฏิสญฺจิกฺขติ 
เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
รูปํ   อนิจฺจํ 
รูปไม่เที่ยง
เวทนา   อนิจฺจา
เวทนาไม่เที่ยง
สญฺญา   อนิจฺจา 
สัญญาไม่เที่ยง
สงฺขารา  อนิจฺจา
สังขารไม่เที่ยง
วิญฺญาณํ   อนิจฺจนฺติ 
วิญญาณไม่เที่ยง
อิติ   อิเมสุ   ปญฺจสุ   อุปาทานกฺ-
ขนฺเธสุ   อนิจฺจานุปสฺสี   วิหรติ 
เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ  โดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ทั้ง  5  นี้อย่างนี้
อยํ   วุจฺจตานนฺท   อนิจฺจสญฺญา 
ดูก่อนอานนท์   อันนี้เรา  (ผู้ตถาคต)  กล่าวว่าอนิจจสัญญา
      2  กตมา   จานนฺท   อนตฺตสญฺญา
ดูก่อนอานนท์   อนัตตสัญญาเป็นอย่างไร
อิธานนฺท   ภิกฺขุ 
ดูก่อนอานนท์   ภิกขุในธรรมวินัยนี้
อรญฺญคโต   วา 
ไปในป่าก็ดี
รุกฺขมูลคโต   วา 
ไปที่โคนไม้ก็ดี
สุญฺญาคารคโต   วา 
ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี
อิติ   ปฏิสญฺจิกฺขติ 
เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
จกฺขุ   อนตฺตา 
นัยน์ตาไม่ใช่ตัวตน
รูปา   อนตฺตา
รูปไม่ใช่ตัวตน
โสตํ   อนตฺตา
หูไม่ใช่ตัวตน
สทฺทา   อนตฺตา
เสียงไม่ใช่ตัวตน
ฆานํ   อนตฺตา
จมูกไม่ใช่ตัวตน
คนฺธา   อนตฺตา
กลิ่นไม่ใช่ตัวตน
ชิวฺหา   อนตฺตา
ลิ้นไม่ใช่ตัวตน
รสา   อนตฺตา
รสไม่ใช่ตัวตน
กาโย   อนตฺตา
กายไม่ใช่ตัวตน
โผฏฺฐพฺพา   อนตฺตา
สิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย   ไม่ใช่ตัวตน
มโน   อนตฺตา
มนะ  (ใจ)   ไม่ใช่ตัวตน
ธมฺมา   อนตฺตาติ 
ธรรมารมณ์ไม่ใช่ตัวตน
อิติ   อิเมสุ   ฉสุ   อชฺฌตฺติก-
พาหิเรสุ   อายตเนสุ   อตฺตา-
นุปสฺสี   วิหรติ
เธอย่อมพิจารณาเนือง ๆ   โดยความเป็นของไม่ใช่ตัวตน   ในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอก  6  นี้อย่างนี้
อยํ   วุจฺจตานนฺท   อนตฺตสญฺญา 
ดูก่อนอานนท์   อันนี้เรา  (ผู้ตถาคต)  กล่าวว่าอนัตตสัญญา
      3  กตมา   จานนฺท   อสุภสญฺญา
ดูก่อนอานนท์   อสุภสัญญาเป็นอย่างไร
อิธานนฺท   ภิกฺขุ 
ดูก่อนอานนท์   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อิมเมว   กายํ   อุทฺธํ   ปาทตลา 
อโธ   เกสมตฺถกา   ตจปริยนฺตํ 
ปูรนฺนานปฺปการสฺส   อสุจิโน 
ปจฺจเวกฺขติ 
เธอย่อมพิจารณากายนี้นี่แหละ   เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป   เบื้องล่างแต่ปลายผมลงมา   มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ   เต็มไปด้วยของ
ไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ
อตฺถิ   อิมสฺมึ   กาเย 
มีอยู่ในกายนี้
เกสา   โลมา   นขา 
ผม   ขน   เล็บ
ทนฺตา   ตโจ 
ฟัน   หนัง
มํสํ   นหารู 
เนื้อ   เอ็น
อฏฺฐี   อฏฺฐิมิญฺชํ
กระดูก   เยื่อในกระดูก
วกฺกํ   หทยํ   ยกนํ 
ม้าม   หัวใจ   ตับ
กิโลมกํ   ปิหกํ   ปปฺผาสํ 
พังผืด   ไต   ปอด
อนฺตํ   อนฺตคุณํ 
ไส้ใหญ่   ไส้น้อย
อุทริยํ   กรีสํ 
อาหารใหม่   อาหารเก่า
ปิตฺตํ   เสมฺหํ   ปุพฺโพ 
น้ำดี   เสลด   น้ำเหลือง
โลหิตํ   เสโท   เมโท 
เลือด   เหงื่อ   มันข้น
อสฺสุ   วสา   เขโฬ  
น้ำตา   มันเหลว   น้ำลาย
สิงฺฆาณิกา   ลสิกา   มุตฺตนฺติ 
น้ำมูก   ไขข้อ   มูตร
อิติ   อิมสฺมึ   กาเย   อสุภานุปสฺสี   วิหรติ 
เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ  โดยความไม่งามแห่งกายนี้  อย่างนี้
อยํ   วุจฺจตานนฺท   อสุภสญฺญา 
ดูก่อนอานนท์   อันนี้เรา  (ผู้ตถาคต)  กล่าวว่าอสุภสัญญา
      4  กตมา   จานนฺท   อาทีนวสญฺญา
ดูก่อนอานนท์   อาทีนวสัญญาเป็นอย่างไร
อิธานนฺท   ภิกฺขุ 
ดูก่อนอานนท์   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อรญฺญคโต   วา 
ไปในป่าก็ดี
รุกฺขมูลคโต   วา 
ไปที่โคนไม้ก็ดี
สุญฺญาคารคโต   วา 
ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี
อิติ   ปฏิสญฺจิกฺขติ 
เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
พหุทุกฺโข   โข   อยํ   กาโย 
พหุอาทีนโวติ 
กายอันนี้แหละ   มีทุกข์มาก   มีโทษมาก
อิติ   อิมสฺมึ   กาเย   วิวิธา 
อาพาธา   อุปฺปชฺชนฺติ 
เหล่าอาพาธ  (ความเจ็บไข้)  ต่าง ๆ   ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้อย่างนี้
เสยฺยถีทํ 
อาพาธเหล่านั้น   คืออะไรบ้าง
จกฺขุโรโค   โสตโรโค
คือโรคในตา   โรคในหู
ฆานโรโค 
โรคในจมูก
ชิวฺหาโรโค   กายโรโค
โรคในลิ้น   โรคในกาย
สีสโรโค 
โรคในศีรษะ
กณฺณโรโค   มุขโรโค 
โรคในหู   โรคในปาก
ทนฺตโรโค 
โรคที่ฟัน
กาโส   สาโส   ปินาโส 
ไอ   หืด   หวัด
ฑโห   ชโร   กุจฺฉิโรโค 
ไข้พิษ   ไข้เชื่อมมัว   โรคในท้อง
มุจฺฉา   ปกฺขนฺทิกา   สุลา 
ลมจับ  (สลบ  อ่อนหวิว  สวิงสวาย)   โรคบิด  (ลงท้อง)   จุกเสียด  (ปวดท้อง)
วิสูจิกา   กุฏฺฐํ   คณฺโฑ 
โรคลงราก   โรคเรื้อน   ฝี
กิลาโส  โสโส   อปมาโร 
โรคกลาก   มองคร่อ   ลมบ้าหมู
ทนฺทุ   กณฺฑุ   กจฺฉุ 
หิดเปื่อย   หิดด้าน   คุดทะราด   หูด
รขสา   วิตจฺฉิกา   โลหิตํ 
ละลอก   คุดทะราดบอน   อาเจียนโลหิต
ปิตฺตํ   มธุเมโห   อํสา 
โรคดีพิการ   โรคเบาหวาน   ริดสีดวง
ปิฬกา   ภคณฺฑลา 
พุพอง   ริดสีดวงลำไส้
ปิตฺตสมุฏฺฐานา   อาพาธา 
ความเจ็บเกิดแต่ดีให้โทษ
เสมฺหสมุฏฺฐานา   อาพาธา 
ความเจ็บเกิดแต่เสมหะให้โทษ
วาตสมุฏฺฐานา   อาพาธา 
ความเจ็บเกิดแต่ลมให้โทษ
สนฺนิปาตกา   อาพาธา 
ไข้สันนิบาต  (คือความเจ็บเกิดแต่  ดี  เสมหะ  และลม  ทั้ง  3  เจือกัน)  ให้โทษ
อุตุปริณามชา   อาพาธา 
ความเจ็บเกิดแต่ฤดูแปรปรวน
วิสมปริหารชา   อาพาธา 
ความเจ็บเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่เสมอ
โอปกฺกมิกา   อาพาธา 
ความเจ็บเกิดแต่ความเพียร
กมฺมวิปากชา   อาพาธา 
ความเจ็บเกิดแต่วิบากของกรรม
สีตํ   อุณฺหํ 
เย็น   ร้อน
ชิฆจฺฉา   ปิปาสา 
หิวข้าว   กระหายน้ำ
อุจฺจาโร   ปสฺสาโวติ 
อุจจาระ   ปัสสาวะ
อิติ   อิมสฺมึ   กาเย  
อาทีนวานุปสฺสี   วิหรติ 
เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ  โดยความเป็นโทษในกายนี้อย่างนี้
