บทสวดมนต์ รัตนสูตร (บาลี พร้อมคำแปล) (พระปริตร เจ็ดตำนาน, สิบสองตำนาน) (พรรณนาคุณพระรัตนตรัย)





บทสวดมนต์  รัตนสูตร  จากหนังสือสวดมนต์แปล  ฉบับรวบรวมและแปลโดย  พระศาสนโศภน  (แจ่ม  จตฺตสลฺโล)  วัดมกุฏกษัตริยาราม   ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ  (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533)  (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)


สามารถดาวน์โหลด Ebook  ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล  และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล  มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ  ได้ที่  Link  :

https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing

https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books


สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์  (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ  โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ)  และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท  ได้ที่ ting074ch Youtube Channel  ที่ Link  :

https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw


เริ่มรัตนสูตร
(หน้า 56, 118)
      ปณิธานโต   ปฏฺฐาย  
ตถาคตสฺส   ทส   ปารมิโย   
ทส   อุปปารมิโย  
ทส   ปรมตฺถปารมิโย  
สมตึส   ปารมิโย   ปูเรตฺวา 
ปญฺจ   มหาปริจฺจาเค  
ติสฺโส   จริยา  
ปจฺฉิมพฺภเว   คพฺภาวกฺกนฺตึ  
ชาตึ   อภินิกฺขมนํ   ปธานจริยํ  
โพธิปลฺลงฺเก   มารวิชยํ  
สพฺพญฺญุตญาณปฺปฏิเวธํ 
ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนํ 
นวโลกุตฺตรธมฺเมติ  
สพฺเพปิ   เม   พุทฺธคุเณ  
อาวชฺชิตฺวา   เวสาลิยา   ตีสุ  
ปาการนฺตเรสุ   ติยามรตฺตึ  
ปริตฺตํ   กโรนฺโต   อายสฺมา 
อานนฺทตฺเถโร   วิย   การุญฺญจิตฺตํ 
อุปฏฺฐเปตฺวา  
เราทั้งหลาย   จงตั้งจิตอันประกอบไปด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย   ดังพระอานนทเถระผู้มีอายุ   พิจารณาพระพุทธคุณทั้งหลายแม้ทั้งปวงของพระตถาคตเจ้า   จำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา  คือ  บารมี 10  อุปบารมี 10   ปรมัตถบารมี 10   ยังบารมี 30 ทัศนี้ให้บริบูรณ์   และมหาบริจาค 5   จริยา 3   เสด็จลงสู่คัพโภทรในภพมีในที่สุด   ประสูติ  เสด็จออกอภิเนษกรมณ์   บำเพ็ญทุกกรกิริยา   ทรงชนะมาร   และตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ   ณ โพธิบัลลังก์   ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนวโลกุตรธรรม  ในพระองค์ดังนี้   แล้วทำพระปริตร   ตลอดราตรี  มี 3 ยาม  ในภายในกำแพงทั้งหลาย 3 ชั้น  ในเมืองเวสาลี
โกฏิสตสหสฺเสสุ  
จกฺกวาเฬสุ   เทวตา  
เทวดาทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล
ยสฺสาณมฺปฏิคฺคณฺหนฺติ  
ย่อมรับเอาแม้ซึ่งอาชญาแห่งพระปริตรอันใด
ยญฺจ   เวสาลิยมฺปุเร  
โรคามนุสฺสทุพฺภิกฺข-
สมฺภูตนฺติวิธมฺภยํ  
อนึ่ง   พระปริตรอันใด   ยังภัย 3 ประการอันเกิดจากโรค   อมนุษย์   และข้าวแพงในเมืองเวสาลี
ขิปฺปมนฺตรธาเปสิ  
ให้อันตรธานไปโดยเร็วพลัน
ปริตฺตนฺตมฺภณาม   เห.
เราทั้งหลาย   จงสวดปริตรอันนั้น  เทอญ.


**บทเริ่มรัตนสูตรนี้เป็นของ 12 ตำนาน  ของ 7 ตำนานที่ย่อหน้าแรก ตอนต้นของบท  จะไม่มีวรรคที่เป็นตัวอักษรสีน้ำเงิน



รัตนสูตร 
(หน้า 57)
      ยานีธ   ภูตานิ   สมาคตานิ  
ภุมฺมานิ   วา   ยานิว   อนฺตลิกฺเข
  
หมู่ภูตประจำถิ่นเหล่าใด  
ประชุมกันแล้วในนครนี้ก็ดี  
เหล่าใด  ประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี
สพฺเพว   ภูตา   สุมนา   ภวนฺตุ  
ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้ดีใจ
อโถปิ   สกฺกจฺจ   สุณนฺตุ   ภาสิตํ  
และจงฟังภาษิตโดยเคารพ
ตสฺมา   หิ   ภูตา   นิสาเมถ   สพฺเพ
เพราะเหตุนั้นแล   ท่านภูตทั้งปวง  จงตั้งใจฟัง
เมตฺตํ   กโรถ   มานุสิยา   ปชาย  

กระทำไมตรีจิต   ในหมู่มนุษยชาติประชุมชน
ทิวา   จ   รตฺโต   จ   หรนฺติ   เย   พลึ  
มนุษย์เหล่าใด   ย่อมสังเวยทั้งกลางวันกลางคืน
ตสฺมา   หิ   เน   รกฺขถ   อปฺปมตฺตา  
เพราะเหตุนั้นแล   ท่านทั้งหลาย
จงเป็นผู้ไม่ประมาท  
รักษาหมู่มนุษย์เหล่านั้น
ยงฺกิญฺจิ   วิตฺตํ   อิธ   วา   หุรํ   วา  

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ   อันใดอันหนึ่ง  ในโลกนี้หรือโลกอื่น
สคฺเคสุ   วา   ยํ   รตนํ   ปณีตํ  
หรือรัตนะอันใด   อันประณีตในสวรรค์
น   โน   สมํ   อตฺถิ   ตถาคเตน  
รัตนะอันนั้นเสมอด้วยพระตถาคตเจ้าไม่มีเลย
อิทมฺปิ   พุทฺเธ   รตนํ   ปณีตํ  
แม้อันนี้   เป็นรัตนะอันประณีต
ในพระพุทธเจ้า
เอเตน   สจฺเจน   สุวตฺถิ   โหตุ  
ด้วยคำสัตย์นี้   ขอความสวัสดีจงมี
ขยํ   วิราคํ   อมตํ   ปณีตํ  
ยทชฺฌคา   สกฺยมุนี   สมาหิโต  
พระศากยมุนีเจ้า   มีพระหฤทัย
ดำรงมั่น   ได้บรรลุธรรมอันใด 
เป็นที่สิ้นกิเลส   เป็นที่สิ้นราคะ  
เป็นอมฤตธรรมอันประณีต
น   เตน   ธมฺเมน   สมตฺถิ   กิญฺจิ  
สิ่งไร ๆ เสมอด้วยพระธรรมนั้น 
ย่อมไม่มี
อิทมฺปิ   ธมฺเม   รตนํ   ปณีตํ  
แม้อันนี้   เป็นรัตนะอันประณีต
ในพระธรรม
เอเตน   สจฺเจน   สุวตฺถิ   โหตุ  
ด้วยคำสัตย์นี้   ขอความสวัสดีจงมี
ยมฺพุทฺธเสฏฺโฐ  
ปริวณฺณยี   สุจึ   
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด  ทรงสรรเสริญแล้ว   ซึ่งสมาธิอันใด  ว่าเป็นธรรมอันสะอาด
สมาธิมานนฺตริกญฺญมาหุ  
บัณฑิตทั้งหลาย   กล่าวซึ่งสมาธิอันใด   ว่าให้ผลโดยลำดับ
สมาธินา   เตน   สโม   น   วิชฺชติ  
สมาธิอื่น   เสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี
อิทมฺปิ   ธมฺเม   รตนํ   ปณีตํ  
แม้อันนี้   เป็นรัตนะอันประณีต
ในพระธรรม
เอเตน   สจฺเจน   สุวตฺถิ   โหตุ  
ด้วยคำสัตย์นี้   ขอความสวัสดีจงมี
เย   ปุคฺคลา   อฏฺฐ   สตํ   ปสตฺถา  
จตฺตาริ   เอตานิ   ยุคานิ   โหนฺติ  
บุคคลเหล่าใด  8 จำพวก  4 คู่  
อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
เต   ทกฺขิเณยฺยา   สุคตสฺส   สาวกา.  
บุคคลเหล่านั้น   เป็นสาวกของ
พระสุคต   ควรแก่ทักษิณาทาน 
เอเตสุ   ทินฺนานิ   มหปฺผลานิ  
ทานทั้งหลาย   อันบุคคลถวายในท่านเหล่านั้น  ย่อมมีผลมาก
อิทมฺปิ   สงฺเฆ   รตนํ   ปณีตํ  
แม้อันนี้   เป็นรัตนะอันประณีตใน
พระสงฆ์
เอเตน   สจฺเจน   สุวตฺถิ   โหตุ  
ด้วยคำสัตย์นี้   ขอความสวัสดีจงมี
เย   สุปฺปยุตฺตา   มนสา   ทฬฺเหน  
นิกฺกามิโน   โคตมสาสนมฺหิ  
พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่าใด   ในศาสนาพระโคดมเจ้า   ประกอบดีแล้ว  มีใจมั่นคง   มีความใคร่ออกไปแล้ว
เต   ปตฺติปตฺตา   อมตํ   วิคยฺห  
พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น  ถึงพระอรหัตตผลที่ควรถึง  หยั่งเข้าสู่พระนิพพาน
ลทฺธา   มุธา   นิพฺพุตึ   ภุญฺชมานา  
ได้ซึ่งความดับกิเลส   โดยเปล่า ๆ
แล้วเสวยผลอยู่
อิทมฺปิ   สงฺเฆ   รตนํ   ปณีตํ  
แม้อันนี้   เป็นรัตนะอันประณีต
ในพระสงฆ์
เอเตน   สจฺเจน   สุวตฺถิ   โหตุ  
ด้วยคำสัตย์นี้   ขอความสวัสดีจงมี
ยถินฺทขีโล   ปฐวึ   สิโต  สิยา  
จตุพฺภิ   วาเตภิ   อสมฺปกมฺปิโย  
เสาเขื่อนที่ลงดินแล้ว   ไม่หวั่นไหว
ด้วยพายุ 4 ทิศฉันใด
ตถูปมํ   สปฺปุริสํ   วทามิ  
โย   อริยสจฺจานิ   อเวจฺจ   ปสฺสติ  
ผู้ใด   เล็งเห็นอริยสัจทั้งหลาย   เราเรียกผู้นั้นว่า   เป็นสัตบุรุษผู้ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม   อุปมาฉันนั้น
อิทมฺปิ   สงฺเฆ   รตนํ   ปณีตํ  
แม้อันนี้   เป็นรัตนะอันประณีต
ในพระสงฆ์
เอเตน   สจฺเจน   สุวตฺถิ   โหตุ  
ด้วยคำสัตย์นี้   ขอความสวัสดีจงมี
เย   อริยสจฺจานิ   วิภาวยนฺติ  
คมฺภีรปญฺเญน   สุเทสิตานิ  


พระโสดาบันจำพวกใด   กระทำ
ให้แจ้งอยู่   ซึ่งอริยสัจทั้งหลาย  
อันพระศาสดาผู้มีปัญญาอันลึกซึ้ง  แสดงดีแล้ว
กิญฺจาปิ   เต   โหนฺติ  
ภุสปฺปมตฺตา   
พระโสดาบันจำพวกนั้น  
ยังเป็นผู้ประมาทก็ดี
น   เต   ภวํ   อฏฺฐมมาทิยนฺติ  

ถึงกระนั้น   ท่านย่อมไม่ถือเอาภพที่ 8   ( คือ เกิดอีกอย่างมาก 7 ชาติ )
อิทมฺปิ   สงฺเฆ   รตนํ   ปณีตํ  

แม้อันนี้   เป็นรัตนะอันประณีต
ในพระสงฆ์
เอเตน   สจฺเจน   สุวตฺถิ   โหตุ  
ด้วยคำสัตย์นี้   ขอความสวัสดีจงมี
สหาวสฺส   ทสฺสนสมฺปทาย  
ตยสฺสุ   ธมฺมา   ชหิตา   ภวนฺติ  
สกฺกายทิฏฺฐิ   วิจิกิจฺฉิตญฺจ  
สีลพฺพตํ   วาปิ   ยทตฺถิ   กิญฺจิ  


สักกายทิฏฐิ   วิจิกิจฉา  
สีลัพพตปรามาส  
อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่  
ธรรมเหล่านั้น   อันพระโสดาบัน
ละได้แล้ว   พร้อมด้วยทัสสนสมบัติ  
( คือ โสดาปัตติมรรค )  ทีเดียว
จตูหปาเยหิ   จ   วิปฺปมุตฺโต  

อนึ่ง   พระโสดาบันเป็นผู้พ้นแล้ว
จากอบายทั้ง 4
ฉ   จาภิฐานานิ   อภพฺโพ   กาตุํ  
ไม่อาจเพื่อจะกระทำอภิฐานทั้ง 6  (คือ อนันตริยกรรม และการเข้ารีต)
อิทมฺปิ   สงฺเฆ   รตนํ   ปณีตํ  
แม้อันนี้   เป็นรัตนะอันประณีต
ในพระสงฆ์
เอเตน   สจฺเจน   สุวตฺถิ   โหตุ  
ด้วยคำสัตย์นี้   ขอความสวัสดีจงมี
กิญฺจาปิ   โส   กมฺมํ   กโรติ   ปาปกํ  
กาเยน   วาจายุท   เจตสา   วา  
พระโสดาบันนั้น   ยังกระทำบาปกรรม  ด้วยกายหรือวาจาหรือใจได้บ้าง 
( เพราะความพลั้งพลาด )
อภพฺโพ   โส   ตสฺส   ปฏิจฺฉทาย  
ถึงกระนั้นท่านไม่ควรเพื่อจะปกปิด
บาปกรรมอันนั้น
อภพฺพตา   ทิฏฺฐปทสฺส   วุตฺตา  
ความเป็นผู้มีทางพระนิพพานอันเห็นแล้ว   ไม่ควรปกปิดบาปกรรมนั้น   อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
อิทมฺปิ   สงฺเฆ   รตนํ   ปณีตํ  
แม้อันนี้   เป็นรัตนะอันประณีต
ในพระสงฆ์
เอเตน   สจฺเจน   สุวตฺถิ   โหตุ  
ด้วยคำสัตย์นี้   ขอความสวัสดีจงมี
วนปฺปคุมฺเพ   ยถา   ผุสฺสิตคฺเค  
คิมฺหานมาเส   ปฐมสฺมึคิมฺเห  
พุ่มไม้ในป่า   มียอดอันบานแล้ว  ในเดือนต้นคิมหะ   แห่งคิมหฤดู  ฉันใด
ตถูปมํ   ธมฺมวรํ   อเทสยิ  
นิพฺพานคามึ   ปรมํ   หิตาย  
พระผู้มีพระภาคเจ้า   ได้ทรงแสดง
พระธรรม   ให้ถึงพระนิพพาน  
เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย  
มีอุปมาฉันนั้น
อิทมฺปิ   พุทฺเธ   รตนํ   ปณีตํ  
แม้อันนี้   เป็นรัตนะอันประณีต
ในพระพุทธเจ้า  
เอเตน   สจฺเจน   สุวตฺถิ   โหตุ  
ด้วยคำสัตย์นี้   ขอความสวัสดีจงมี
วโร   วรญฺญู   วรโท   วราหโร  
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ  
ทรงทราบธรรมอันประเสริฐ  
ประทานธรรมอันประเสริฐ  
นำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ
อนุตฺตโร   ธมฺมวรํ   อเทสยิ  
เป็นผู้ลบล้น   ได้ทรงแสดงแล้ว
ซึ่งพระธรรมอันประเสริฐ
อิทมฺปิ   พุทฺเธ   รตนํ   ปณีตํ  
แม้อันนี้   เป็นรัตนะอันประณีต
ในพระพุทธเจ้า
เอเตน   สจฺเจน   สุวตฺถิ   โหตุ  
ด้วยคำสัตย์นี้   ขอความสวัสดีจงมี
ขีณํ   ปุราณํ   นวํ   นตฺถิ   สมฺภวํ  
กรรมเก่า   ของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว   กรรมสมภพใหม่ ย่อมไม่มี
วิรตฺตจิตฺตายติเก   ภวสฺมึ  
พระอริยบุคคลเหล่าใด  
มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป
เต   ขีณพีชา   อวิรุฬหิฉนฺทา  
พระอริยบุคคลเหล่านั้น   มีพืชสิ้นไปแล้ว   มีความพอใจงอกไม่ได้แล้ว
นิพฺพนฺติ   ธีรา   ยถายมฺปทีโป  
เป็นผู้มีปัญญา   ย่อมปรินิพพาน 
เหมือนประทีปอันดับไป  ฉะนั้น
อิทมฺปิ   สงฺเฆ   รตนํ   ปณีตํ  
แม้อันนี้   เป็นรัตนะอันประณีต
ในพระสงฆ์
เอเตน   สจฺเจน   สุวตฺถิ   โหตุ.  
ด้วยคำสัตย์นี้   ขอความสวัสดีจงมี
      ยานีธ   ภูตานิ   สมาคตานิ  
ภุมฺมานิ   วา   ยานิว   อนฺตลิกฺเข  
ภูตประจำถิ่นเหล่าใด  
ประชุมกันแล้วในพระนครก็ดี  
เหล่าใด  ประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี
ตถาคตํ   เทวมนุสฺสปูชิตํ  
พุทฺธํ   นมสฺสาม   สุวตฺถิ   โหตุ  
เราทั้งหลาย   จงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้มาแล้วอย่างนั้น   ผู้อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว   ขอความสวัสดีจงมี
ยานีธ   ภูตานิ   สมาคตานิ  
ภุมฺมานิ   วา   ยานิว   อนฺตลิกฺเข  
ภูตประจำถิ่นเหล่าใด   ประชุมกันแล้วในพระนครนี้ก็ดี   เหล่าใด  ประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี
ตถาคตํ   เทวมนุสฺสปูชิตํ  
ธมฺมํ   นมสฺสาม   สุวตฺถิ   โหตุ  
เราทั้งหลาย   จงนมัสการพระธรรมอันมาแล้วอย่างนั้น   อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว   ขอความสวัสดีจงมี
ยานีธ   ภูตานิ   สมาคตานิ  
ภุมฺมานิ   วา   ยานิว   อนฺตลิกฺเข  
ภูตประจำถิ่นเหล่าใด   ประชุมกันแล้วในพระนครนี้ก็ดี   เหล่าใด  ประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี
ตถาคตํ   เทวมนุสฺสปูชิตํ  
สงฺฆํ   นมสฺสาม   สุวตฺถิ   โหตุ.     
เราทั้งหลาย   จงนมัสการพระสงฆ์  ผู้มาแล้วอย่างนั้น   ผู้อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว   ขอความสวัสดีจงมี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Link ไปยังบทสวดมนต์อื่นใน Blog นี้

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม