บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จากหนังสือสวดมนต์แปล ฉบับรวบรวมและแปลโดย พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533) (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)
สามารถดาวน์โหลด Ebook ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ ได้ที่ Link :
https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing
https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books
สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์ (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ) และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท ได้ที่ ting074ch Youtube Channel ที่ Link :
https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw
เริ่มธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
|
(หน้า
186)
|
อนุตฺตรํ อภิสมฺโพธึ
สมฺพุชฺฌิตฺวา ตถาคโต
|
พระตถาคตเจ้า ได้ตรัสรู้ซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
|
ปฐมํ ยํ
อเทเสสิ
ธมฺมจกฺกํ อนุตฺตรํ
สมฺมเทว ปวตฺเตนฺโต
โลเก อปฺปฏิวตฺติยํ
|
เมื่อจะทรงประกาศธรรมที่ใครๆ ยังมิได้ให้เป็นไปแล้วในโลก ให้เป็นไปโดยชอบแท้ ได้ทรงแสดงพระอนุตตรธรรมจักรใดก่อน
|
ยตฺถากฺขาตา อุโภ
อนฺตา
ปฏิปตฺติ จ
มชฺฌิมา
จตูสฺวาริยสจฺเจสุ
วิสุทฺธํ ญาณทสฺสนํ
|
คือในธรรมจักรใด พระองค์ตรัสซึ่งที่สุด 2 ประการ
และข้อปฏิบัติเป็นกลาง
และปัญญาอันรู้เห็นอันหมดจดแล้วในอริยสัจทั้ง 4
|
เทสิตํ ธมฺมราเชน
สมฺมาสมฺโพธิกิตฺตนํ
นาเมน วิสฺสุตํ
สุตฺตํ
ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนํ
เวยฺยากรณปาเฐน
สงฺคีตนฺตมฺภณาม เส.
|
เราทั้งหลาย จงสวดธรรมจักรนั้น ที่พระองค์ผู้พระธรรมราชาทรงแสดงแล้ว ปรากฏโดยชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
เป็นสูตรประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณอันพระสังคีติกาจารย์ร้อยกรองไว้โดยเวยยากรณปาฐะ เทอญ.
|
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
|
(หน้า
187)
|
เอวมฺเม สุตํ
|
อันข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้
|
เอกํ สมยํ
ภควา
|
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
|
พาราณสิยํ วิหรติ
อิสิปตเน มิคทาเย
|
เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
|
ตตฺร โข
ภควา ปญฺจวคฺคิเย
ภิกฺขู อามนฺเตสิ
|
ในกาลนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
|
เทฺวเม ภิกฺขเว
อนฺตา
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้
|
ปพฺพชิเตน น
เสวิตพฺพา
|
อันบรรพชิตไม่ควรเสพ
|
โย จายํ
กาเมสุ
กามสุขลฺลิกานุโยโค
|
คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด
|
หีโน
|
เป็นธรรมอันเลว
|
คมฺโม
|
เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน
|
โปถุชฺชนิโก
|
เป็นของคนมีกิเลสหนา
|
อนริโย
|
ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส
|
อนตฺถสญฺหิโต
|
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง
|
โย จายํ
อตฺตกิลมถานุโยโค
|
คือการประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตนเหล่านี้ใด
|
ทุกฺโข
|
ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ
|
อนริโย
|
ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส
|
อนตฺถสญฺหิโต
|
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง
|
เอเต เต
ภิกฺขเว
อุโภ อนฺเต
อนุปคมฺม
มชฺฌิมา ปฏิปทา
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น
|
ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา
|
อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
|
จกฺขุกรณี ญาณกรณี
|
ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้
|
อุปสมาย อภิญฺญาย
สมฺโพธาย นิพฺพานาย
สํวตฺตติ
|
ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ
|
กตมา จ
สา ภิกฺขเว
มชฺฌิมา ปฏิปทา
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้นเป็นไฉน
|
ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา
|
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
|
จกฺขุกรณี ญาณกรณี
|
ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้
|
อุปสมาย
อภิญฺญาย
สมฺโพธาย นิพฺพานาย
สํวตฺตติ
|
ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ
|
อยเมว อริโย
อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค
|
ทางมีองค์
8 เครื่องไปจากข้าศึกคือกิเลสนี้เอง
|
เสยฺยถีทํ
|
กล่าวคือ
|
(1) สมฺมาทิฏฺฐิ
|
ปัญญาอันเห็นชอบ
|
(2) สมฺมาสงฺกปฺโป
|
ความดำริชอบ
|
(3) สมฺมาวาจา
|
วาจาชอบ
|
(4) สมฺมากมฺมนฺโต
|
การงานชอบ
|
(5) สมฺมาอาชีโว
|
ความเลี้ยงชีวิตชอบ
|
(6) สมฺมาวายาโม
|
ความเพียรชอบ
|
(7) สมฺมาสติ
|
ความระลึกชอบ
|
(8) สมฺมาสมาธิ
|
ความตั้งจิตชอบ
|
อยํ โข
สา ภิกฺขเว
มชฺฌิมา ปฏิปทา
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล
ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้น
|
ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา
|
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
|
จกฺขุกรณี ญาณกรณี
|
ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้
|
อุปสมาย อภิญฺญาย
สมฺโพธาย นิพฺพานาย
สํวตฺตติ
|
ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ
|
อิทํ โข
ปน ภิกฺขเว
ทุกฺขํ อริยสจฺจํ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล
เป็นทุกข์อย่างแท้จริง คือ
|
ชาติปิ ทุกฺขา
|
ความเกิดก็เป็นทุกข์
|
ชราปิ ทุกฺขา
|
ความแก่ก็เป็นทุกข์
|
มรณมฺปิ ทุกฺขํ
|
ความตายก็เป็นทุกข์
|
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺ-
สุปายาสาปิ ทุกฺขา
|
ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
|
อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค
ทุกฺโข
|
ความประสบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักทั้งหลายเป็นทุกข์
|
ปิเยหิ วิปฺปโยโค
ทุกฺโข
|
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักทั้งหลายเป็นทุกข์
|
ยมฺปิจฺฉํ น
ลภติ.
|
ปรารถนาอยู่ย่อมไม่ได้ แม้อันใด
|
ตมฺปิ ทุกฺขํ
|
แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
|
สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา
ทุกฺขา
|
โดยย่อแล้ว อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
|
อิทํ โข
ปน ภิกฺขเว
ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล
เป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นอย่างจริงแท้คือ
|
ยายํ ตณฺหา
|
ความทะยานอยากนี้
|
โปโนพฺภวิกา
|
ทำให้มีภพอีก
|
นนฺทิราคสหคตา
|
เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน
|
ตตฺรตตฺราภินนฺทินี
|
เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น
ๆ
|
เสยฺยถีทํ
|
กล่าวคือ
|
กามตณฺหา
|
คือความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่
|
ภวตณฺหา
|
คือความทะยานอยากในความมีความเป็น
|
วิภวตณฺหา
|
คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น
|
อิทํ โข
ปน ภิกฺขเว
ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล
เป็นความดับทุกข์อย่างจริงแท้
คือ
|
โย ตสฺสาเยว
ตณฺหาย
อเสสวิราคนิโรโธ
|
ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นเทียว อันใด
|
จาโค
|
ความสละตัณหานั้น
|
ปฏินิสฺสคฺโค
|
ความวางตัณหานั้น
|
มุตฺติ
|
ความปล่อยตัณหานั้น
|
อนาลโย
|
ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น
|
อิทํ โข
ปน ภิกฺขเว
ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา
อริยสจฺจํ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล
เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างจริงแท้ คือ
|
อยเมว อริโย
อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค
|
ทางมีองค์
8 เครื่องไปจากข้าศึกคือกิเลสนี้แล
|
เสยฺยถีทํ
|
กล่าวคือ
|
(1) สมฺมาทิฏฺฐิ
|
ปัญญาอันเห็นชอบ
|
(2) สมฺมาสงฺกปฺโป
|
ความดำริชอบ
|
(3) สมฺมาวาจา
|
วาจาชอบ
|
(4) สมฺมากมฺมนฺโต
|
การงานชอบ
|
(5) สมฺมาอาชีโว
|
ความเลี้ยงชีวิตชอบ
|
(6) สมฺมาวายาโม
|
ความเพียรชอบ
|
(7) สมฺมาสติ
|
ความระลึกชอบ
|
(8) สมฺมาสมาธิ.
|
ความตั้งจิตชอบ.
|
อิทํ ทุกฺขํ
อริยสจฺจนฺติ เม
ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ
ญาณํ อุทปาทิ
ปญฺญา อุทปาทิ
วิชฺชา อุทปาทิ
อาโลโก อุทปาทิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี้เป็นทุกขอริยสัจ
|
ตํ โข
ปนิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ
ปริญฺเญยฺยนฺติ เม
ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ
ญาณํ อุทปาทิ
ปญฺญา อุทปาทิ
วิชฺชา อุทปาทิ
อาโลโก อุทปาทิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้
|
ตํ โข
ปนิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ
ปริญฺญาตนฺติ เม
ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ
ญาณํ อุทปาทิ
ปญฺญา อุทปาทิ
วิชฺชา อุทปาทิ
อาโลโก อุทปาทิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้กำหนดรู้แล้ว
|
อิทํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจนฺติ
เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ
ญาณํ อุทปาทิ
ปญฺญา อุทปาทิ
วิชฺชา อุทปาทิ
อาโลโก อุทปาทิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ
|
ตํ โข
ปนิทํ ทุกฺขสมุทโย อริย-
สจฺจํ ปหาตพฺพนฺติ เม
ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ
ญาณํ อุทปาทิ
ปญฺญา อุทปาทิ
วิชฺชา อุทปาทิ
อาโลโก อุทปาทิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย
|
ตํ โข
ปนิทํ ทุกฺขสมุทโย
อริยสจฺจํ ปหีนนฺติ
เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ
ญาณํ อุทปาทิ
ปญฺญา อุทปาทิ
วิชฺชา อุทปาทิ
อาโลโก อุทปาทิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ละแล้ว
|
อิทํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจนฺติ
เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ
ญาณํ อุทปาทิ
ปญฺญา อุทปาทิ
วิชฺชา อุทปาทิ
อาโลโก อุทปาทิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
|
ตํ โข
ปนิทํ ทุกฺขนิโรโธ
อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพนฺติ
เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ
ญาณํ อุทปาทิ
ปญฺญา อุทปาทิ
วิชฺชา อุทปาทิ
อาโลโก อุทปาทิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง
|
ตํ โข
ปนิทํ ทุกฺขนิโรโธ อริย-
สจฺจํ สจฺฉิกตนฺติ เม
ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ
ญาณํ อุทปาทิ
ปญฺญา อุทปาทิ
วิชฺชา อุทปาทิ
อาโลโก อุทปาทิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว
|
อิทํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา
อริยสจฺจนฺติ เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ
ญาณํ อุทปาทิ
ปญฺญา อุทปาทิ
วิชฺชา อุทปาทิ
อาโลโก อุทปาทิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
|
ตํ โข
ปนิทํ ทุกฺขนิโรธคามินี
ปฏิปทา อริยสจฺจํ
ภาเวตพฺพนฺติ เม
ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ
ญาณํ อุทปาทิ
ปญฺญา อุทปาทิ
วิชฺชา อุทปาทิ
อาโลโก อุทปาทิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ
|
ตํ โข
ปนิทํ ทุกฺขนิโรธคามินี
ปฏิปทา อริยสจฺจํ
ภาวิตนฺติ
เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ
ญาณํ อุทปาทิ
ปญฺญา อุทปาทิ
วิชฺชา อุทปาทิ
อาโลโก อุทปาทิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล อันเราเจริญแล้ว
|
ยาวกีวญฺจ เม
ภิกฺขเว
อิเมสุ จตูสุ
อริยสจฺเจสุ
เอวนฺติปริวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ
ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ
น สุวิสุทฺธํ อโหสิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจ 4 เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบ 3 มีอาการ 12 อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว
|
เนว ตาวาหํ
ภิกฺขเว สเทวเก
โลเก สมารเก
สพฺรหฺมเก
สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย
สเทวมนุสฺสาย อนุตฺตรํ
สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ
ปจฺจญฺญาสึ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ยืนยันตนว่า
เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยเทพดา มาร
พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทพดา
มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น
|
ยโต จ
โข เม ภิกฺขเว
อิเมสุ จตูสุ
อริยสจฺเจสุ
เอวนฺติปริวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ
ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ
สุวิสุทฺธํ
อโหสิ
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ 4 เหล่านี้ ของเรา
ซึ่งมีรอบ 3 มีอาการ 12 อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว
|
อถาหํ ภิกฺขเว
สเทวเก
โลเก สมารเก
สพฺรหฺมเก
สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย
สเทวมนุสฺสาย อนุตฺตรํ
สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ
ปจฺจญฺญาสึ
|
เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยเทพดา มาร
พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทพดา
มนุษย์
|
ญาณญฺจ ปน
เม ทสฺสนํ
อุทปาทิ
|
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
|
อกุปฺปา เม
วิมุตฺติ
อยมนฺติมา ชาติ
นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ
|
ว่าความพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ ไม่มีภพอีก
|
อิทมโวจ ภควา
|
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว
|
อตฺตมนา ปญฺจวคฺคิยา ภิกฺขู
|
ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็มีใจยินดี
|
ภควโต ภาสิตํ
อภินนฺทุํ
|
เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
|
อิมสฺมิญฺจ ปน
เวยฺยากรณสฺมึ
ภญฺญมาเน
|
ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่
|
อายสฺมโต โกณฺฑญฺญสฺส
วิรชํ วีตมลํ
ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ
|
จักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ
|
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ
นิโรธธมฺมนฺติ
|
ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้น มีอันดับไปเป็นธรรมดา
|
ปวตฺติเต จ ภควตา
ธมฺมจกฺเก
|
ก็ครั้นเมื่อธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว
|
ภุมฺมา เทวา
สทฺทมนุสฺสาเวสุํ
|
เหล่าภุมมเทพดา ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
|
เอตมฺภควตา พาราณสิยํ
อิสิปตเน มิคทาเย
อนุตฺตรํ
ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ
อปฺปฏิวตฺติยํ สมเณน
วา
พฺราหฺมเณน วา
เทเวน วา
มาเรน วา
พฺรหฺมุนา วา
เกนจิ วา
โลกสฺมินฺติ
|
ว่านั่นจักร คือธรรม
ไม่มีจักรอื่นสู้ได้
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว
ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน
ใกล้เมืองพาราณสี
อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม
และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้
ดังนี้
|
ภุมฺมานํ เทวานํ
สทฺทํ สุตฺวา
จาตุมฺมหาราชิกา เทวา
สทฺทมนุสฺสาเวสุํ
|
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าภุมมเทพดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
|
จาตุมฺมหาราชิกานํ เทวานํ
สทฺทํ สุตฺวา
ตาวตึสา เทวา
สทฺทมนุสฺสาเวสุํ
|
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
|
ตาวตึสานํ เทวานํ
สทฺทํ สุตฺวา
ยามา เทวา
สทฺทมนุสฺสาเวสุํ
|
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามะ
ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
|
ยามานํ เทวานํ
สทฺทํ สุตฺวา
ตุสิตา เทวา
สทฺทมนุสฺสาเวสุํ
|
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นยามะแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
|
ตุสิตานํ เทวานํ
สทฺทํ สุตฺวา
นิมฺมานรตี เทวา
สทฺทมนุสฺสาเวสุํ
|
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
|
นิมฺมานรตีนํ เทวานํ
สทฺทํ
สุตฺวา ปรนิมฺมิตวสวตฺตี เทวา
สทฺทมนุสฺสาเวสุํ
|
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
|
ปรนิมฺมิตวสวตฺตีนํ เทวานํ
สทฺทํ
สุตฺวา พฺรหฺมกายิกา เทวา
สทฺทมนุสฺสาเวสุํ
|
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
|
เอตมฺภควตา พาราณสิยํ
อิสิปตเน มิคทาเย
อนุตฺตรํ
ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ
อปฺปฏิวตฺติยํ
สมเณน วา
พฺราหฺมเณน วา
เทเวน วา
มาเรน วา
พฺรหฺมุนา วา
เกนจิ วา
โลกสฺมินฺติ.
|
ว่านั่นจักร คือธรรม
ไม่มีจักรอื่นสู้ได้
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว
ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน
ใกล้เมืองพาราณสี
อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร
พรหม และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้.
|
อิติห
เตน ขเณน เตน
มุหุตฺเตน ยาว
พฺรหฺมโลกา
สทฺโท อพฺภุคฺคจฺฉิ
|
โดยขณะครู่เดียวนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้
|
อยญฺจ ทสสหสฺสี
โลกธาตุ
|
ทั้งหมื่นโลกธาตุ
|
สงฺกมฺปิ สมฺปกมฺปิ
สมฺปเวธิ
|
ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป
|
อปฺปมาโณ จ
โอฬาโร
โอภาโส โลเก
ปาตุรโหสิ
|
ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก
|
อติกฺกมฺเมว เทวานํ
เทวานุภาวํ
|
ล่วงเทวานุภาพ ของเทพดาทั้งหลายเสียหมด
|
อถโข ภควา
อุทานํ อุทาเนสิ
|
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า
|
อญฺญาสิ วต
โภ โกณฺฑญฺโญ
อญฺญาสิ วต
โภ โกณฺฑญฺโญติ
|
ว่าโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ
โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ
|
อิติหิทํ อายสฺมโต
โกณฺฑญฺญสฺส
อญฺญาโกณฺฑญฺโญเตฺวว นามํ
อโหสีติ.
|
เพราะเหตุนั้น นามว่า
อัญญาโกณฑัญญะนี้นั่นเทียว
ได้มีแล้วแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ
ด้วยประการฉะนี้แล.
|
หากพุทธศาสนิกชนเข้าใจและ?ปฏิบัติตามได้ครบถ้วน โรคภัยต่าง ๆ ในบ้านเมือง ก็จะหายไปได้จริง ๆ อยากให้มีการสวดซ้ำำ พร้อมคำแปล และอรรถา็ะิบายอย่างละเอียดซ้ำ
ตอบลบ