อยํ   วุจฺจตานนฺท   อาทีนวสญฺญา 
ดูก่อนอานนท์   อันนี้เรา  (ผู้ตถาคต)  กล่าวว่าอาทีนวสัญญา
      5  กตมา   จานนฺท   ปหานสญฺญา
ดูก่อนอานนท์   ปหานสัญญาเป็นอย่างไร
อิธานนฺท   ภิกฺขุ 
ดูก่อนอานนท์   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อุปฺปนฺนํ   กามวิตกฺกํ  
นาธิวาเสติ   ปชหติ   วิโนเทติ 
พฺยนฺตีกโรติ   อนภาวํ   คเมติ 
เธอย่อมไม่รับ   ย่อมละเสีย   ย่อมบรรเทา   ย่อมทำให้พินาศ   ย่อมทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป   ซึ่งกามวิตก  (ความตรึกในกามารมณ์)  ที่เกิดขึ้นแล้ว
อุปฺปนฺนํ   พฺยาปาทวิตกฺกํ  
นาธิวาเสติ   ปชหติ   วิโนเทติ 
พฺยนฺตีกโรติ   อนภาวํ   คเมติ 
เธอย่อมไม่รับ   ย่อมละเสีย   ย่อมบรรเทา   ย่อมทำให้พินาศ   ย่อมทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป   ซึ่งพยาบาทวิตก  (ความตรึกในการแช่งสัตว์ให้ถึงความพินาศ)   ที่เกิดขึ้นแล้ว
อุปฺปนฺนํ   วิหึสาวิตกฺกํ  
นาธิวาเสติ   ปชหติ   วิโนเทติ 
พฺยนฺตีกโรติ   อนภาวํ   คเมติ 
เธอย่อมไม่รับ   ย่อมละเสีย   ย่อมบรรเทา   ย่อมทำให้พินาศ   ย่อมทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป   ซึ่งวิหิงสาวิตก  (ความตรึกในการเบียดเบียนสัตว์)   ที่เกิดขึ้นแล้ว
อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน   ปาปเก 
อกุสเล   ธมฺเม   นาธิวาเสติ 
ปชหติ   วิโนเทติ  พฺยนฺตีกโรติ 
อนภาวํ   คเมติ 
เธอย่อมไม่รับ   ย่อมละเสีย   ย่อมบรรเทา   ย่อมทำให้พินาศ   ย่อมทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป   ซึ่งเหล่าธรรมอันเป็นบาป   เป็นอกุศล   ที่เกิดขึ้นแล้ว   และเกิดขึ้นแล้ว
อยํ   วุจฺจตานนฺท   ปหานสญฺญา 
ดูก่อนอานนท์   อันนี้เรา  (ผู้ตถาคต)  กล่าวว่าปหานสัญญา
      6  กตมา   จานนฺท   วิราคสญฺญา
ดูก่อนอานนท์   วิราคสัญญาเป็นอย่างไร
อิธานนฺท   ภิกฺขุ 
ดูก่อนอานนท์   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อรญฺญคโต   วา 
ไปในป่าก็ดี
รุกฺขมูลคโต   วา 
ไปที่โคนไม้ก็ดี
สุญฺญาคารคโต   วา 
ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี
อิติ   ปฏิสญฺจิกฺขติ 
เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
เอตํ   สนฺตํ 
ธรรมชาตนั่นละเอียด
เอตํ   ปณีตํ 
ธรรมชาตนั่นประณีต
ยทิทํ 
คือว่า
สพฺพสงฺขารสมโถ 
ธรรมเป็นเครื่องระงับสังขารทั้งปวง
สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค 
เป็นเครื่องละกิเลสทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย 
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
วิราโค  
เป็นเครื่องสำรอกกิเลส
นิพฺพานนฺติ 
ออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด
อยํ   วุจฺจตานนฺท   วิราคสญฺญา 
ดูก่อนอานนท์   อันนี้เรา  (ผู้ตถาคต)  กล่าวว่าวิราคสัญญา
      7  กตมา   จานนฺท   นิโรธสญฺญา
ดูก่อนอานนท์   นิโรธสัญญาเป็นอย่างไร
อิธานนฺท   ภิกฺขุ  
ดูก่อนอานนท์   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อรญฺญคโต   วา 
ไปในป่าก็ดี
รุกฺขมูลคโต   วา 
ไปที่โคนไม้ก็ดี
สุญฺญาคารคโต   วา 
ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี
อิติ   ปฏิสญฺจิกฺขติ 
เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
เอตํ   สนฺตํ 
ธรรมชาตนั่นละเอียด
เอตํ   ปณีตํ 
ธรรมชาตนั่นประณีต
ยทิทํ 
คือว่า
สพฺพสงฺขารสมโถ 
ธรรมเป็นเครื่องระงับสังขารทั้งปวง
สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค 
เป็นเครื่องละกิเลสทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย   นิโรโธ
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา   เป็นที่ดับสนิท
นิพฺพานนฺติ 
ออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด
อยํ   วุจฺจตานนฺท   นิโรธสญฺญา 
ดูก่อนอานนท์   อันนี้เรา  (ผู้ตถาคต)  กล่าวว่านิโรธสัญญา
      8  กตมา   จานนฺท  
สพฺพโลเก   อนภิรตสญฺญา
ดูก่อนอานนท์   สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นอย่างไร
อิธานนฺท   ภิกฺขุ 
ดูก่อนอานนท์   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เย   โลเก   อุปายุปาทานา   เจตโส
อธิฏฺฐานาภินิเวสานุสยา 
อุบายเป็นเหตุถือมั่นเหล่าใดในโลก   มีความถือมั่นด้วยความตั้งจิตไว้   เป็นอนุสัยนอนอยู่ในสันดาน
เต   ปชหนฺโต   วิรมติ 
น   อุปาทิยนฺโต 
เธอละอุบายเป็นเหตุถือมั่นเหล่านั้นเสีย   ไม่ถือมั่น   ย่อมงดเว้นเสีย
อยํ   วุจฺจตานนฺท   สพฺพโลเก 
อนภิรตสญฺญา 
ดูก่อนอานนท์   อันนี้เรา  (ผู้ตถาคต)  กล่าวว่าสัพพโลเกอนภิรตสัญญา
      9  กตมา   จานนฺท  
สพฺพสงฺขาเรสุ   อนิจฺจสญฺญา 
ดูก่อนอานนท์   สัพพสังขาเรสุ
อนิจจสัญญาเป็นอย่างไร
อิธานนฺท   ภิกฺขุ 
ดูก่อนอานนท์   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สพฺพสงฺขาเรหิ   อฏฺฏิยติ 
หรายติ   ชิคุจฺฉติ 
เธอย่อมเบื่อหน่าย   ย่อมระอา   ย่อมเกลียดชัง   แต่สังขารทั้งปวง
อยํ   วุจฺจตานนฺท  
สพฺพสงฺขาเรสุ   อนิจฺจสญฺญา    
ดูก่อนอานนท์   อันนี้เรา  (ผู้ตถาคต)  กล่าวว่าสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา
      10  กตมา   จานนฺท   อานาปานสฺสติ
ดูก่อนอานนท์   อานาปานัสสติเป็นอย่างไร
อิธานนฺท   ภิกฺขุ 
ดูก่อนอานนท์   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อรญฺญคโต   วา 
ไปในป่าก็ดี
รุกฺขมูลคโต   วา 
ไปที่โคนไม้ก็ดี
สุญฺญาคารคโต   วา 
ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี
นิสีทติ   ปลฺลงฺกํ   อาภุชิตฺวา 
นั่งคู้บัลลังก์  (นั่งขัดสมาธิ์)
อุชุํ   กายํ   ปณิธาย 
ตั้งกายให้ตรงแล้ว
ปริมุขํ   สตึ   อุปฏฺฐเปตฺวา 
ตั้งสติไว้มั่นเฉพาะหน้า
โส   สโตว   อสฺสสติ 
เธอย่อมเป็นผู้มีสติหายใจเข้า
สโต   ปสฺสสติ 
ย่อมเป็นผู้มีสติหายใจออก
ทีฆํ   วา   อสฺสสนฺโต 
เมื่อเธอหายใจเข้ายาว
ทีฆํ   อสฺสสามีติ   ปชานาติ 
ก็รู้ชัดว่า   บัดนี้เราหายใจเข้ายาว
ทีฆํ   วา   ปสฺสสนฺโต 
หรือเมื่อหายใจออกยาว
ทีฆํ   ปสฺสสามีติ   ปชานาติ 
ก็รู้ชัดว่า   บัดนี้เราหายใจออกยาว
รสฺสํ   วา   อสฺสสนฺโต 
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น
รสฺสํ   อสฺสสามีติ   ปชานาติ 
ก็รู้ชัดว่า   บัดนี้เราหายใจเข้าสั้น
รสฺสํ   วา   ปสฺสสนฺโต 
หรือเมื่อหายใจออกสั้น
รสฺสํ   ปสฺสสามีติ   ปชานาติ 
ก็รู้ชัดว่า   บัดนี้เราหายใจออกสั้น
สพฺพกายปฏิสํเวที 
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า
สพฺพกายปฏิสํเวที  
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก
ปสฺสมฺภยํ   กายสงฺขารํ  
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร  (คือลมอัสสาสะ ปัสสาสะ)  หายใจเข้า
ปสฺสมฺภยํ   กายสงฺขารํ  
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร   หายใจออก
ปีติปฏิสํเวที  
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งปีติ  (คือความอิ่มกายอิ่มใจ)  หายใจเข้า
ปีติปฏิสํเวที  
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งปีติ   หายใจออก
สุขปฏิสํเวที  
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งสุข  (คือความสุขกายสุขจิต)  หายใจเข้า
สุขปฏิสํเวที  
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งสุข   หายใจออก
จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที  
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งจิตตสังขาร  (คือเวทนาและสัญญา)  หายใจเข้า
จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที  
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งจิตตสังขาร   หายใจออก
ปสฺสมฺภยํ   จิตฺตสงฺขารํ  
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักระงับ
จิตตสังขาร   หายใจเข้า
ปสฺสมฺภยํ   จิตฺตสงฺขารํ  
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักระงับ
จิตตสังขาร   หายใจออก
จิตฺตปฏิสํเวที  
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งจิต   หายใจเข้า
จิตฺตปฏิสํเวที  
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้
รู้แจ้งจิต   หายใจออก
อภิปฺปโมทยํ   จิตฺตํ    
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักทำจิตให้บันเทิง   หายใจเข้า
อภิปฺปโมทยํ   จิตฺตํ    
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักทำจิตให้บันเทิง   หายใจออก
สมาทหํ   จิตฺตํ    
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักตั้งจิตไว้   หายใจเข้า
สมาทหํ   จิตฺตํ    
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักตั้งจิตไว้   หายใจออก
วิโมจยํ   จิตฺตํ    
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเปลื้องจิต   หายใจเข้า
วิโมจยํ   จิตฺตํ    
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเปลื้องจิต   หายใจออก
อนิจฺจานุปสฺสี    
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ   โดยความเป็นของไม่เที่ยง   หายใจเข้า
อนิจฺจานุปสฺสี    
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ   โดยความเป็นของไม่เที่ยง   หายใจออก
วิราคานุปสฺสี    
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ   ซึ่งธรรมอันปราศจากราคะ   หายใจเข้า
วิราคานุปสฺสี    
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ   ซึ่งธรรมอันปราศจากราคะ   หายใจออก
นิโรธานุปสฺสี    
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ   ซึ่งธรรมเป็นที่ดับสนิท   หายใจเข้า
นิโรธานุปสฺสี    
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ   ซึ่งธรรมเป็นที่ดับสนิท   หายใจออก
ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี    
อสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ   ซึ่งความสละคืน   หายใจเข้า
ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี    
ปสฺสสิสฺสามีติ   สิกฺขติ 
เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ   ซึ่งความสละคืน   หายใจออก
อยํ   วุจฺจตานนฺท 
อานาปานสฺสติ 
ดูก่อนอานนท์   อันนี้เรา  (ผู้ตถาคต)  กล่าวว่าอานาปานัสสติ
      สเจ   โข   ตฺวํ   อานนฺท 
คิริมานนฺทสฺส   ภิกฺขุโน 
อุปสงฺกมิตฺวา   อิมา   ทส 
สญฺญา   ภาเสยฺยาสิ 
ดูก่อนอานนท์   ถ้าว่าท่านแล  
พึงเข้าไปแสดงสัญญา
10 ประการเหล่านี้   แก่ภิกษุคิริมานนท์ไซร้
ฐานํ   โข   ปเนตํ   วิชฺชติ 
ยํ   คิริมานนฺทสฺส   ภิกฺขุโน 
อิมา   ทส   สญฺญา   สุตฺวา 
โส   อาพาโธ   ฐานโส 
ปฏิปฺปสฺสมฺเภยฺยาติ   
ข้อนี้   เป็นเหตุให้อาพาธของภิกษุคิริมานนท์ระงับไปโดยฐานะ เพราะได้ฟังสัญญา 10 ประการ  เหล่านี้
อถ   โข   อายสฺมา   อานนฺโท 
ลำดับนั้น   พระอานนท์ผู้มีอายุ
ภควโต   สนฺติเก   อิมา   ทส 
สญฺญา   อุคฺคเหตฺวา 
เรียนสัญญา 10 ประการนี้   ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
เยนายสฺมา   คิริมานนฺโท 
เตนุปสงฺกมิ 
เข้าไปหาโดยที่ ๆ พระคิริมานนท์  ผู้มีอายุอยู่
อุปสงฺกมิตฺวา 
ครั้นเข้าไปหาแล้ว
อายสฺมโต   คิริมานนฺทสฺส 
อิมา   ทส   สญฺญา   อภาสิ 
ได้แสดงสัญญา 10 ประการเหล่านี้  แก่พระคิริมานนท์ผู้มีอายุ
อถ   โข   อายสฺมโต   คิริมานนฺทสฺส
อิมา   ทส   สญฺญา 
สุตฺวา   โส   อาพาโธ   ฐานโส 
ปฏิปฺปสฺสมฺภิ 
ลำดับนั้นแล   อาพาธของพระ
คิริมานนท์ผู้มีอายุ   ระงับไปแล้วโดยฐานะ   เพราะได้ฟังสัญญา
10 ประการเหล่านี้
วุฏฺฐหิ   จายสฺมา   คิริมานนฺโท 
ตมฺหา   อาพาธา 
พระคิริมานนท์ผู้มีอายุ   ก็หายจากอาพาธนั้น
ตถา   ปหีโน   จ   ปนายสฺมโต 
คิริมานนฺทสฺส   โส   อาพาโธ 
อโหสีติ. 
ก็อาพาธนั้น  เป็นอันพระคิริมานนท์ผู้มีอายุได้ละเสียแล้ว   ด้วยการที่ได้ฟังสัญญา 10 ประการ   ที่พระอานนท์ได้แสดงแล้ว   ฉะนั้น   ด้วยประการฉะนี้แล.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Link ไปยังบทสวดมนต์อื่นใน Blog นี้

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม