บทสวดมนต์ อาฏานาฏิยปริตร (ของ 12 ตำนาน) (บาลี พร้อมคำแปล) (พระปริตร สิบสองตำนาน)





บทสวดมนต์  อาฏานาฏิยปริตร  (สำหรับสวด 12 ตำนาน)  จากหนังสือสวดมนต์แปล  ฉบับรวบรวมและแปลโดย  พระศาสนโศภน  (แจ่ม  จตฺตสลฺโล)  วัดมกุฏกษัตริยาราม   ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ  (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533)  (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)


สามารถดาวน์โหลด Ebook  ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล  และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล  มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ  ได้ที่  Link  :

https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing

https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books


สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์  (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ  โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ)  และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท  ได้ที่ ting074ch Youtube Channel  ที่ Link  :

https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw


เริ่มอาฏานาฏิยปริตร 
(หน้า 86)
      อปฺปสนฺเนหิ   นาถสฺส  
สาสเน   สาธุสมฺมเต  
อมนุสฺเสหิ   จณฺเฑหิ  
สทา   กิพฺพิสการิภิ  
ปริสานญฺจตสฺสนฺนมหึสาย  
จ   คุตฺติยา   ยนฺเทเสสิ   มหาวีโร  
พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้าใหญ่ยิ่ง  ทรงแสดงพระปริตรอันใด   เพื่อความไม่เบียดเบียนกันด้วย   เพื่อความคุ้มครองตนด้วย   แก่บริษัท 4 เหล่า   อันเกิดจากหมู่อมนุษย์ที่ร้ายกาจกระทำซึ่งกรรมอันหยาบช้าทุกเมื่อ   ผู้มิได้เลื่อมใสในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า   ผู้เป็นที่พึ่งของโลก   อันสัตบุรุษสมมติว่าเป็นศาสนาอันดี
ปริตฺตนฺตมฺภณาม   เห.  
เราทั้งหลาย   จงสวดปริตรอันนั้น  เทอญ.



อาฏานาฏิยปริตร  (12  ตำนาน)
(หน้า 86, 101, 122)
      วิปสฺสิสฺส   นมตฺถุ  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า  
จงมีแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า
จกฺขุมนฺตสฺส   สิรีมโต  
ผู้มีจักษุ   ผู้มีสิริ
สิขิสฺสปิ   นมตฺถุ  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า  
จงมีแม้แด่พระสิขีพุทธเจ้า
สพฺพภูตานุกมฺปิโน  
ผู้มีปกติอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง
เวสฺสภุสฺส   นมตฺถุ  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า  
จงมีแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า
นฺหาตกสฺส   ตปสฺสิโน  
ผู้มีกิเลสอันล้างแล้ว   ผู้มีตปะ
นมตฺถุ   กกุสนฺธสฺส  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า  
จงมีแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า
มารเสนปฺปมทฺทิโน  
ผู้ย่ำยีเสียซึ่งมารและเสนา
โกนาคมนสฺส   นมตฺถุ  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า  
จงมีแด่พระโกนาคมนพุทธเจ้า
พฺราหฺมณสฺส   วุสีมโต  

ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว   ผู้มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว
กสฺสปสฺส   นมตฺถุ  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า  
จงมีแด่พระกัสสปพุทธเจ้า
วิปฺปมุตฺตสฺส   สพฺพธิ  
ผู้พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
องฺคีรสสฺส   นมตฺถุ  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า  
จงมีแด่พระอังคีรสพุทธเจ้า
สกฺยปุตฺตสฺส   สิรีมโต  
ผู้เป็นโอรสแห่งศากยราช   ผู้มีสิริ
โย   อิมํ   ธมฺมมเทเสสิ  

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด   ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรมนี้
สพฺพทุกฺขาปนูทนํ  
เป็นเครื่องบรรเทาเสีย   ซึ่งทุกข์ทั้งปวง
เย   จาปิ   นิพฺพุตา   โลเก  

อนึ่ง   พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดก็ดี   ที่ดับกิเลสแล้วในโลก
ยถาภูตํ   วิปสฺสิสุํ  
เห็นแจ้งธรรมตามเป็นจริง
เต   ชนา   อปิสุณา  

พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นเป็นคนไม่มีความส่อเสียด
มหนฺตา   วีตสารทา  
ผู้ใหญ่   ผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้ว
หิตํ   เทวมนุสฺสานํ  
ยํ   นมสฺสนฺติ   โคตมํ  


เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย   นอบน้อมอยู่   ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ใด   ผู้เป็นโคตมโคตร   ผู้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เทพดา   และมนุษย์ทั้งหลาย
วิชฺชาจรณสมฺปนฺนํ  
ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ
มหนฺตํ   วีตสารทํ  
ผู้ใหญ่   ผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้ว


      นโม   เม   สพฺพพุทฺธานํ 
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง
อุปฺปนฺนานํ   มเหสินํ 
ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่   ซึ่งได้อุปบัติแล้ว
ตณฺหงฺกโร   มหาวีโร 
คือพระตัณหังกร   ผู้กล้าหาญ
เมธงฺกโร   มหายโส 
พระเมธังกร   ผู้มียศใหญ่
สรณงฺกโร   โลกหิโต 
พระสรณังกร   ผู้เกื้อกูลแก่โลก
ทีปงฺกโร   ชุตินฺธโร 
พระทีปังกร   ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
โกณฺฑญฺโญ   ชนปาโมกฺโข 
พระโกณฑัญญะ   ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
มงฺคโล   ปุริสาสโภ 
พระมังคละ   ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
สุมโน   สุมโน   ธีโร 
พระสุมนะ   ผู้เป็นธีรบุรุษ   มีพระหทัยงาม
เรวโต   รติวฑฺฒโน 
พระเรวตะ   ผู้เพิ่มพูนความยินดี
โสภิโต   คุณสมฺปนฺโน 
พระโสภิตะ   ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
อโนมทสฺสี   ชนุตฺตโม 
พระอโนมทัสสี   ผู้อุดมอยู่ในหมู่ชน
ปทุโม   โลกปชฺโชโต 
พระปทุมะ   ผู้ทำโลกให้สว่าง
นารโท   วรสารถี 
พระนารทะ   ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
ปทุมุตฺตโร   สตฺตสาโร 
พระปทุมุตตระ   ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
สุเมโธ   อปฺปฏิปุคฺคโล 
พระสุเมธะ   ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
สุชาโต   สพฺพโลกคฺโค 
พระสุชาตะ   ผู้เลิศกว่าสัตวโลกทั้งปวง
ปิยทสฺสี   นราสโภ 
พระปิยทัสสี   ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
อตฺถทสฺสี   การุณิโก 
พระอัตถทัสสี   ผู้มีพระกรุณา
ธมฺมทสฺสี   ตโมนุโท 
พระธรรมทัสสี   ผู้บรรเทามืด
สิทฺธตฺโถ   อสโม   โลเก 
พระสิทธัตถะ   ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
ติสฺโส   จ   วทตํ   วโร 
พระติสสะ   ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
ปุสฺโส   จ   วรโท   พุทฺโธ 
พระปุสสะพุทธเจ้า   ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
วิปสฺสี   จ   อนูปโม 
พระวิปัสสี   ผู้หาที่เปรียบมิได้
สิขี   สพฺพหิโต   สตฺถา 
พระสิขี   ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
เวสฺสภู   สุขทายโก 
พระเวสสภู   ผู้ประทานความสุข
กกุสนฺโธ   สตฺถวาโห 
พระกกุสันธะ   ผู้นำสัตว์ออกจากกันดารคือกิเลส
โกนาคมโน   รณญฺชโห 
พระโกนาคมนะ   ผู้หักเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลส
กสฺสโป   สิริสมฺปนฺโน 
พระกัสสปะ   ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
โคตโม   สกฺยปุงฺคโว. 
พระโคตมะ   ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช.


เอเต   จญฺเญ   จ   สมฺพุทฺธา  
พระพุทธเจ้าเหล่านี้ก็ดี   เหล่าอื่นก็ดี
อเนกสตโกฏโย  
หลายร้อยโกฏิ
สพฺเพ   พุทฺธา   อสมสมา  

พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   ทั้งหมดเสมอกัน   ไม่มีใครเหมือน
สพฺเพ   พุทฺธา   มหิทฺธิกา  
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   ล้วนมีฤทธิ์มาก
สพฺเพ   ทสพลูเปตา  
ล้วนประกอบแล้ว  ด้วยทศพลญาณ
เวสารชฺเชหุปาคตา  
ประกอบไปด้วยเวสารัชชญาณ
สพฺเพ   เต   ปฏิชานนฺติ  
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   ล้วนตรัสรู้อยู่
อาสภณฺฐานมุตฺตมํ  
ซึ่งอาสภฐานอันอุดม
สีหนาทํ   นทนฺเต   เต  
ปริสาสุ   วิสารทา  
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   เป็นผู้องอาจ  ไม่ครั่นคร้าม   บันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย
พฺรหฺมจกฺกํ   ปวตฺเตนฺติ  
ยังพรหมจักรให้เป็นไป
โลเก   อปฺปฏิวตฺติยํ  
อันใคร ๆ ยังไม่ให้เป็นไปแล้วในโลก
อุเปตา   พุทฺธธมฺเมหิ  

พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น  ประกอบแล้วด้วยพุทธธรรมทั้งหลาย
อฏฺฐารสหิ   นายกา  
18  เป็นนายก
ทฺวตฺตึสลกฺขณูเปตา-
สีตฺยานุพฺยญฺชนาธรา  
ผู้ประกอบด้วยพระลักษณะ  32  ประการ  และทรงซึ่งอนุพยัญชนะ  80
พฺยามปฺปภาย   สุปฺปภา  

มีพระรัศมีอันงาม   ด้วยพระรัศมี   มีมณฑลข้างละวา
สพฺเพ   เต   มุนิกุญฺชรา  

พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   ล้วนเป็นมุนีอันประเสริฐ
พุทฺธา   สพฺพญฺญุโน   เอเต  
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   ล้วนเป็นพระสัพพัญญู
สพฺเพ   ขีณาสวา   ชินา  
ล้วนเป็นพระขีณาสพผู้ชนะ
มหปฺปภา   มหาเตชา  
มีพระรัศมีมาก   มีพระเดชมาก
มหาปญฺญา   มหพฺพลา  
มีพระปัญญามาก   มีพระกำลังมาก
มหาการุณิกา   ธีรา  
มีพระกรุณามาก   เป็นนักปราชญ์
สพฺเพสานํ   สุขาวหา  
นำสุขมาเพื่อสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
ทีปา   นาถา   ปติฏฺฐา   จ  
เป็นเกาะ   เป็นที่พึ่ง   และเป็นที่อาศัย
ตาณา   เลณา   จ   ปาณินํ  
เป็นที่ต้านทาน   และเป็นที่เร้นของสัตว์
คตี   พนฺธู   มหสฺสาสา  
เป็นคติ   เป็นเผ่าพันธุ์   เป็นที่ยินดีมาก
สรณา   จ   หิเตสิโน  
เป็นที่ระลึก   และทรงแสวงหาประโยชน์
สเทวกสฺส   โลกสฺส  
เพื่อสัตวโลกกับเทวโลก
สพฺเพ   เอเต   ปรายนา  

พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   ล้วนเป็นเบื้องหน้าของสัตว์
เตสาหํ   สิรสา   ปาเท  
วนฺทามิ   ปุริสุตฺตเม  
วจสา   มนสา   เจว  
วนฺทาเมเต   ตถาคเต  

ข้าพเจ้า   ขอวันทาพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า  และขอวันทาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น  ผู้เป็นบุรุษอันอุดม   ผู้เป็นตถาคต   ด้วยวาจาและใจทีเดียว
สยเน   อาสเน   ฐาเน  
ในที่นอนด้วย   ในที่นั่งด้วย   ในที่ยืนด้วย
คมเน   จาปิ   สพฺพทา.  
แม้ในที่เดินด้วย   ในกาลทุกเมื่อ.
สทา   สุเขน   รกฺขนฺตุ  
พุทฺธา   สนฺติกรา   ตุวํ  
พระพุทธเจ้าผู้กระทำความระงับ  
จงรักษาท่านด้วยสุขในกาลทุกเมื่อ
เตหิ   ตฺวํ   รกฺขิโต   สนฺโต  
ท่านผู้อันพระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงรักษาแล้ว   จงเป็นผู้ระงับ
มุตฺโต   สพฺพภเยน   จ  
สพฺพโรควินิมุตฺโต  
พ้นแล้วจากภัยทั้งปวง   และพ้นแล้วจากโรคทั้งปวง
สพฺพสนฺตาปวชฺชิโต  
เว้นแล้วจากความเดือดร้อนทั้งปวง
สพฺพเวรมติกฺกนฺโต  
ล่วงเสียซึ่งเวรทั้งปวง
นิพฺพุโต   จ   ตุวํ   ภว  
ท่านจงเป็นผู้ดับทุกข์ทั้งปวงด้วย


      เตสํ   สจฺเจน   สีเลน 
ขนฺติเมตฺตาพเลน   จ 
ด้วยสัจจะ   ด้วยศีล   และด้วยกำลังแห่งขันติ   และเมตตา   ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
เตปิ   ตุเมฺห   อนุรกฺขนฺตุ 
แม้คุณธรรมเหล่านั้น   จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย
อาโรเคฺยน   สุเขน   จ 
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค   ด้วยความสุข
ปุรตฺถิมสฺมึ   ทิสาภาเค 
สนฺติ   ภูตา   มหิทฺธิกา 
คนธรรพ์ทั้งหลายมีฤทธิ์มาก   มีอยู่ในด้านทิศบูรพา
เตปิ   ตุเมฺห   อนุรกฺขนฺตุ 
แม้คนธรรพ์เหล่านั้น   จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย
อาโรเคฺยน   สุเขน   จ 
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค   และด้วยความสุข
ทกฺขิณสฺมึ   ทิสาภาเค 
สนฺติ   เทวา   มหิทฺธิกา 
เทพดาทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก   มีอยู่ในทิศทักษิณ
เตปิ   ตุเมฺห   อนุรกฺขนฺตุ 
แม้เทพดาเหล่านั้น   จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย
อาโรเคฺยน   สุเขน   จ 
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค   และด้วยความสุข
ปจฺฉิมสฺมึ   ทิสาภาเค 
สนฺติ   นาคา   มหิทฺธิกา 
นาคทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก   มีอยู่ในด้านทิศปัศจิม
เตปิ   ตุเมฺห   อนุรกฺขนฺตุ 
แม้นาคเหล่านั้น   จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย
อาโรเคฺยน   สุเขน   จ 
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค   และด้วยความสุข
อุตฺตรสฺมึ   ทิสาภาเค 
สนฺติ   ยกฺขา   มหิทฺธิกา 
ยักษ์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก   มีอยู่ในด้านทิศอุดร
เตปิ   ตุเมฺห   อนุรกฺขนฺตุ 
แม้ยักษ์เหล่านั้น   จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย
อาโรเคฺยน   สุเขน   จ 
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค   และด้วยความสุข
ปุริมทิสํ   ธตรฏฺโฐ 
ท้าวธตรฏฐ์   อยู่ประจำทิศบูรพา
ทกฺขิเณน   วิรุฬฺหโก 
ท้าววิรุฬหก   อยู่ประจำทิศทักษิณ
ปจฺฉิเมน   วิรูปกฺโข 
ท้าววิรูปักข์   อยู่ประจำทิศปัศจิม
กุเวโร   อุตฺตรํ   ทิสํ 
ท้าวกุเวร   อยู่ประจำทิศอุดร
จตฺตาโร   เต   มหาราชา 
มหาราชทั้ง  4  เหล่านั้น 
โลกปาลา   ยสสฺสิโน 
เป็นผู้มียศ   รักษาโลก
เตปิ   ตุเมฺห   อนุรกฺขนฺตุ 
แม้มหาราชเหล่านั้น   จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย
อาโรเคฺยน   สุเขน   จ 
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค   และด้วยความสุข
อากาสฏฺฐา   จ   ภุมฺมฏฺฐา 
เทวา   นาคา   มหิทฺธิกา 
เทพดาและนาคทั้งหลาย   ผู้มีฤทธิ์มาก   ซึ่งสถิตอยู่ในอากาศก็ดี   สถิตอยู่ในภาคพื้นก็ดี
เตปิ   ตุเมฺห   อนุรกฺขนฺตุ 
แม้เทพดาและนาคเหล่านั้น   จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย
อาโรเคฺยน   สุเขน   จ.
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค   ด้วยความสุข


      นตฺถิ   เม   สรณํ   อญฺญํ   
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
พุทฺโธ   เม   สรณํ   วรํ 
พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตน   สจฺจวชฺเชน 
ด้วยความกล่าวสัตย์นี้
โหตุ   เต   ชยมงฺคลํ 
ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
นตฺถิ   เม   สรณํ   อญฺญํ 
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
ธมฺโม   เม   สรณํ   วรํ 
พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตน   สจฺจวชฺเชน 
ด้วยความกล่าวสัตย์นี้
โหตุ   เต   ชยมงฺคลํ 
ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
นตฺถิ   เม   สรณํ   อญฺญํ 
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
สงฺโฆ   เม   สรณํ   วรํ 
พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตน   สจฺจวชฺเชน 
ด้วยความกล่าวสัตย์นี้
โหตุ   เต   ชยมงฺคลํ. 
ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน.


      ยงฺกิญฺจิ   รตนํ   โลเก  
รัตนะอันใดอันหนึ่งในโลก
วิชฺชติ   วิวิธํ   ปุถุ 
มีมากหลายอย่าง
รตนํ   พุทฺธสมํ   นตฺถิ 
รัตนะนั้นเสมอด้วยพระพุทธรัตนะ  ย่อมไม่มี
ตสฺมา   โสตฺถี   ภวนฺตุ   เต 
เพราะเหตุนั้น   ขอความสวัสดีทั้งหลาย   จงมีแก่ท่าน
ยงฺกิญฺจิ   รตนํ   โลเก 
รัตนะอันใดอันหนึ่งในโลก
วิชฺชติ   วิวิธํ   ปุถุ 
มีมากหลายอย่าง
รตนํ   ธมฺมสมํ   นตฺถิ 
รัตนะนั้นเสมอด้วยพระธรรมรัตนะ  ย่อมไม่มี
ตสฺมา   โสตฺถี   ภวนฺตุ   เต 
เพราะเหตุนั้น   ขอความสวัสดีทั้งหลาย   จงมีแก่ท่าน
ยงฺกิญฺจิ   รตนํ   โลเก 
รัตนะอันใดอันหนึ่งในโลก
วิชฺชติ   วิวิธํ   ปุถุ 
มีมากหลายอย่าง
รตนํ   สงฺฆสมํ   นตฺถิ 
รัตนะนั้นเสมอด้วยพระสังฆรัตนะ  ย่อมไม่มี
ตสฺมา   โสตฺถี   ภวนฺตุ   เต. 
เพราะเหตุนั้น   ขอความสวัสดีทั้งหลาย   จงมีแก่ท่าน.


      สกฺกตฺวา   พุทฺธรตนํ 
เพราะทำความเคารพ   พระพุทธรัตนะ
โอสถํ   อุตฺตมํ   วรํ 
อันเป็นดังโอสถอันอุดมประเสริฐ
หิตํ   เทวมนุสฺสานํ 
เป็นประโยชน์   แก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทฺธเตเชน   โสตฺถินา 
นสฺสนฺตุปทฺทวา   สพฺเพ 
ทุกฺขา   วูปสเมนฺตุ   เต 
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลาย   จงฉิบหายไป   ขอทุกข์ทั้งหลายของท่านจงสงบไป   โดยสวัสดี   ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า
สกฺกตฺวา   ธมฺมรตนํ 
เพราะทำความเคารพ   พระธรรมรัตนะ
โอสถํ   อุตฺตมํ   วรํ 
อันเป็นดังโอสถอันอุดมประเสริฐ
ปริฬาหูปสมนํ 
สำหรับระงับความกระวนกระวาย
ธมฺมเตเชน   โสตฺถินา 
นสฺสนฺตุปทฺทวา   สพฺเพ 
ภยา   วูปสเมนฺตุ   เต 
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลาย   จงฉิบหายไป   ขอภัยทั้งหลายของท่านจงสงบไป   โดยสวัสดี   ด้วยเดชแห่งพระธรรม
สกฺกตฺวา   สงฺฆรตนํ 
เพราะทำความเคารพ   พระสังฆรัตนะ
โอสถํ   อุตฺตมํ   วรํ 
อันเป็นดังโอสถอันอุดมประเสริฐ
อาหุเนยฺยํ   ปาหุเนยฺยํ
ควรเพื่อวัตถุอันเขานำมาบูชา   ควรเพื่อวัตถุอันเขาต้อนรับ
สงฺฆเตเชน   โสตฺถินา 
นสฺสนฺตุปทฺทวา   สพฺเพ 
โรคา   วูปสเมนฺตุ   เต. 
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลาย   จงฉิบหายไป   ขอโรคทั้งหลายของท่านจงสงบไป   โดยสวัสดี   ด้วยเดชแห่งพระสงฆ์.  


สพฺพีติโย   วิวชฺชนฺตุ  
ความจัญไรทั้งปวงจงเว้นไป
สพฺพโรโค   วินสฺสตุ  
โรคทั้งปวงจงฉิบหายไป
มา   เต   ภวตฺวนฺตราโย  
อันตรายอย่าได้มีแก่ท่าน
สุขี   ทีฆายุโก   ภว  
ขอท่านจงเป็นผู้มีสุข   มีอายุยืน
อภิวาทนสีลิสฺส  
นิจฺจํ   วุฑฺฒาปจายิโน  
จตฺตาโร   ธมฺมา   วฑฺฒนฺติ  
อายุ   วณฺโณ   สุขํ   พลํ.  
ธรรมทั้งหลาย   คือ  อายุ  วรรณะ  สุขะ  พละ   ย่อมเจริญแก่บุคคลมีความไหว้ต่อบุคคลผู้ควรไหว้เป็นปกติ   ผู้อ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญเป็นนิตย์.



**บทอาฏานาฏิยปริตรของ 12 ตำนาน ใช้บทนี้  ตัวอักษรสีน้ำเงินคือที่ไม่มี ใน 7 ตำนาน  ทั้งนี้  ท่อน นตฺถิ   เม   สรณํ   อญฺญํ --,  ยงฺกิญฺจิ   รตนํ   โลเก -- ,  สกฺกตฺวา   พุทฺธรตนํ --   ของ 7 ตำนาน  จะอยู่ในส่วนปกิรณกคาถาสำหรับสวดต่อเจ็ดตำนาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Link ไปยังบทสวดมนต์อื่นใน Blog นี้

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม