บทสวดมนต์ กรณียเมตตสูตร (บาลี พร้อมคำแปล) (พระปริตร เจ็ดตำนาน, สิบสองตำนาน) (แผ่เมตตา)





บทสวดมนต์  กรณียเมตตสูตร  จากหนังสือสวดมนต์แปล  ฉบับรวบรวมและแปลโดย  พระศาสนโศภน  (แจ่ม  จตฺตสลฺโล)  วัดมกุฏกษัตริยาราม   ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ  (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533)  (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)


สามารถดาวน์โหลด Ebook  ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล  และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล  มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ  ได้ที่  Link  :

https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing

https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books


สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์  (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ  โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ)  และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท  ได้ที่ ting074ch Youtube Channel  ที่ Link  :

https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw


เริ่มกรณียเมตตสูตร 
(หน้า 65)
      ยสฺสานุภาวโต   ยกฺขา  
เนว   ทสฺเสนฺติ   ภึสนํ  
ยักษ์ทั้งหลาย   ย่อมไม่แสดงอาการอันพิลึก   เพราะอานุภาพแห่งปริตรอันใด
ยมฺหิ   เจวานุยุญฺชนฺโต  
รตฺตินฺทิวมตนฺทิโต  
อนึ่ง   บุคคลผู้ไม่เกียจคร้านแล้ว   ทั้งกลางวันและกลางคืน   ฝักใฝ่ในพระปริตรอันใด
สุขํ   สุปติ   สุตฺโต   จ  
จะหลับและหลับแล้วก็เป็นสุข
ปาปํ   กิญฺจิ   น   ปสฺสติ  
ย่อมไม่เห็นสุบินอันลามกไร ๆ
เอวมาทิคุณูเปตํ  
ปริตฺตนฺตมฺภณาม   เห.  
เราทั้งหลาย   จงสวดปริตรอันนั้น   อันประกอบไปด้วยคุณมีอย่างนี้   เป็นต้น   เทอญ.



กรณียเมตตสูตร 
(หน้า 66)
      กรณียมตฺถกุสเลน  
ยนฺตํ   สนฺตํ   ปทํ   อภิสเมจฺจ  
กิจนั้นใดอันพระอริยเจ้า   บรรลุบทอันระงับกระทำแล้ว   กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ
สกฺโก   อุชู   จ   สุหุชู   จ  
กุลบุตรนั้น   พึงเป็นผู้อาจหาญและซื่อตรงดี
สุวโจ   จสฺส   มุทุ   อนติมานี  
เป็นผู้ที่ว่าง่าย   อ่อนโยน   ไม่มีอติมานะ
สนฺตุสฺสโก   จ   สุภโร   จ  
เป็นผู้สันโดษ   เลี้ยงง่าย
อปฺปกิจฺโจ   จ   สลฺลหุกวุตฺติ  
เป็นผู้มีกิจธุระน้อย   ประพฤติเบากายจิต
สนฺตินฺทฺริโย   จ   นิปโก   จ  
มีอินทรีย์อันระงับแล้ว   มีปัญญา
อปฺปคพฺโภ   กุเลสุ   อนนุคิทฺโธ  
เป็นผู้ไม่คะนอง   ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย
น   จ   ขุทฺทํ   สมาจเร   กิญฺจิ  
เยน   วิญฺญู   ปเร   อุปวเทยฺยุํ  
วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นได้ด้วยกรรมอันใด   ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย   ( พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์ว่า )
สุขิโน   วา   เขมิโน   โหนฺตุ  
สพฺเพ   สตฺตา   ภวนฺตุ   สุขิตตฺตา  
ขอสัตว์ทั้งปวง   จงเป็นผู้มีสุข   มีความเกษม   มีตนถึงความสุขเถิด
เย   เกจิ   ปาณภูตตฺถิ  
สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย   เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
ตสา   วา   ถาวรา   วา   อนวเสสา  
ยังเป็นผู้สะดุ้ง   ( คือมีตัณหา )   หรือเป็นผู้มั่นคง   ( ไม่มีตัณหา )   ทั้งหมดไม่เหลือ
ทีฆา   วา   เย   มหนฺตา   วา  
มชฺฌิมา   รสฺสกา   อณุกถูลา  
เหล่าใดยาวหรือใหญ่   หรือปานกลาง   หรือสั้น   หรือผอม   พี
ทิฏฺฐา   วา   เย   จ   อทิฏฺฐา  
เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว   หรือมิได้เห็น
เย   จ   ทูเร   วสนฺติ   อวิทูเร  
เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล
ภูตา   วา   สมฺภเวสี   วา  
ที่เกิดแล้ว   หรือกำลังแสวงหาภพก็ดี
สพฺเพ   สตฺตา   ภวนฺตุ   สุขิตตฺตา  
ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น   จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด
น   ปโร   ปรํ   นิกุพฺเพถ  
สัตว์อื่นอย่าพึงข่มเหงสัตว์อื่น
นาติมญฺเญถ   กตฺถจิ   นํ   กิญฺจิ  
อย่าพึงดูหมิ่นอะไร ๆ เขาในที่ไร ๆ เลย
พฺยาโรสนา   ปฏีฆสญฺญา  
นาญฺญมญฺญสฺส   ทุกฺขมิจฺเฉยฺย  
ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน   เพราะความกริ้วโกรธและเพราะความคุมแค้น
มาตา   ยถา   นิยํ   ปุตฺตํ  
อายุสา   เอกปุตฺตมนุรกฺเข  
มารดาถนอมลูกคนเดียว   ผู้เกิดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้   ฉันใด
เอวมฺปิ   สพฺพภูเตสุ  
มานสมฺภาวเย   อปริมาณํ  
พึงเจริญเมตตา   มีในใจ   ไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง   แม้ฉันนั้น
เมตฺตญฺจ   สพฺพโลกสฺมึ  
มานสมฺภาวเย   อปริมาณํ  
บุคคลพึงเจริญเมตตา   มีในใจ   ไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น
อุทฺธํ   อโธ   จ   ติริยญฺจ  
ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำเบื้องเฉียง
อสมฺพาธํ   อเวรํ   อสปตฺตํ  
เป็นธรรมอันไม่คับแคบ   ไม่มีเวร   ไม่มีศัตรู
ติฏฺฐญฺจรํ   นิสินฺโน   วา  
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น   ยืนอยู่ก็ดี   เดินไปก็ดี   นั่งแล้วก็ดี
สยาโน   วา   ยาวตสฺส   วิคตมิทฺโธ  
นอนแล้วก็ดี   เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด
เอตํ   สตึ   อธิฏฺเฐยฺย  
ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น
พฺรหฺมเมตํ   วิหารํ   อิธมาหุ  
บัณฑิตทั้งหลาย   กล่าวกิริยาอันนี้ว่าเป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้
ทิฏฺฐิญฺจ   อนุปคมฺม   สีลวา  
บุคคลที่มีเมตตา   ไม่เข้าถึงทิฏฐิ   เป็นผู้มีศีล
ทสฺสเนน   สมฺปนฺโน  
ถึงพร้อมแล้วด้วยทัสสนะ   ( คือ โสดาปัตติมรรค )
กาเมสุ   วิเนยฺย   เคธํ  
นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก
น   หิ   ชาตุ   คพฺภเสยฺยํ   ปุนเรตีติ.  
ย่อมไม่ถึงความนอน  ( เกิด )  ในครรภ์อีก   โดยแท้ทีเดียวแล.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Link ไปยังบทสวดมนต์อื่นใน Blog นี้

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม