บทสวดมนต์ อนัตตลักขณสูตร (บาลี พร้อมคำแปล) (ขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ : อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)





บทสวดมนต์  อนัตตลักขณสูตร  จากหนังสือสวดมนต์แปล  ฉบับรวบรวมและแปลโดย  พระศาสนโศภน  (แจ่ม  จตฺตสลฺโล)  วัดมกุฏกษัตริยาราม   ซึ่งได้มอบให้มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าของ  (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11/2533)  (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2481) (542 หน้า)


สามารถดาวน์โหลด Ebook  ไฟล์ PDF หนังสือสวดมนต์แปล  และไฟล์ DOC, EPUB บทสวดมนต์แปล  มาไว้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ  ได้ที่  Link  :

https://drive.google.com/drive/folders/0BzNKymgMsofBOThBX3gzNUhWTXc?resourcekey=0-w3YZgnd85d_xWTdYISLL_A&usp=sharing

https://play.google.com/store/search?q=ting074ch&c=books


สามารถรับฟังเสียงสวดมนต์  (สวดมนต์ ทำนองมคธ / ธรรมยุติ  โดยไม่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ)  และเสียงอ่านคำแปลบทสวดมนต์บางบท  ได้ที่ ting074ch Youtube Channel  ที่ Link  :

https://www.youtube.com/channel/UC0lr6qLF2P9Lm5XdtbsXiQw


เริ่มอนัตตลักขณสูตร 
(หน้า 203)
      ยนฺตํ   สตฺเตหิ   ทุกฺเขน  
เญยฺยํ   อนตฺตลกฺขณํ   
อนัตตลักขณะอันใด   อันสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ได้โดยยาก
อตฺตวาทาตฺตสญฺญานํ  
สมฺมเทว   วิโมจนํ  
สมฺพุทฺโธ   ตํ   ปกาเสสิ  
พระสัมพุทธเจ้า   ได้ทรงประกาศอนัตตลักขณะนั้น   เป็นธรรมอันปลดเปลื้องอัตตวาทุปาทาน   การถือมั่นด้วยอันกล่าวว่าตน   และอัตตสัญญา   ความสำคัญว่าตน  โดยชอบแท้
ทิฏฺฐสจฺจาน   โยคินํ  
แก่เหล่าพระโยคี   คือปัญจวัคคีย์   ผู้มีสัจจะอันเห็นแล้ว
อุตฺตรึ   ปฏิเวธาย  
ภาเวตุํ   ญาณมุตฺตมํ  
เพื่อให้เจริญญาณอันอุดม   เพื่อตรัสรู้ธรรมอันยิ่ง
ยนฺเตสํ   ทิฏฺฐธมฺมานํ  
ญาเณนุปปริกฺขตํ  
สพฺพาสเวหิ   จิตฺจานิ  
วิมุจฺจึสุ   อเสสโต  
จิตของพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น   ผู้มีธรรมอันได้เห็นแล้ว   ใคร่ครวญแล้วด้วยญาณ   พ้นแล้วจากอาสวะทั้งปวงโดยไม่เหลือ   ด้วยพระสูตรอันใด
ตถา   ญาณานุสาเรน  
สาสนํ   กาตุมิจฺฉตํ  
สาธูนํ   อตฺถสิทฺธตฺถํ  
ตํ   สุตฺตนฺตํ   ภณาม   เส.  
เราทั้งหลาย   จงสวดพระสูตรอันนั้น   เพื่อสำเร็จประโยชน์แก่สาธุชนทั้งหลาย   ผู้ปรารถนาจะทำคำสอน   โดยระลึกตามญาณ   อย่างนั้น   เทอญ.



อนัตตลักขณสูตร 
(หน้า 204)
เอวมฺเม   สุตํ
อันข้าพเจ้า  (คือพระอานนทเถระ)  ได้สดับมาแล้วอย่างนี้
เอกํ   สมยํ   ภควา
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
พาราณสิยํ   วิหรติ   
อิสิปตเน   มิคทาเย
เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน   ใกล้เมืองพาราณสี
ตตฺร   โข   ภควา   ปญฺจวคฺคิเย   
ภิกฺขู   อามนฺเตสิ
ในกาลนั้นแล   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระภิกษุปัญจวัคคีย์  (ให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า)
รูปํ   ภิกฺขเว   อนตฺตา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   รูป  (คือร่างกายนี้)   เป็นอนัตตา  (มิใช่ตน)
รูปญฺจ   หิทํ   ภิกฺขเว
อตฺตา   อภวิสฺส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็รูปนี้จักได้เป็นอัตตา  (ตน)  แล้ว
นยิทํ   รูปํ   อาพาธาย   สํวตฺเตยฺย
รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ  (ความลำบาก)
ลพฺเภถ   จ   รูเป
อนึ่ง   สัตว์พึงได้ในรูปตามใจหวัง
เอวํ   เม   รูปํ   โหตุ
เอวํ   เม   รูปํ   มา   อโหสีติ
ว่ารูปของเรา   จงเป็นอย่างนี้เถิด  
รูปของเรา   อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยสฺมา   จ   โข   ภิกฺขเว
ก็เพราะเหตุใดแล   ภิกษุทั้งหลาย  
รูปํ   อนตฺตา
รูปจึงเป็นอนัตตา
ตสฺมา   รูปํ   อาพาธาย   สํวตฺตติ
เพราะเหตุนั้น   รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
น   จ   ลพฺภติ   รูเป
อนึ่ง   สัตว์ย่อมไม่ได้ในรูปตามใจหวัง
เอวํ   เม   รูปํ   โหตุ
เอวํ   เม   รูปํ   มา   อโหสีติ
ว่ารูปของเรา   จงเป็นอย่างนี้เถิด
รูปของเรา   อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
เวทนา   อนตฺตา
เวทนา  (คือความรู้สึกอารมณ์)  เป็นอนัตตา
เวทนา   จ   หิทํ   ภิกฺขเว
อตฺตา   อภวิสฺส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็เวทนานี้
จักได้เป็นอัตตาแล้ว
นยิทํ   เวทนา   อาพาธาย
สํวตฺเตยฺย
เวทนานี้   ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
ลพฺเภถ     เวทนาย
อนึ่ง   สัตว์พึงได้ในเวทนาตามใจหวัง
เอวํ   เม   เวทนา   โหตุ
เอวํ   เม   เวทนา   มา   อโหสีติ
ว่าเวทนาของเรา   จงเป็นอย่างนี้เถิด   เวทนาของเรา   อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยสฺมา     โข   ภิกฺขเว
ก็เพราะเหตุใดแล   ภิกษุทั้งหลาย  
เวทนา   อนตฺตา
เวทนาจึงเป็นอนัตตา
ตสฺมา   เวทนา   อาพาธาย
สํวตฺตติ
เพราะเหตุนั้น   เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
น   จ   ลพฺภติ   เวทนาย
อนึ่ง   สัตว์ย่อมไม่ได้ในเวทนาตามใจหวัง
เอวํ   เม   เวทนา   โหตุ
เอวํ   เม   เวทนา   มา   อโหสีติ
ว่าเวทนาของเรา   จงเป็นอย่างนี้เถิด   เวทนาของเรา   อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
สญฺญา   อนตฺตา
สัญญา  (คือความจำ)  เป็นอนัตตา
สญฺญา     หิทํ   ภิกฺขเว
อตฺตา   อภวิสฺส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็สัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
นยิทํ   สญฺญา   อาพาธาย
สํวตฺเตยฺย
สัญญานี้   ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
ลพฺเภถ     สญฺญาย
อนึ่ง   สัตว์พึงได้ในสัญญาตามใจหวัง
เอวํ   เม   สญฺญา   โหตุ
เอวํ   เม   สญฺญา   มา   อโหสีติ
ว่าสัญญาของเรา   จงเป็นอย่างนี้เถิด   สัญญาของเรา   อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยสฺมา     โข   ภิกฺขเว
ก็เพราะเหตุใดแล   ภิกษุทั้งหลาย
สญฺญา   อนตฺตา
สัญญาจึงเป็นอนัตตา
ตสฺมา   สญฺญา   อาพาธาย
สํวตฺตติ
เพราะเหตุนั้น   สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    ลพฺภติ   สญฺญาย
อนึ่ง   สัตว์ย่อมไม่ได้ในสัญญาตามใจหวัง
เอวํ   เม   สญฺญา   โหตุ
เอวํ   เม   สญฺญา   มา   อโหสีติ
ว่าสัญญาของเรา   จงเป็นอย่างนี้เถิด   สัญญาของเรา   อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
สงฺขารา   อนตฺตา

สังขารทั้งหลาย  (คือสภาพที่เกิดกับใจ   ปรุงใจให้ดีบ้าง   ชั่วบ้าง)   เป็นอนัตตา
สงฺขารา     หิทํ   ภิกฺขเว
อตฺตา   อภวิสฺสํสุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็สังขารทั้งหลายนี้   จักได้เป็นอัตตาแล้ว
นยิทํ   สงฺขารา   อาพาธาย
สํวตฺเตยฺยุํ
สังขารทั้งหลายนี้   ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
ลพฺเภถ     สงฺขาเรสุ

อนึ่ง   สัตว์พึงได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง
เอวํ   เม   สงฺขารา   โหนฺตุ
เอวํ   เม   สงฺขารา   มา   อเหสุนฺติ

ว่าสังขารทั้งหลายของเรา   จงเป็นอย่างนี้เถิด   สังขารทั้งหลายของเรา   อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยสฺมา     โข   ภิกฺขเว
ก็เพราะเหตุใดแล   ภิกษุทั้งหลาย
สงฺขารา   อนตฺตา
สังขารทั้งหลายจึงเป็นอนัตตา
ตสฺมา   สงฺขารา   อาพาธาย   
สํวตฺตนฺติ
เพราะเหตุนั้น   สังขารทั้งหลาย
จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    ลพฺภติ   สงฺขาเรสุ

อนึ่ง   สัตว์ย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง
เอวํ   เม   สงฺขารา   โหนฺตุ
เอวํ   เม   สงฺขารา   มา   อเหสุนฺติ

ว่าสังขารทั้งหลายของเรา   จงเป็นอย่างนี้เถิด   สังขารทั้งหลายของเรา   อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
วิญฺญาณํ   อนตฺตา
วิญญาณ  (คือใจ)  เป็นอนัตตา
วิญฺญาณญฺจ   หิทํ   ภิกฺขเว
อตฺตา   อภวิสฺส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็วิญญาณนี้   จักได้เป็นอัตตาแล้ว
นยิทํ   วิญฺญาณํ   อาพาธาย
สํวตฺเตยฺย
วิญญาณนี้   ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
ลพฺเภถ     วิญฺญาเณ
อนึ่ง   สัตว์พึงได้ในวิญญาณตามใจหวัง
เอวํ   เม   วิญฺญาณํ   โหตุ
เอวํ   เม   วิญฺญาณํ   มา   อโหสีติ
ว่าวิญญาณของเรา   จงเป็นอย่างนี้เถิด   วิญญาณของเรา   อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยสฺมา     โข   ภิกฺขเว
ก็เพราะเหตุใดแล   ภิกษุทั้งหลาย  
วิญฺญาณํ   อนตฺตา
วิญญาณจึงเป็นอนัตตา
ตสฺมา   วิญฺญาณํ   อาพาธาย
สํวตฺตติ
เพราะเหตุนั้น   วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    ลพฺภติ   วิญฺญาเณ

อนึ่ง   สัตว์ย่อมไม่ได้ในวิญญาณ
ตามใจหวัง
เอวํ   เม   วิญฺญาณํ   โหตุ
เอวํ   เม   วิญฺญาณํ   มา   อโหสีติ
ว่าวิญญาณของเรา   จงเป็นอย่างนี้เถิด   วิญญาณของเรา   อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ตํ   กึ   มญฺญถ   ภิกฺขเว

ท่านทั้งหลายย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน   ภิกษุทั้งหลาย
รูปํ   นิจฺจํ   วา   อนิจฺจํ   วาติ
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง
อนิจฺจํ   ภนฺเต
ไม่เที่ยง   พระเจ้าข้า
ยมฺปนานิจฺจํ   ทุกฺขํ   วา
ตํ   สุขํ   วาติ
สิ่งใดไม่เที่ยง   สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ทุกฺขํ   ภนฺเต
เป็นทุกข์   พระเจ้าข้า
ยมฺปนานิจฺจํ   ทุกฺขํ
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง   เป็นทุกข์
วิปริณามธมฺมํ
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
กลฺลํ   นุ   ตํ   สมนุปสฺสิตุํ
ควรหรือ   เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
เอตํ   มม   เอโสหมสฺมิ
เอโส   เม   อตฺตาติ
ว่านั่นของเรา   เราเป็นนั่นเป็นนี่  
นั่นเป็นตนของเรา
โน   เหตํ   ภนฺเต
หาอย่างนั้นไม่   พระเจ้าข้า
ตํ   กึ   มญฺญถ   ภิกฺขเว

ท่านทั้งหลายย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน   ภิกษุทั้งหลาย
เวทนา   นิจฺจา   วา   อนิจฺจา   วาติ
เวทนา   เที่ยงหรือไม่เที่ยง
อนิจฺจา   ภนฺเต
ไม่เที่ยง   พระเจ้าข้า
ยมฺปนานิจฺจํ   ทุกฺขํ   วา
ตํ   สุขํ   วาติ
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง   สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ทุกฺขํ   ภนฺเต
เป็นทุกข์   พระเจ้าข้า
ยมฺปนานิจฺจํ   ทุกฺขํ
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง   เป็นทุกข์
วิปริณามธมฺมํ
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
กลฺลํ   นุ   ตํ   สมนุปสฺสิตุํ
ควรหรือ   เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
เอตํ   มม   เอโสหมสฺมิ
เอโส   เม   อตฺตาติ
ว่านั่นของเรา   เราเป็นนั่นเป็นนี่  
นั่นเป็นตนของเรา
โน   เหตํ   ภนฺเต
หาอย่างนั้นไม่   พระเจ้าข้า
ตํ   กึ   มญฺญถ   ภิกฺขเว

ท่านทั้งหลายย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน   ภิกษุทั้งหลาย
สญฺญา   นิจฺจา   วา   อนิจฺจา   วาติ
สัญญา   เที่ยงหรือไม่เที่ยง
อนิจฺจา   ภนฺเต
ไม่เที่ยง   พระเจ้าข้า
ยมฺปนานิจฺจํ   ทุกฺขํ   วา
ตํ   สุขํ   วาติ
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง   สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ทุกฺขํ   ภนฺเต
เป็นทุกข์   พระเจ้าข้า
ยมฺปนานิจฺจํ   ทุกฺขํ
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง   เป็นทุกข์
วิปริณามธมฺมํ
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
กลฺลํ   นุ   ตํ   สมนุปสฺสิตุํ
ควรหรือ   เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
เอตํ   มม   เอโสหมสฺมิ
เอโส   เม   อตฺตาติ
ว่านั่นของเรา   เราเป็นนั่นเป็นนี่  
นั่นเป็นตนของเรา
โน   เหตํ   ภนฺเต
หาอย่างนั้นไม่   พระเจ้าข้า
ตํ   กึ   มญฺญถ   ภิกฺขเว

ท่านทั้งหลายย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน   ภิกษุทั้งหลาย
สงฺขารา   นิจฺจา   วา   อนิจฺจา   วาติ
สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง
อนิจฺจา   ภนฺเต
ไม่เที่ยง   พระเจ้าข้า
ยมฺปนานิจฺจํ   ทุกฺขํ   วา
ตํ   สุขํ   วาติ
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง   สิ่งนั้นเป็นทุกข์
หรือเป็นสุขเล่า
ทุกฺขํ   ภนฺเต
เป็นทุกข์   พระเจ้าข้า
ยมฺปนานิจฺจํ   ทุกฺขํ
สิ่งใดไม่เที่ยง   เป็นทุกข์
วิปริณามธมฺมํ
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
กลฺลํ   นุ   ตํ   สมนุปสฺสิตุํ
ควรหรือ   เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
เอตํ   มม   เอโสหมสฺมิ
เอโส   เม   อตฺตาติ
ว่านั่นของเรา   เราเป็นนั่นเป็นนี่  
นั่นเป็นตนของเรา
โน   เหตํ   ภนฺเต
หาอย่างนั้นไม่   พระเจ้าข้า
ตํ   กึ   มญฺญถ   ภิกฺขเว

ท่านทั้งหลายย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน   ภิกษุทั้งหลาย
วิญฺญาณํ   นิจฺจํ   วา   อนิจฺจํ   วาติ
วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง
อนิจฺจํ   ภนฺเต
ไม่เที่ยง   พระเจ้าข้า
ยมฺปนานิจฺจํ   ทุกฺขํ   วา
ตํ   สุขํ   วาติ
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง   สิ่งนั้นเป็นทุกข์
หรือเป็นสุขเล่า
ทุกฺขํ   ภนฺเต
เป็นทุกข์   พระเจ้าข้า
ยมฺปนานิจฺจํ   ทุกฺขํ
สิ่งใดไม่เที่ยง   เป็นทุกข์
วิปริณามธมฺมํ
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
กลฺลํ   นุ   ตํ   สมนุปสฺสิตุํ
ควรหรือ   เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
เอตํ   มม   เอโสหมสฺมิ
เอโส   เม   อตฺตาติ
ว่านั่นของเรา   เราเป็นนั่นเป็นนี่  
นั่นเป็นตนของเรา
โน   เหตํ   ภนฺเต
หาอย่างนั้นไม่   พระเจ้าข้า
      ตสฺมาติห   ภิกฺขเว
เพราะเหตุนั้นแล   ภิกษุทั้งหลาย
ยงฺกิญฺจิ   รูปํ
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ
ที่เป็นอดีตก็ดี   อนาคตก็ดี   ปัจจุบันก็ดี
อชฺฌตฺตํ   วา   พหิทฺธา   วา
ภายในก็ดี   ภายนอกก็ดี
โอฬาริกํ   วา   สุขุมํ   วา
หยาบก็ดี   ละเอียดก็ดี
หีนํ   วา   ปณีตํ   วา
เลวก็ดี   ประณีตก็ดี
ยนฺทูเร   สนฺติเก   วา
อันใด   มีในที่ไกลก็ดี   ในที่ใกล้ก็ดี
สพฺพํ   รูปํ
รูปทั้งหมด   ก็เป็นสักว่ารูป
เนตํ   มม
นั่นไม่ใช่ของเรา
เนโสหมสฺมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
น   เมโส   อตฺตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา   ดังนี้
เอวเมตํ   ยถาภูตํ   สมฺมปฺปญฺญาย  
ทฏฺฐพฺพํ
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย   พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้
ยากาจิ   เวทนา
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนา
ที่เป็นอดีตก็ดี   อนาคตก็ดี   ปัจจุบันก็ดี
อชฺฌตฺตา   วา   พหิทฺธา   วา
ภายในก็ดี   ภายนอกก็ดี
โอฬาริกา   วา   สุขุมา   วา
หยาบก็ดี   ละเอียดก็ดี
หีนา   วา   ปณีตา   วา
เลวก็ดี   ประณีตก็ดี
ยา   ทูเร   สนฺติเก   วา
อันใด   มีในที่ไกลก็ดี   ในที่ใกล้ก็ดี
สพฺพา   เวทนา
เวทนาทั้งหมด   ก็เป็นสักว่าเวทนา
เนตํ   มม
นั่นไม่ใช่ของเรา
เนโสหมสฺมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
น   เมโส   อตฺตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา   ดังนี้
เอวเมตํ   ยถาภูตํ   สมฺมปฺปญฺญาย 
ทฏฺฐพฺพํ
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย   พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้
ยากาจิ   สญฺญา
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนา
ที่เป็นอดีตก็ดี   อนาคตก็ดี   ปัจจุบันก็ดี
อชฺฌตฺตา   วา   พหิทฺธา   วา
ภายในก็ดี   ภายนอกก็ดี
โอฬาริกา   วา   สุขุมา   วา
หยาบก็ดี   ละเอียดก็ดี
หีนา   วา   ปณีตา   วา
เลวก็ดี   ประณีตก็ดี
ยา   ทูเร   สนฺติเก   วา
อันใด   มีในที่ไกลก็ดี   ในที่ใกล้ก็ดี
สพฺพา   สญฺญา
สัญญาทั้งหมดก็เป็นสักว่าสัญญา
เนตํ   มม
นั่นไม่ใช่ของเรา
เนโสหมสฺมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
น   เมโส   อตฺตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา   ดังนี้
เอวเมตํ   ยถาภูตํ   สมฺมปฺปญฺญาย
ทฏฺฐพฺพํ
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย   พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น
เยเกจิ   สงฺขารา
สังขารทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนา
ที่เป็นอดีตก็ดี   อนาคตก็ดี   ปัจจุบันก็ดี
อชฺฌตฺตา   วา   พหิทฺธา   วา
ภายในก็ดี   ภายนอกก็ดี
โอฬาริกา   วา   สุขุมา   วา
หยาบก็ดี   ละเอียดก็ดี
หีนา   วา   ปณีตา   วา
เลวก็ดี   ประณีตก็ดี
เย   ทูเร   สนฺติเก   วา
เหล่าใด   มีในที่ไกลก็ดี   ในที่ใกล้ก็ดี
สพฺเพ   สงฺขารา
สังขารทั้งหลายทั้งหมด   ก็เป็นสักว่าสังขาร
เนตํ   มม
นั่นไม่ใช่ของเรา
เนโสหมสฺมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
น   เมโส   อตฺตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา   ดังนี้
เอวเมตํ   ยถาภูตํ   สมฺมปฺปญฺญาย  
ทฏฺฐพฺพํ
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย   พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น
ยงฺกิญฺจิ   วิญฺญาณํ
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ
ที่เป็นอดีตก็ดี   อนาคตก็ดี   ปัจจุบันก็ดี
อชฺฌตฺตํ   วา   พหิทฺธา   วา
ภายในก็ดี   ภายนอกก็ดี
โอฬาริกํ   วา   สุขุมํ   วา
หยาบก็ดี   ละเอียดก็ดี
หีนํ   วา   ปณีตํ   วา
เลวก็ดี   ประณีตก็ดี
ยนฺทูเร   สนฺติเก   วา
อันใด   มีในที่ไกลก็ดี   ในที่ใกล้ก็ดี
สพฺพํ   วิญฺญาณํ
วิญญาณทั้งหมด   ก็เป็นสักว่าวิญญาณ
เนตํ   มม
นั่นไม่ใช่ของเรา
เนโสหมสฺมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
น   เมโส   อตฺตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา   ดังนี้
เอวเมตํ   ยถาภูตํ   สมฺมปฺปญฺญาย  
ทฏฺฐพฺพํ
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย   พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้นดังนี้
เอวํ   ปสฺสํ   ภิกฺขเว
สุตวา   อริยสาวโก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
รูปสฺมึปิ   นิพฺพินฺทติ
ย่อมเบื่อหน่าย   ทั้งในรูป
เวทนายปิ   นิพฺพินฺทติ
ย่อมเบื่อหน่าย   ทั้งในเวทนา
สญฺญายปิ   นิพฺพินฺทติ
ย่อมเบื่อหน่าย   ทั้งในสัญญา
สงฺขาเรสุปิ   นิพฺพินฺทติ
ย่อมเบื่อหน่าย   ทั้งในสังขารทั้งหลาย
วิญฺญาณสฺมึปิ   นิพฺพินฺทติ
ย่อมเบื่อหน่าย   ทั้งในวิญญาณ
นิพฺพินฺทํ   วิรชฺชติ
เมื่อเบื่อหน่าย   ย่อมคลายความติด
วิราคา   วิมุจฺจติ
เพราะคลายความติด   จิตก็พ้น
วิมุตฺตสฺมึ   วิมุตฺตมิติ   ญาณํ   โหติ
เมื่อจิตพ้นแล้ว   ก็เกิดญาณรู้ว่า
พ้นแล้ว   ดังนี้
ขีณา   ชาติ   วุสิตํ   พฺรหฺมจริยํ  
กตํ   กรณียํ   นาปรํ   อิตฺถตฺตายาติ   
ปชานาตีติ

อริยสาวกนั้น   ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว   พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว   กิจที่ควรทำเราได้ทำเสร็จแล้ว   กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
อิทมโวจ   ภควา
พระผู้มีพระภาคเจ้า   ได้ตรัสพระสูตรนี้จบลง
อตฺตมนา   ปญฺจวคฺคิยา   ภิกฺขู
พระภิกษุปัญจวัคคีย์ก็มีใจยินดี
ภควโต   ภาสิตํ   อภินนฺทุํ
เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อิมสฺมิญฺจ   ปน   เวยฺยากรณสฺมึ  
ภญฺญมาเน
ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้   อันพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสอยู่
ปญฺจวคฺคิยานํ   ภิกฺขูนํ   อนุปาทาย  
อาสเวหิ   จิตฺตานิ   วิมุจฺจึสูติ.
จิตของพระภิกษุปัญจวัคคีย์
พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย   
ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานแล.




Link ไปยังบทสวดมนต์อื่นใน Blog นี้

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม