บทสวดมนต์ อาฏานาฏิยปริตร (ของ 7 ตำนาน) (บาลี พร้อมคำแปล) (พระปริตร เจ็ดตำนาน)




บทสวดมนต์  อาฏานาฏิยปริตร  จากหนังสือสวดมนต์แปล  ฉบับรวบรวมและแปลโดย  พระศาสนโศภน  (แจ่ม  จตฺตสลฺโล)  วัดมกุฏกษัตริยาราม   ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ  (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533)  (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)


สามารถดาวน์โหลด Ebook  ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล  และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล  มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ  ได้ที่  Link  :

https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing

https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books


สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์  (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ  โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ)  และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท  ได้ที่ ting074ch Youtube Channel  ที่ Link  :

https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw


เริ่มอาฏานาฏิยปริตร 
(หน้า 86)
      อปฺปสนฺเนหิ   นาถสฺส  
สาสเน   สาธุสมฺมเต  
อมนุสฺเสหิ   จณฺเฑหิ  
สทา   กิพฺพิสการิภิ  
ปริสานญฺจตสฺสนฺนมหึสาย  
จ   คุตฺติยา   ยนฺเทเสสิ   มหาวีโร  
พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้าใหญ่ยิ่ง  ทรงแสดงพระปริตรอันใด   เพื่อความไม่เบียดเบียนกันด้วย   เพื่อความคุ้มครองตนด้วย   แก่บริษัท 4 เหล่า   อันเกิดจากหมู่อมนุษย์ที่ร้ายกาจกระทำซึ่งกรรมอันหยาบช้าทุกเมื่อ   ผู้มิได้เลื่อมใสในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า   ผู้เป็นที่พึ่งของโลก   อันสัตบุรุษสมมติว่าเป็นศาสนาอันดี
ปริตฺตนฺตมฺภณาม   เห.  
เราทั้งหลาย   จงสวดปริตรอันนั้น  เทอญ.



อาฏานาฏิยปริตร  (7  ตำนาน)
(หน้า 86)
      วิปสฺสิสฺส   นมตฺถุ  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า  
จงมีแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า
จกฺขุมนฺตสฺส   สิรีมโต  
ผู้มีจักษุ   ผู้มีสิริ
สิขิสฺสปิ   นมตฺถุ  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า  
จงมีแม้แด่พระสิขีพุทธเจ้า
สพฺพภูตานุกมฺปิโน  
ผู้มีปกติอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง
เวสฺสภุสฺส   นมตฺถุ  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า  
จงมีแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า
นฺหาตกสฺส   ตปสฺสิโน  
ผู้มีกิเลสอันล้างแล้ว   ผู้มีตปะ
นมตฺถุ   กกุสนฺธสฺส  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า   
จงมีแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า
มารเสนปฺปมทฺทิโน  
ผู้ย่ำยีเสียซึ่งมารและเสนา
โกนาคมนสฺส   นมตฺถุ  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า  
จงมีแด่พระโกนาคมนพุทธเจ้า
พฺราหฺมณสฺส   วุสีมโต  

ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว   ผู้มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว
กสฺสปสฺส   นมตฺถุ  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า  
จงมีแด่พระกัสสปพุทธเจ้า
วิปฺปมุตฺตสฺส   สพฺพธิ  
ผู้พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
องฺคีรสสฺส   นมตฺถุ  

ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า  
จงมีแด่พระอังคีรสพุทธเจ้า
สกฺยปุตฺตสฺส   สิรีมโต  
ผู้เป็นโอรสแห่งศากยราช   ผู้มีสิริ
โย   อิมํ   ธมฺมมเทเสสิ  

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด   ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรมนี้
สพฺพทุกฺขาปนูทนํ  
เป็นเครื่องบรรเทาเสีย   ซึ่งทุกข์ทั้งปวง
เย   จาปิ   นิพฺพุตา   โลเก  

อนึ่ง   พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดก็ดี   ที่ดับกิเลสแล้วในโลก
ยถาภูตํ   วิปสฺสิสุํ  
เห็นแจ้งธรรมตามเป็นจริง
เต   ชนา   อปิสุณา  

พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นเป็นคนไม่มีความส่อเสียด
มหนฺตา   วีตสารทา  
ผู้ใหญ่   ผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้ว
หิตํ   เทวมนุสฺสานํ  
ยํ   นมสฺสนฺติ   โคตมํ  


เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย   นอบน้อมอยู่   ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ใด   ผู้เป็นโคตมโคตร   ผู้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เทพดา   และมนุษย์ทั้งหลาย
วิชฺชาจรณสมฺปนฺนํ  
ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ
มหนฺตํ   วีตสารทํ  

ผู้ใหญ่   ผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้ว
วิชฺชาจรณสมฺปนฺนํ  
พุทฺธํ   วนฺทาม   โคตมนฺติ  


ข้าพเจ้าทั้งหลาย   ขอนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น   ผู้โคตมโคตร   ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ
เอเต   จญฺเญ   จ   สมฺพุทฺธา  
พระพุทธเจ้าเหล่านี้ก็ดี   เหล่าอื่นก็ดี
อเนกสตโกฏโย  
หลายร้อยโกฏิ
สพฺเพ   พุทฺธา   อสมสมา  

พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   ทั้งหมดเสมอกัน   ไม่มีใครเหมือน
สพฺเพ   พุทฺธา   มหิทฺธิกา  
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   ล้วนมีฤทธิ์มาก
สพฺเพ   ทสพลูเปตา  
ล้วนประกอบแล้ว  ด้วยทศพลญาณ
เวสารชฺเชหุปาคตา  
ประกอบไปด้วยเวสารัชชญาณ
สพฺเพ   เต   ปฏิชานนฺติ  
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   ล้วนตรัสรู้อยู่
อาสภณฺฐานมุตฺตมํ  
ซึ่งอาสภฐานอันอุดม
สีหนาทํ   นทนฺเต   เต  
ปริสาสุ   วิสารทา  

พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   เป็นผู้องอาจ  ไม่ครั่นคร้าม   บันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย
พฺรหฺมจกฺกํ   ปวตฺเตนฺติ  
ยังพรหมจักรให้เป็นไป
โลเก   อปฺปฏิวตฺติยํ  
อันใคร ๆ ยังไม่ให้เป็นไปแล้วในโลก
อุเปตา   พุทฺธธมฺเมหิ  

พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น  ประกอบแล้วด้วยพุทธธรรมทั้งหลาย
อฏฺฐารสหิ   นายกา  
18  เป็นนายก
ทฺวตฺตึสลกฺขณูเปตา-
สีตฺยานุพฺยญฺชนาธรา  
ผู้ประกอบด้วยพระลักษณะ  32  ประการ  และทรงซึ่งอนุพยัญชนะ  80
พฺยามปฺปภาย   สุปฺปภา  

มีพระรัศมีอันงาม   ด้วยพระรัศมี   มีมณฑลข้างละวา
สพฺเพ   เต   มุนิกุญฺชรา  

พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   ล้วนเป็นมุนีอันประเสริฐ
พุทฺธา   สพฺพญฺญุโน   เอเต  
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   ล้วนเป็นพระสัพพัญญู
สพฺเพ   ขีณาสวา   ชินา   
ล้วนเป็นพระขีณาสพผู้ชนะ
มหปฺปภา   มหาเตชา  
มีพระรัศมีมาก   มีพระเดชมาก
มหาปญฺญา   มหพฺพลา  
มีพระปัญญามาก   มีพระกำลังมาก
มหาการุณิกา   ธีรา  
มีพระกรุณามาก   เป็นนักปราชญ์
สพฺเพสานํ   สุขาวหา  
นำสุขมาเพื่อสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
ทีปา   นาถา   ปติฏฺฐา   จ  
เป็นเกาะ   เป็นที่พึ่ง   และเป็นที่อาศัย
ตาณา   เลณา   จ   ปาณินํ  

เป็นที่ต้านทาน   และเป็นที่เร้นของสัตว์
คตี   พนฺธู   มหสฺสาสา  

เป็นคติ   เป็นเผ่าพันธุ์   เป็นที่ยินดีมาก
สรณา   จ   หิเตสิโน  

เป็นที่ระลึก   และทรงแสวงหาประโยชน์
สเทวกสฺส   โลกสฺส  
เพื่อสัตวโลกกับเทวโลก
สพฺเพ   เอเต   ปรายนา  

พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   ล้วนเป็นเบื้องหน้าของสัตว์
เตสาหํ   สิรสา   ปาเท  
วนฺทามิ   ปุริสุตฺตเม  
วจสา   มนสา   เจว  
วนฺทาเมเต   ตถาคเต  

ข้าพเจ้า   ขอวันทาพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า  และขอวันทาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น  ผู้เป็นบุรุษอันอุดม   ผู้เป็นตถาคต   ด้วยวาจาและใจทีเดียว
สยเน   อาสเน   ฐาเน  

ในที่นอนด้วย   ในที่นั่งด้วย   ในที่ยืนด้วย
คมเน   จาปิ   สพฺพทา.  
แม้ในที่เดินด้วย   ในกาลทุกเมื่อ.
สทา   สุเขน   รกฺขนฺตุ  
พุทฺธา   สนฺติกรา   ตุวํ  
พระพุทธเจ้าผู้กระทำความระงับ  
จงรักษาท่านด้วยสุขในกาลทุกเมื่อ
เตหิ   ตฺวํ   รกฺขิโต   สนฺโต  

ท่านผู้อันพระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงรักษาแล้ว   จงเป็นผู้ระงับ
มุตฺโต   สพฺพภเยน   จ  
สพฺพโรควินิมุตฺโต  
พ้นแล้วจากภัยทั้งปวง   และพ้นแล้วจากโรคทั้งปวง
สพฺพสนฺตาปวชฺชิโต  
เว้นแล้วจากความเดือดร้อนทั้งปวง
สพฺพเวรมติกฺกนฺโต  
ล่วงเสียซึ่งเวรทั้งปวง
นิพฺพุโต   จ   ตุวํ   ภว  
ท่านจงเป็นผู้ดับทุกข์ทั้งปวงด้วย
สพฺพีติโย   วิวชฺชนฺตุ  
ความจัญไรทั้งปวงจงเว้นไป
สพฺพโรโค   วินสฺสตุ  
โรคทั้งปวงจงฉิบหายไป
มา   เต   ภวตฺวนฺตราโย  
อันตรายอย่าได้มีแก่ท่าน
สุขี   ทีฆายุโก   ภว  
ขอท่านจงเป็นผู้มีสุข   มีอายุยืน
อภิวาทนสีลิสฺส  
นิจฺจํ   วุฑฺฒาปจายิโน  
จตฺตาโร   ธมฺมา   วฑฺฒนฺติ  
อายุ   วณฺโณ   สุขํ   พลํ.  
ธรรมทั้งหลาย   คือ  อายุ  วรรณะ  สุขะ  พละ   ย่อมเจริญแก่บุคคลมีความไหว้ต่อบุคคลผู้ควรไหว้เป็นปกติ   ผู้อ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญเป็นนิตย์.


**บทอาฏานาฏิยปริตรของ 7 ตำนาน ใช้บทนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Link ไปยังบทสวดมนต์อื่นใน Blog นี้

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม